การแพร่ระบาดของ โควิด-19เป็นอีกตัวเร่งที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนและสภาพแวดล้อมของโลกมากมาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่าง ปัญหาขยะ ที่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก สอดรับกับพฤติกรรมในยุค New Normal ที่นำไปสู่ความต้องการด้านการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อสิ้นสุดวงจรการบริโภคก็มีการ ทิ้ง ที่ก่อให้เกิดการกำจัดขยะแบบผิด ๆ จนนำไปสู่ทั้งปัญหามลพิษทางอากาศ และมลพิษทางน้ำ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนและสภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ปัญหาด้านน้ำ ที่ทำให้ไทยเสี่ยงต่อการแล้งที่สุดในรอบ 40 ปี กระทบต่อการเกิดปัญหาในภาคการเกษตร ที่นอกจากจะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำแล้ว ยังมีปัญหาในการจัดการทรัพยากรที่ไม่ดีพอ เกิดการเผาเศษผลผลิตทางการเกษตรจนเกิดปัญหา PM2.5 ตามมา หรือปัญหาด้านขยะจากการก่อสร้าง ที่เพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่ยากจะจัดการ

การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดัน หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกให้เดินหน้า ก้าวข้ามภาวะวิกฤต และเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 “เอสซีจี” จึงได้จัดงาน SD Symposium 2020 Circular Economy: Actions for Sustainable Future เพื่อชักชวนทุกภาคส่วน ให้รวมพลังขยายความร่วมมือและร่วมผลักดันให้เกิดการลงมือปฏิบัติ นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้อย่างจริงจัง ผ่านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและบริโภค ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนทั้งในระดับภูมิภาคและบรรลุเป้าหมายในระดับโลก

โดยมีกิจกรรมสัมมนาระดมความคิดด้าน Circular Economy ใน 4 ประเด็น ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย

  1. Water Management : แก้ปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน และน้ำเสีย โดยถอดบทเรียน ชุมชนต้นแบบที่มีการใช้น้ำหมุนเวียน” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นแนวทางขยายผลต่อในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
  2. Waste Management : ระดมความคิดเพื่อหา แนวทางในการยกระดับการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย” ที่สามารถนำไปสู่การลงมือทำจริง พร้อมนำเสนอตัวอย่างและความคืบหน้าการจัดการขยะของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนนำไปต่อยอดปฏิบัติได้
  3. AgriCircular Economy : นำเสนอต้นแบบการทำเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ภายใต้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การลดต้นทุนในการบริหารจัดการ การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมระดมความคิดหาแนวทางการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตรไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความยั่งยืนในภาคเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม
  4. Circular Economy in Construction Industry : แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หาแนวทางผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับสังคม และสิ่งแวดล้อม

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตที่ยั่งยืนกับ เอสซีจี” ในงานสัมมนาใหญ่ประจำปี SD Symposium ภายใต้หัวข้อ Circular Economy: Actions for Sustainable Future

รับฟังแนวทางการขับเคลื่อน แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จากมุมมองของผู้ปฏิบัติจริงในภาคส่วนต่าง ๆ นำโดย

  • คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
  • คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • Mr. Rob Candelino, CEO Unilever Group of Thai Companies and Inland ASEAN
  • Mr. Jacob Duer, President and CEO, Alliance to End Plastic Waste (AEPW)
  • ด.ช. ภูมิ ตันศิริมาศ เยาวชนต้นแบบนักจัดการขยะรุ่นจิ๋ว

พร้อมนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติจริงในทุกภาคส่วน โดย

  • ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • คุณประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก49 จำกัด
  • คุณบุญมี สุระโคตร ประธานเครือข่ายแปลงใหญ่ระดับประเทศ
  • คุณนนทิกานต์ อัศรัสกร นักธุรกิจ Next Gen ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “ลฤก” พวงหรีดเสื่อ
  • ดำเนินการเสวนา โดย คุณกิตติ สิงหาปัด

ร่วมมือกันเพื่อโลกยั่งยืนและอนาคตของลูกหลานเรา ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.3015.00 น. 

ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://bit.ly/31TlpBI และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3mz0s6V



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online