จุดตายอะไรบ้างที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้น ถ้าอยากเป็นบริษัทนวัตกรรมชั้นนำและยืนระยะต่อได้นาน ๆ เหมือนบริษัทชั้นนำที่อยู่มานานอย่าง Apple และ Amazon
หากบริษัทไหนได้ชื่อว่าเป็นบริษัทด้านนวัตกรรมความสนใจจะเพิ่มขึ้นทันที และอาจต่อยอดเป็นแคมเปญการตลาดทรงพลังได้เลย เพราะนี่คือจุดขายว่าเป็นบริษัทเปี่ยมความสร้างสรรค์ คิดริเริ่มสิ่งใหม่และเป็นผู้นำตลาด ดังที่หลายบริษัท เช่น Apple, Amazon, Sony และ Dyson ทำสำเร็จ และเป็นที่จดจำในฐานะบริษัทที่เปิดตลาด Smartphone, E-commerce, เครื่องเล่นเทปแบบพกพา และเครื่องดูดฝุ่นไร้ถุงเก็บฝุ่น ตามลำดับ
ความสำเร็จเหล่านี้ทำให้อีกหลายบริษัทอยากเดินตามแต่กลับมีส่วนน้อยไปถึง เพราะปล่อยให้จุดบอดที่ลามเป็นจุดตายเกิดขึ้น ปัญหาเรื่องความสร้างสรรค์ยังเกิดขึ้นกับบริษัทใหญ่ ๆ จนล้มและยังกลับมาปังไม่ได้เหมือนเดิม
แล้วจุดตายอะไรบ้างที่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้น ถ้าอยากเป็นบริษัทนวัตกรรมชั้นนำและยืนระยะต่อได้นาน ๆ ด้านล่างนี้มีคำตอบ
ปิดหูไม่รับฟัง
ข้อบกพร่องแรกด้านนวัตกรรมที่บานปลายเป็นจุดตายของบริษัทมากมาย คือการไม่รับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ รวมถึงทำเป็นฟังแต่ไม่ได้ยิน หรือ ‘ยิงตก’ หลังได้รู้ไม่เท่าไร โดยนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารปิดรับเรื่องใหม่ ๆ ไม่พร้อมเดินหน้า และประมาทในการเดินเกมธุรกิจ
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้หลายบริษัทต้องพังและก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับ HMV เครือร้านค้าปลีกสื่อบันเทิงสัญชาติอังกฤษที่ปัจจุบันมีแต่ทรงกับทรุด เพราะบอร์ดบริหาร ‘ปิดหู’ ไม่รับฟังคำเตือนของหัวหน้าฝ่ายโฆษณาที่ว่าต่อไป E-commerce การฟังเพลงแบบ Download (ที่ต่อมาพัฒนาสู่ Streaming)
และห้างค้าปลีกที่เน้นขายของราคาถูก จะพาบริษัทสู่วิกฤตความอยู่รอด หรือความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่ากันติดปากว่า Disruption นั่นเอง
รีบตัดจบทั้งที่ยังตั้งไข่
จุดบอดข้อถัดมาที่ไม่ควรปล่อยให้บานปลายจนทำลายความสามารถด้านนวัตกรรมของบริษัทคือ อาการใจร้อน ไม่ปล่อยให้ความคิดใหม่ได้โตพ้นช่วงตั้งไข่ของผู้บริหาร เพราะจะทำให้พลาดโอกาสต่อยอดเป็นสินค้าหรือเทคโนโลยีทำเงิน
เหมือน Mozilla ที่สั่ง ’ตัดจบ’ โครงการระดมความช่วยเหลือแบบ crowdsourced เพื่อตรวจสอบปริมาณละอองฝุ่นขนาดเล็กระดับ PM2.5 ที่วิศวกรชาวไต้หวันคิดค้นขึ้นเมื่อปี 2016 หลังเริ่มมาได้ไม่ถึงปี
