หนึ่งในแหล่งรายได้สำคัญของเมียนมากำลังอาการหนักจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ โดยเจ้าของโรงงานรับจ้างผลิต (OEM) เสื้อผ้าในเมียนมา พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตการเมืองหลังกองทัพยึดอำนาจ และถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น อาจต้องปิดโรงงานจนพนักงานเรือนแสนตกงาน
1 กุมภาพันธ์ เมียนมาเข้าสู่วิกฤตรอบใหม่หลังกองทัพยึดอำนาจ อองซาน ซูจี ภายใต้ข้ออ้างว่าเธอและพรรคทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้เธอพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ
อองซาน ซูจี
ไม่นานจากนั้นประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวของกองทัพก็รวมตัวประท้วงกันอย่างกว้างขวาง และบานปลายเป็นเหตุรุนแรงตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก
เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในเมียนมา โดยสำหรับภาคธุรกิจ โรงงานรับจ้างผลิต (OEM) เสื้อผ้ากำลังอาการหนัก เพราะเพิ่งกลับมาเปิดหลังวิกฤตโควิดซาได้ไม่นาน
แต่ก็ต้องมาปิดอีกหรือลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 20% เพราะแบรนด์แฟชั่นดัง ๆ อย่าง Benetton Next และ Primark ย้ายไปใช้โรงงาน OEM ในบังกลาเทศ กัมพูชา เวียดนาม และจีน ที่สถานการณ์ปกติผลิตแทน ส่วน H&M ก็เตรียมย้ายไปเช่นกัน
ฝันร้ายของธุรกิจโรงงาน OEM เสื้อผ้าในเมียนมา ยังไม่หยุดแค่นั้น เพราะโรงงานบางแห่งเสียหายจากการบุกทำลายของกลุ่มที่ต่อต้านจีน เพราะเห็นว่าทางการจีนสนับสนุนกองทัพเมียนมา
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้โรงงาน OEM เสื้อผ้าในเมียนมา ซึ่ง 3 ใน 4 เป็นโรงงานจีน ต้องปิดเพื่อความปลอดภัย
สถานการณ์นี้กำลังส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของเมียนมา ซึ่งรายได้ 30% มาจากการส่งออกของโรงงาน OEM เสื้อผ้า
และหากเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นที่สุดอาจทำให้หนุ่ม-สาวโรงงานเมียนมา 700,000 คน ที่ได้ค่าจ้างเพียง 3.40 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 107 บาท) ต่อวันเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำสุดในกลุ่มประเทศ AEC ต้องตกงาน
สำหรับธุรกิจโรงงาน OEM เสื้อผ้าในเมียนมาถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ ปี 2011 มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,400 ล้านบาท)
พอปี 2019 ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 204,000 ล้านบาท) คิดเป็น 30% ของรายได้การส่งออก
ไป่ ทาคน
ส่วนสถานการณ์ในเมียนมา มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 500 คนและอีกราว 3,000 คนถูกกองทัพควบคุมตัว ซึ่งคนล่าสุดคือ ไป่ ทาคน นายแบบดังที่ต้านการยึดอำนาจครั้งนี้/reuters, channelnewsasia
–
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