ปี 2564 อภิมหาเศรษฐีไทยใน 5 อันดับแรก ยังคงเป็นอันดับที่คงที่เหมือนปีที่ผ่านมา

และยังมีมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย จากการของฟอร์บส์ เอเชีย

(ดู 10 อันดับอภิมหาเศรษฐีของไทยปี 2564 ได้ที่นี่ )

แต่ที่น่าสนใจคือในการจัดอันดับ 50 อภิมหาเศรษฐีไทยในปีนี้ มีมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่เข้ามาติดอันดับด้วยกัน 3 ราย จาก 3 กลุ่มธุรกิจ

อันดับ 29

อดิศักดิ์ และ นาตยา ตั้งมิตรประชา ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน Dohome

ที่มีจุดเริ่มต้นคือร้านค้าวัสดุก่อสร้างห้องแถวเล็ก ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2526

มีพนักงานเพียง 4-5 คน มีเงินเปิดร้านเริ่มต้นแค่ 200,000-300,000 บาท ในชื่อ “ศ.อุบลวัสดุ” จากฝีมือของสามีภรรยาอย่าง อดิศักดิ์-นาตยา ตั้งมิตรประชา

จากกลยุทธ์ที่เน้นขายสินค้าในราคาถูกทำให้ร้านค้าห้องแถวเล็ก ๆ นี้ เติบโตอย่างรวดเร็ว

ปี 2562 เป็นขวบปีที่ 36 ที่ดูโฮมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง คือการพาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยติดนามสกุลมหาชน

ปี 2563 ที่ผ่านมาที่ต้องเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ดูโฮมทำผลงานได้ดีทั้งรายได้ และกำไรที่เติบโตขึ้น

มีรายได้รวม 18,924.82   ล้านบาท กำไร 726.68 ล้านบาท

ขณะที่เจ้าตัวอดิศักดิ์ และ นาตยา ตั้งมิตรประชา มีทรัพย์สินรวม1.27 พันล้านเหรียญ  หรือ 3.98 หมื่นล้านบาท  เข้ามาติดอันดับครั้งแรกในปีนี้

อันดับ 41

สมชาย รัตนภูมิภิญโญ ผู้ก่อตั้งธุรกิจอาหาร บมจ.อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย  ที่มีทรัพย์สิน 875 ล้านเหรียญ  หรือ 2.74 หมื่นล้านบาท

2528 คือจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจผลิตวัสดุแต่งกลิ่น และรส สีผสมอาหาร ที่เกิดจาก “สมชาย รัตนภูมิภิญโญ” ชายผู้ชื่นชอบและจบจากสาขาเคมีมาโดยตรง ร่วมกับนักธุรกิจต่างชาติ

ก่อนที่จะมาก่อตั้งเป็นบริษัทอาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย หรือ RBF ในปี 2534 มีสำนักงานและโรงงานแห่งแรกอยู่ในซอยลาดพร้าว 101

แม้ผู้คนอาจจะไม่รู้จักและไม่คุ้นหู แต่เชื่อว่าคนไทยหลาย ๆ คนเคยใช้ผลิตภัณฑ์ของ RBF กันทั้งสิ้น

เพราะผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ที่วางขายอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบแต่งสี แต่งกลิ่น แต่งรสของ RBF

ปัจจุบันสมชายส่งไม้ต่อให้ทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง “จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ” เข้ามาสืบทอดกิจการ

ที่น่าจับตาในปีนี้คือการเข้ามาร่วมวงในธุรกิจกัญชง ที่เป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และคาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์จากกัญชงออกมาวางจำหน่ายในไตรมาสสี่ของปีนี้

อันดับ 44

สมหวัง และ ไวยวุฒิ สินเจริญกุล คู่พ่อลูกผู้อยู่เบื้องหลัง ‘ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ’ มีทรัพย์สิน 865 ล้านเหรียญ หรือ 2.71 หมื่นล้านบาท

ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี  (STA)  จากแบรนด์ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก

กลับมาดังสุดๆ ด้วยวิกฤตโควิด-19 เพราะบริษัทลูก บมจ. ศรีตรังโกลฟส์ ( STGT)  ที่มีผลิตภัณฑ์หลักคือถุงมือยาง คือสิ่งจำเป็นในหลาย ๆ อุตสาหกรรม

จุดเริ่มต้นของธุรกิจไม่ได้มาจากธุรกิจต้นน้ำเจ้าของสวนยาง

แต่ ดร. ไวยวุฒิ สินเจริญกุล ประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทศรีตรัง  หรือ บมจ.  ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี  (STA)  ผู้ผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่สุดของโลก เริ่มต้นธุรกิจจากธุรกิจกลางน้ำ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยางธรรมชาติมานานกว่า 30 ปี

พร้อม ๆ กับการทำธุรกิจปลายน้ำ คือถุงมือยางเมื่อปี 2532

ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจต้นน้ำด้วยการกว้านซื้อพื้นที่ปลูกยางพารา 45,000 ไร่ เมื่อประมาณ 10  ปีมานี่เอง

I



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน