อยากรู้เรื่องอะไร คิดอะไรไม่ออกก็ถาม Google
ในแต่ละปีคนไทยค้นหาคำต่าง ๆ ผ่าน Google เป็นจำนวนมากมายมหาศาล
แต่คำค้นหาเหล่านั้น นักการตลาดจะนำมาใช้อย่างไร
ไมค์ จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย สรุปเทรนด์คำค้นหาของคนไทยที่น่าสนใจในปี 2563 ที่จะกลายเป็นเทรนด์ 5 เทรนด์ที่สำคัญสำหรับการตลาดได้ติดตาม เพราะแนะแนววิธีการสื่อสารผ่านเทรนด์เหล่านี้
1:
Individual Matters ความเป็นปัจเจกบุคคล
การระบาดของโควิด-19 ใน 1 ปี ที่ผ่านมาทำให้มองเห็นความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากขึ้น และในแต่ละบุคคลให้ความสำคัญกับแนวคิดของตัวเองเพื่อตอบสนองความความต้องการที่เป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น
ในปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าคนไทยค้นหาคำต่าง ๆ ในกลุ่ม Individual Matters เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ได้แก่
ไทยให้ความสนใจค้นหาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง หรือ บูลลี่ เพิ่มขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยยอดการค้นหาต่อคนสูงสุดอยู่ที่ อำนาจเจริญ แพร่ และสิงหบุรี
คำค้นหา LGBT เพิ่มขึ้น 42% แสดงให้เห็นว่าคนให้ความสนใจมากเรื่องการแต่งงานในเพศเดียวกันมากกว่าที่ผ่านมา
การค้นหาเกี่ยวกับ เฟมินิสม์ หรือแนวคิดสตรีนิยม เพิ่มขึ้น 24%
และความเท่าเทียมเพิ่มขึ้น 21% โดยคำค้นเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียม เป็นคำที่ได้รับการค้นหาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ความยากลำบากทำให้คนมองไปที่ตัวเองมากขึ้นและเกิดปัญหาด้านโรคซึมเศร้า ที่ในอดีตไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับโรคนี้มากนัก แต่ในปีที่ผ่านมามีการค้นหาด้านสุขภาพทางจิตมากผ่านคีย์เวิร์ค เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากถึง 37% โดยคำค้นหาเที่ยวกับโรคซึมเศร้าที่สำคัญ ได้แก่ ทดสอบซึมเศร้า, ซึมเศร้า อาการ และรักษาโรคซึมเศร้า
คำที่ค้นหา
แบรนด์ตอบโจทย์อย่างไร
ไมค์ แนะนำว่า แบรนด์ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจในสถานการณ์หลากหลายที่ผู้บริโภคพบเจอ และหยิบยื่นความช่วยเหลืออย่างจริงใจ
เพราะในวันนี้แบรนด์จะมองว่าเห็นเพียงปัญหาอย่างเดียวไม่พอ แต่แบรนด์ต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะตอบโจทย์ปัญหา ด้วยความเข้าใจ Customer Journey และเข้าใจว่าปัญหาแต่ละคนแตกต่างกัน และจะแก้ปัญหาความแตกต่างกันอย่างไร
ไมค์แนะนำการตีโจทย์ของแบรนด์อิเกีย ที่นำปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของผู้บริโภคในการเดินทางมาอิเกีย ที่ผู้บริโภคแต่ละคนเดินทางมาถึงอิเกียในระยะการเดินทางและระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากแต่ละคนมีพื้นที่พักอาศัย อยู่ใกล้ ไกล อิเกียไม่เท่ากัน
