กว่าปีมาแล้วที่โลกเผชิญวิกฤตโควิด กระทบไปหมดทุกวงการ เห็นได้จากขาลงและการบาดเจ็บล้มตายของธุรกิจส่วนใหญ่ ขณะที่ธุรกิจไหนปรับตัวไวหรือพลิกวิกฤตได้ก็แบบรุ่งสวนกระแส จนผู้บริหารได้ยิ้มกว้าง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกธุรกิจ ทุกบริษัทต้องเปลี่ยนคือวิธีการทำงาน เน้น Social Distance เพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยโควิด

Socail Distance 1

แล้วเราจะ ‘พูด’ กันอย่างไรให้งานยังมีประสิทธิภาพ ปังจนเจ้านายยิ้มกว้าง ในยุคที่ต้องทำงานจากระยะไกลและผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารมากมาย ด้านล่างนี้มีคำตอบ    

 

ฟังให้มากเข้าไว้  

เคล็ดไม่ลับข้อแรกที่ควรจำใส่ใจเมื่อต้องสื่อสารกับใครและใช้ได้ทุกยุคสมัยคือการฟัง เนื่องจากทำให้เรารับรู้ถึงสารที่คู่สนทนาต้องการสื่อออกมา ทว่านี่อาจไม่ใช่งานง่ายเพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนเราพูดได้ 125 คำต่อนาที จึงหมายความว่าเราอาจเสียสมาธิระหว่างสนทนา จนข้อความตกหล่นไปบ้าง

ในยุค New Normal ที่เราจำเป็นต้องเว้นระยะห่าง บางครั้งก็ไม่ได้คุยกับคู่สนทนาแบบเห็นหน้าค่าตา ช่องว่างและอุปสรรคในการสื่อสารย่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องหันมา ‘ฟัง’ กันมากขึ้น และคอยสังเกตผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารว่าอีกฝ่าย ไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่ม มีท่าทาง ท่าที และความรู้สึกอย่างไร

 

ต่อยอดจากเล็กไปใหญ่

เคล็ดไม่ลับข้อถัดมาเพื่อให้การสื่อสารแบบ Social Distance เกิดประสิทธิภาพ คือการต่อจุด เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ แสดงให้รู้ว่าแม้ตัวไกลแต่ใจยังห่วง เช่น เปลี่ยนจากเปิดบทสนทนาว่า “เป็นไงบ้างช่วงนี้ ทำงานไปถึงไหนแล้ว?” มาเป็น “Work from Home รอบนี้ปรับตัวได้หรือยัง ติดขัดหรือขาดเหลืออะไรไหม? ต้องดูแลตัวเองดี ๆ นะ” แล้วจึงเข้าเรื่องงาน

นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรา ไม่ได้มองอีกฝ่ายเป็นแค่ฟันเฟืองในเครื่องจักรสร้างงาน แต่เห็นว่าพวกเขาก็คือเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องที่มีหัวจิตหัวใจ ต้องปรับตัวและทุ่มเททำงานให้สำเร็จในยุคที่โลกการทำงานเปลี่ยนไป

Socail Distance 2

ไม่ต้องเป๊ะเกินร้อยก็ได้

อาจดูย้อนแย้งหากบอกว่า งานที่ดีไม่ได้มาจากการใส่เต็มร้อยเสมอไป แต่นี่เป็นเรื่องจริง เพราะเมื่อเราต้อง Work from Home แล้วถูกเรียกตัวประชุมออนไลน์ผ่านแอป Zoom เสื้อผ้าหน้าผมอาจไม่ได้พร้อมออกสื่อทุกครั้ง ขณะเดียวกัน Millennial ประชากรโลกกลุ่มใหญ่ยุคนี้ ยังกังวลสุด ๆ กับการ ‘ปล่อยไก่’ บนสื่อออนไลน์หรือกลัวจะ ‘ทัวร์ลง’ หากทำผิดพลาดหลุดออกไปให้ใคร ๆ ได้รู้    

ดังนั้น การไม่ต้อง ‘เป๊ะเวอร์’ อยู่ตลอด ยืดหยุ่นได้บ้างตามสมควร หรือยอมรับว่าเราเองก็เคยทำพลาดเหมือนกัน จึงช่วยลดแรงกดดันหรือความเครียดของคู่สนทนาและบรรยากาศระหว่างทำงานอยู่บ้านดีขึ้น จนงานออกมาดีนั่นเอง

เอเชีย ประชุมออนไลน์

อย่าลืมใส่ ‘ใจ’ เพิ่มอีกหน่อย

อีกอย่างที่ช่วยให้การทำงานแบบ “ต่างที่-เหมือนกัน” ยังคงมีประสิทธิภาพคือ การใส่ใจคู่สนทนา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้อง ซึ่งต่อยอดมาจากเคล็ดไม่ลับข้อที่สอง โดยทุกครั้งในการไถ่ถามความคืบหน้าของงาน หากใครทำงานเสร็จ ไม่ใช่แค่ ‘ตัดจบ’ ด้วยแค่พูดว่า OK แต่ควรชื่นชม อย่างน้อยก็เรื่องของความพยายาม ส่วนถ้าผลงานดีก็ควรชมให้ทั้งทีมงานรู้ทั่วกัน

Socail Distance 3

เราทุกคนล้วนอยากได้รับรางวัลแห่งจากความพยายาม ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาจเป็นแค่คำชมเล็ก ๆ น้อย ๆ  หรือโบนัสตามสมควร เพื่อให้ได้รู้ว่าการลงแรงลงใจกับงานนั้นมีคุณค่า และทีมงานเห็นความสำคัญ ไม่ว่าทีมนั้นเล็กหรือใหญ่ และทำงานห่างกันแค่ไหนก็ตาม/fastcompany

I-



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online