เวลาไปเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต แทบทุกคนต้องเคยได้ของที่ไม่ได้วางแผนจะซื้อ ติดไม้ติดมือกลับบ้าน ยิ่งถ้าเป็นคุณแม่ และไม่ได้มี List จดไว้ชัดเจน รับรองว่าลั่นแน่นอน

Food Network Magazine ร่วมกับบริษัทวิจัย Open Mind Strategy ในการสำรวจคนเกือบ 2,000 คน (ครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกนิตยสาร) เกี่ยวกับพฤติกรรมและมุมมองต่อการซื้อสินค้าประเภทอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต

และถึงแม้ว่า ecommerce จะโตเรื่อยๆ แต่ร้านค้าออฟไลน์ก็อย่าพึ่งหวั่นวิตกจนเกินไป เพราะงานวิจัยพบง่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังชอบที่จะสัมผัส มอง และทดลองสินค้าด้วยตัวเอง โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้

 

ก่อนจะไปซูเปอร์มาร์เก็ต เจอสื่อประเภทไหนก่อน?

รายการทีวีที่เกี่ยวกับอาหาร มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาคือ Facebook และ นิตยสารอาหาร ซึ่งผู้บริโภคสามารถเสพคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับอาหารได้ทั้งในเง่ของรายการทีวี วิดีโอใน Facebook หรือภาพอาหาร

นอกจากนั้นโฆษณาเองก็มีผลไม่น้อย เพราะ 62% ซื้อสินค้าตามโฆษณา | 73% เซฟวิธีการทำอาหารจากโฆษณา | 68% ลงมือทำจริง

ฉะนั้นสังเกตได้ว่าในกลุ่มตัวอย่าง (ที่ครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกนิตยสารอาหาร) มีใจรักในการทำอาหารจริงๆ ดังนั้น Ads ที่เข้ามาจึงมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

 

ขณะช้อปปิ้ง

การมีหน้าของกูรูอาหารบนผลิตภัณฑ์ช่วยทำให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือ และ ถ้าสินค้าแบรนด์ไหน มีขนาดกะทัดรัด ผู้บริโภคจะรู้สึกสบายใจที่จะซื้อมากกว่า สินค้าแบบไซส์มหึมายิ่งซื้อยิ่งคุ้ม

50% ของกลุ่มสำรวจ บางครั้งซื้ออาหารก็เพราะว่า บรรจุภัณฑ์ดูดี

 

คำไหนที่โดน คำไหนที่ล้าหลัง

บางครั้งวัตถุดิบอาจเหมือนกัน ผลิตโรงงานใกล้ๆกัน แต่สุดท้ายต่างกันตรงคำพูด Tagline บนผลิตภัณฑ์ เรามาดูตัวอย่างคำทั้งสองแบบกัน

น่าสนใจ : Fresh (สดใหม่) – On Sale (ลดราคา) – All Natural (ธรรมชาติ) – Organic (ออร์แกนิค) – Locally Grown (ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น) – Low Sodium (โซเดียมน้อย) – Superfood (ซูเปอร์ฟู้ด)

ไม่น่าสนใจ : คำที่อ่านไม่ออก หรือไม่เข้าใจ – Diet (ไดเอ็ต) – Soy (ถั่วเหลือง) – Gluten Free (กลูเตนฟรี) – Stevia (หญ้าหวาน) – Sugar Free (ปราศจากน้ำตาล) – Fat Free (ปราศจากไขมัน)

อ่านเสร็จแล้วอย่าพึ่งเชื่อทั้งหมด เพราะตลาดไทยยังเทียบกับตลาดสหรัฐไม่ 100% แต่ถ้าสังเกตดีๆ คำประเภทแบบน้ำตาลน้อย ไม่มีไขมัน มันใช้กันเป็นสิบปีแล้ว แบรนด์ไหนก็น้ำตาลน้อยกันทั้งนั้น ฉะนั้นบางแบรนด์จึงอาจไปเลี่ยงมุมอื่นเช่น แคลอรี่ต่ำ หรือ 30 แคลอรี่ เป็นต้น

 

สมาร์ทโฟน ตัวตัดสินก่อนหยิบลงตะกร้า

39% ค้นหาเมนูอาหาร : ดังนั้นถ้าแบรนด์คุณขายผงแกงกะหรี่ เวลาค้นหา แกงกะหรี่ หากแบรนด์ของคุณขึ้นมาเป็นอันดับแรก โอกาสก็อยู่ไม่ไกล

40% ตรวจสอบราคา : ปัจจุบัน พิมพ์ชื่อสินค้าก็เทียบราคาได้หมด ฉะนั้นหากราคาของร้านไม่ได้ถูกที่สุด ก็ต้องมีอย่างอื่นมาเสริม เช่น การสะสมแต้ม เป็นต้น

28% เช็คคุณค่าสารอาหาร

 

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นมีกลุ่มตัวอย่างค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกนิตยสาร Food Network Magazine ที่อายุตั้งแต่ 21-54 ซึ่งอาจจะพอเดาได้ว่ายังไม่ใช่เชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีเท่าไหร่นัก แต่ถ้าไปถามคนอายุ 15-25 อาจจะพบกับคำตอบที่เปลี่ยนไป

อย่างในไทยตอนนี้ Tesco BigC Central ก็สามารถซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ส่งถึงบ้านได้แล้ว อยู่ที่ว่าจะรักษาคุณภาพของการส่งสินค้าได้ดีเหมือน ซื้อออฟไลน์ มากแค่ไหน?

 

วิธีการวิจัย : สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,957 คน อายุ 21-54 ปี

ที่มา : Adweek และ Food Network Magazine

 

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online