และปล่อยให้ PurpleAir ที่พัฒนาเทคโนโลยีเดียวกันอยู่ผ่านเว็บไซต์ weather.com แต่ใจเย็นกว่า แซงหน้าและประสบความสำเร็จในที่สุด หลังถูกนำไปใช้ในเหตุไฟป่าที่แคลิฟอร์เนียในปี 2018 จน IBM มาซื้อไป
ปล่อยให้ล้วงลูกมากเกินไป
จุดบอดอีกจุดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับนวัตกรรมจนบริษัทเสียโอกาสทำเงินระยะยาวคือการไม่เปิดโอกาสให้ทีมงานคิดค้นนั้นมีอิสระในการทำงานเต็มที่ โดยเรื่องนี้จะเห็นได้ชัดหากเป็น Project มีอนาคตภายใต้บริษัทใหญ่ เหมือน FuelBand ของ Nike
ราวปี 2012 FuelBand ของ Nike ถือเป็น Wearable Tech ตัวแรก ๆ ในตลาด และคู่แข่งของ Fitbit ทว่าหลังถูกบอร์ดบริหารล้วงลูกอย่างหนัก ปี 2014 สายรัดข้อมืออัจฉริยะดังกล่าวก็ต้องปิดตัว
Tim Cook
ทีมวิศวกรกลุ่มนี้ก็พากันลาออกไปช่วยพัฒนา Apple Watch ซึ่งถือเป็น Gadget ที่ประสบความสำเร็จลำดับต้น ๆ ของ Apple ยุค Tim Cook
ลำบากเรื่องเงินทุน
เพราะทุกกิจกรรมมีค่าใช้จ่าย เงินจึงมีความจำเป็น ดังนั้น หากอยากปั้นนวัตกรรมให้เกิดก็ไม่ควรลืมจุดนี้ โดย 3M ไม่มองข้ามเรื่องนี้ โดยนอกจากมี Workshop และทีมวิจัย-พัฒนาแล้ว ยังกำหนดเป็นนโยบายให้กันงบไว้ 15% เพื่อจูงใจพนักงานให้ผลักดันสิ่งใหม่ ๆ ออกมา
การลงทุนทั้งเรื่องเงินและกำลังคนดังกล่าว กลายมาเป็นเทปอเนกประสงค์ใช้งานได้สารพัด ไปจนถึงพลาสเตอร์ยาปิดแผล ซึ่งทำเงินให้ 3M ได้ต่อเนื่องมาหลายปี
ไร้แรงหนุนจากเบอร์ใหญ่
แม้เรียกความสนใจได้ทุกครั้งที่ได้เห็นและได้ยิน แต่นวัตกรรมก็เป็นเหมือนทุก ๆ Project ของบริษัทที่ต้องการแรงหนุนไปจนสุดทาง นี่นำมาสู่จุดบอดอีกจุด เพราะหากขาดการสนับสนุนที่สุดนวัตกรรมก็จะเจอกับอุปสรรคจากการเมืองในองค์กรและขาดตอนอย่างน่าเสียดาย
ไม่คิดใหม่เมื่อเจอโจทย์ยาก
จุดบอดสุดท้ายและถืออันตรายมากสุดกับทุกบริษัทในด้านการพัฒนานวัตกรรมคือการไม่ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา เหมือนหายนะของ Kodak และ Nokia ที่เจอบทเรียนราคาแพง หลังไม่ปรับตัวจากภาพฟิล์มสู่ไฟล์ภาพดิจิทัล และไม่เร่งพัฒนา Smartphone ออกมา
Satya Nadella
ตรงข้ามกับ Microsoft ในยุคของ Satya Nadella ที่รอดพ้นภัย Disrupt แบบมาได้ เพราะคิดใหม่ พาบริษัทเปลี่ยนจากธุรกิจ Hardware และบริการที่เกี่ยวเนื่องกัน สู่ Mobile Device และระบบ Cloud/fastcompany
I-
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