อีเกียจึงนำระยะทางความไม่เท่าเทียมกันของผู้บริโภคมาเป็นหนึ่งในแคมเปญการตลาดด้วยการนำไทม์ไลน์การเดินทางของลูกค้ามาอิเกียจาก Google Map มาคิดคำนวนเป็นเวลาการเดินทางคร่าว ๆ เพื่อนำเวลาในการเดินทางเหล่านี้เปลี่ยนเป็นส่วนลดเพื่อผู้บริโภคทันทีที่จุดแคชเชียร์ เป็นต้น
2:
Higher Purpose เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น
แม้ความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่โควิด-19 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนไทยมีค่านิยมในการรักษ์โลกมากขึ้น จากการมองเห็นการบริโภคอุปโภคของตัวเองในช่วงล็อกดาวน์
ในปี 2563 คำค้นหาของผู้บริโภค จะเน้นไปยังการช่วยชุมชนและสภาพแวดล้อมอย่างไรมากขึ้น
ใครจะเชื่อล่ะว่าในปี 2563 มีคำค้นหาเกี่ยวกับหน้ากากผ้าเติบโตถึง 1,600%
การค้นหากระทงรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 50%
และคำว่าขวดพลาสติก ยังเป็นคำค้นหาที่มาตอบโจทย์งานอดิเรกที่น่าสนใจ โดยคำค้นหาคำว่าขวดพลาสติก ที่มีการค้นหามากที่สุด ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์จากขวดพลาสติก, ปลูกผักในขวดพลาสติก, ดอกไม้จากขวดพลาสติก
และนอกจากการมองไปที่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น คนไทยยังมีความคิดในการช่วยชุมชน เช่น การบริจาคในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการค้นหาอีกด้วย
คำค้นหาเกี่ยวกับบริจาคมากที่สุด ประกอบด้วย บริจาค โควิด, บริจาค เสื้อผ้า 2563, บริจาค ผม 2563
คำค้นหาเกี่ยวกับตู้ปันสุข มากที่สุด ประกอบด้วย ตู้ปันสุขมีที่ไหนบ้าง, ตู้ปันสุข เชียงใหม่ และตู้ปันสุข ใกล้ฉัน เป็นต้น
แบรนด์ตอบโจทย์อย่างไร
ไมค์ให้ความเห็นว่านักการตลาดควรสร้างการเชื่อมโยงคุณค่ากับผู้บริโภค และนำหลักความยั่งยืนมาใช้กับธุรกิจ
ในรูปแบบ Sustainability ธุรกิจ ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม เข้าด้วยกันเพื่อการสื่อสาร
เช่น แบรนด์ Converse เปิดตัวแคมเปญ City Forests ร่วมมือกับศิลปินสร้างสรรค์ผลงานบนกำแพงด้วยสีที่มีคุณสมบัติดูดซับสารพิษในอากาศ ในกรุงเทพฯ จาการ์ตา ซิดนีย์ และโฮจิมินห์ซิตี
รวมถึงการเปิดเผยค่านิยมธุรกิจและเปิดเผยค่านิยมองค์กรให้ข้างนอกได้เห็น เช่น เอไอเอส ที่มีโครงการ e-Waste ตู้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และนำมากำจัดให้ถูกวิธี เพื่อสื่อถึงการตระหนักถึงปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3:
Whole Selves ตัวตนในทุกแง่มุม
โควิดทำให้คนไทยทำงานอยู่บ้านมากขึ้น และทำให้เส้นแบ่งแยกต่าง ๆ ในชีวิตเบลอรวมกันหมด สิ่งเหล่านี้ทำให้คนไทยค้นหาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลา และชีวิตตัวเองดีขึ้น
ไมค์บอกกกับเราว่าช่วงล็อกดาวน์ค้นหา internet speed test ค้นหามากที่สุด และเติบโตถึง 25% เฉลี่ยทั้งปี
ค้นหาคำว่า โปรอินเทอร์เน็ต 200 บาท เพิ่มขึ้น 1,100%
และเพราะคนทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้น การค้นหาเกี่ยวกับเก้าอี้ทำงาน เพิ่มขึ้น 34%
แม้ปีที่ผ่านมาการค้นหาเกี่ยวกับเมคอัพลดลง เพราะคนไทยอยู่บ้านมากขึ้น แต่ค้นหาข้อมูลของ Google พบว่าคนไทยค้นหาเกี่ยวกับการดูแลตัวเองมากขึ้น เช่น ค้นหา เซรั่ม เพิ่มขึ้น 37% จากภาพรวมการค้นหาสกินแคร์รวมที่มีการเติบโต 13%
นอกจากนี้ คำค้นหาของคนไทยยังมีความครอบคลุม เจาะจง และลงลึกมากขึ้น
เช่น การค้นหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำตาลน้อยลง ของคนไทยจะครอบคลุมไปถึง ผลไม้น้ำตาลน้อย, หม้อหุงข้าวลดน้ำตาล, อาหารลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
หรือเรื่องโฟมล้างหน้าก็จะเฉพาะเจาะจงขึ้น อย่างเช่นคำค้นหายอดนิยมโฟมล้างหน้าจะประกอบด้วย โฟมล้างหน้าลดสิว รีวิวโฟมล้างหน้า โฟมล้างหน้าผู้ชาย โฟมล้างหน้า ผิวแพ้ง่าย โฟมล้างหน้าญี่ปุ่น
แบรนด์ตอบโจทย์อย่างไร
ในมุมของแบรนด์ควรผู้ภาษาเดียวกับผู้บริโภค และปรับคำค้นให้ตรงกับความต้องการเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และแบรนด์ถูกคาดหวังให้ตระหนักถึงความเชื่อและความชอบเฉพาะบุคคลที่ผู้บริโภคมีต่อผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ นั่นหมายความว่ายิ่งแบรนด์เข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากก็จะยิ่งมีโอกาสทางธุรกิจมาก
เช่น ผลิตภัณฑ์ความงามไทยรายหนึ่ง เห็นคำค้นหาเกี่ยวกับครีมทารอบดวงตาหลายพันรูปแบบ เนื่องจากการปรับคำค้นหาให้ตรงกับความต้องการเฉพาะตัว แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามไทยรายนี้ได้เลือกใช้คีย์เวิร์ดหลักคือ ครีมลดริ้วรอยรอบดวงตา และใช้ Broad Match เพื่อจับคำค้นหาใกล้เคียงกับครีมลดริ้วรอยรอบดวงตา พร้อมกับปรับแต่งข้อความให้ตรงกับคำค้นหามากที่สุด และเมื่อผู้บริโภคค้นหาคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบรนด์จะปรากฏอยู่บนคำค้นหาทันที
4:
Sweet Relief แสวงหาความสุข
โควิดทำให้วันหยุดและเทศกาลต่าง ๆ ถูกยกเลิก แต่คนไทยก็ยังไม่ละทิ้งการพักผ่อนและแสวงหาความสุข และการสร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ ตอนกักตัวอยู่บ้าน และหลังที่คลายล็อกดาวน์ หลาย ๆ อย่างยังทำต่อไปเรื่อย ๆ
จากผลสำรวจของ Google พบว่าในช่วงล็อกดาวน์คนไทยดูคอนเทนต์แนวตลกใน Youtube เพิ่มขึ้น 90%
ค้นหาเก้าอี้เกมมิ่ง เพิ่มขึ้น 125%
ค้นหาจักรเย็บผ้า เพิ่มขึ้น 335%
ค้นหาปลูก (เช่น ปลูกต้นไม้) เพิ่มขึ้น 20%
ค้นหา เล่นเกมกับเพื่อน เพิ่มขึ้น 105%
นอกเหนือจากการทำงานคนไทยใช้เวลาออนไลน์โดยเฉลี่ย
ก่อนโควิด -19 3.7 ชม. ต่อวัน
ช่วงเวลาล็อกดาวน์ 4.6 ชม. ต่อวัน
หลังคลายล็อกดาวน์ 4.3 ชม. ต่อวัน
แบรนด์ทำอย่างไร
ไมค์ให้ความเห็นว่าแบรนด์สามารถสร้างความเซอร์ไพรส์และความประทับใจของผู้บริโภคเพื่อสร้างความสุขผ่านความเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น
เช่น ช็อกโกแลต Mars วิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Google เพื่อหาคำค้นหา และสถานการณ์แปลก ๆ ที่คนค้นหา และส่งช็อกโกแลตไปให้กับคนที่อยู่ในสถานการณ์จนมุม เพื่อลดความเครียดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
หรือซอสแม็กกี้ ที่มีอินไซด์คนรุ่นใหม่ไม่ได้ทำอาหารเอง แต่จะสั่งเข้ามารับประทานที่บ้าน และแม็กกี้ได้ทำข้าวกล่อง และร้านอาหารแม็กกี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในกลุ่มนี้ และยังเป็นการสร้าง Brand Awareness สู่ Brand Love ได้
5:
Future Proofing ความแน่นอนในอนาคต
2563 เป็นปีที่ไม่มีใครคาดการณ์อนาคตได้อย่างชัดเจน และคนจะมองหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต รวมถึงความมั่นใจในด้านต่าง ๆ
การค้นหาด้านโควิดเปลี่ยนไป
ไมค์ยกตัวอย่างในช่วงโควิดเริ่มระบาด คนไทยค้นหาเพื่อทำความเข้าใจในช่วงโควิดระบาดแรก ๆ
และสองเดือนผ่านไปการค้นหาเปลี่ยนมาเน้นค้นหาวิธีป้องกันและการซื้อประกัน
การมาของโควิดระลอกใหม่ การค้นหาเริ่มเปลี่ยนไป และเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ทำให้การค้นหาที่จะแพลนตัวเองในอนาคตมากขึ้น รวมถึงการค้นหาด้านวัคซีน
ปัญหาเศรษฐกิจมาจากวิกฤต และผู้บริโภคเริ่มค้นหาการสร้างรายได้และความรู้ใหม่ ๆ
เช่น คำค้นหา การเรียนออนไลน์โตขึ้น 500%
Digital Marketing ค้นหาเพิ่มขึ้น 50% โดยคำค้นหาต่อคนสูงสุดอยู่ในจังหวัดพิจิตร อุทัยธานี และเพชรบูรณ์
คำค้นหา นำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ เพิ่มขึ้น 35% แสดงถึงความพยายามของธุรกิจเพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ ๆ ในโลกออนไลน์
นอกจากนี้ คนไทยยังค้นหาคำต่าง ๆ เกี่ยวกับอาชีพเสริม ได้แก่
ขายของออนไลน์ เพิ่มขึ้น 32% และมีคำค้นหายอดนิยม ได้แก่ วิธีขายของออนไลน์ให้ขายดี, ขายของออนไลน์อะไรดี, แอปแต่งรูปขายของออนไลน์
และยังรวมถึงวิธีการต่าง ๆ ในการให้เงินทำงานมากขึ้น
เช่น เปิดพอร์ตเป็นคำค้นหาที่เพิ่มขึ้น 72%
หุ้น หรือ Stock ใน Youtube เพิ่มขึ้น 42%
แต่อย่างไรก็ดี ในส่วนของการเงิน ข้อมูลของ Google ยังพบว่าคนไทยค้นหาเกี่ยวกับเรื่อง การพักชำระหนี้เพิ่มขึ้น 9 เท่า
เงินชดเชยเพิ่มขึ้น 200%
พักชำระหนี้ เพิ่มขึ้น 800%
รวมถึงคำค้นหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพเชิงป้องกัน ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร เพิ่มขึ้น 233%
แบรนด์จะทำอย่างไร
ไมค์แนะนำว่าสิ่งที่แบรนด์ควรสื่อสารกับผู้บริโภค คือการให้ข้อมูลที่ง่าย และผู้บริโภคสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว แทนการให้ข้อมูลกับลูกค้าที่มากเกินไป ไปพร้อมกับการสื่อสารที่คำนึงถึงวิธีที่จะช่วยเสริมพลังให้กับผู้บริโภค และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องความสบายใจและความเสี่ยงต่ำ
–
Markteer FYI
หม้อทอดไร้น้ำมันยังคงอยู่
ในช่วงโควิด-19 ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2563 หม้อทอดไร้น้ำมัน เป็นคำค้นหาที่เพิ่มขึ้นสูงจากเทรนด์การหาหม้อทอดมาประกอบอาหารเมื่ออยู่กับบ้าน
ข้อมูลจาก Google พบว่าหม้อทอดไร้น้ำ
- 2563 กราฟสีฟ้า
- 2562 กราฟสีแดง
- 2561 กราฟสีเหลือง
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

