เทรนด์จากยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา มักจะเต็มไปด้วยนวัตกรรม และล้ำหน้ากว่าประเทศไทยไปหลายก้าว ซึ่งบางครั้งการนำเทรนด์เหล่านั้นมาใช้ในตลาดที่ยังไม่พร้อม ก็อาจจะเสียเงิน เสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ลองมาดูเทรนด์ทั้ง 5 ข้อนี้ดู แต่ละเทรนด์เกิดจากแคมเปญการตลาด นวัตกรรม และสินค้า ที่แบรนด์ชั้นนำในเอเชียได้ลองทำมาแล้วในปี 2016 และได้ผลตอบรับที่ดีอย่างมาก ฉะนั้นหากคุณไม่อยากให้แบรนด์ของคุณ OUT ลองดูไอเดียเหล่านี้ และกลับไปคิด ขีดเขียน และสร้างไอเดียเพื่อพัฒนาแบรนด์ของคุณให้เกิดเป็น เทรนด์ปี 2017



การเกาะติดเทรนด์ การเล่นกับกระแส เป็นสิ่งที่นักการตลาดย้ำเสมอว่าแบรนด์ต้องทำเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในช่องทางออนไลน์ แต่คำถามคือมีตัวตนแล้วไงต่อ? ลองดูตัวอย่างแบรนด์ที่สามารถจับเทรนด์ในโลกออนไลน์ และนำไปต่อยอดในชีวิตจริงได้

ไมโล : ในช่วงปลายปี 2016 นักร้องชาวสิงคโปร์ Nathan Hartono ได้เข้าร่วมประกวดร้องเพลงของจีน Sing! China ในตอนสัมภาษณ์ เขาพูดทีเล่นทีจริงว่า “ถ้าผมชนะ ผมจะเช่ารถตู้ไมโล แล้วขับแจกไมโลฟรีรอบเมืองเลย” แต่บริษัทไมโล สิงคโปร์ เอาจริงประกาศในโซเชียลว่า “ไม่ว่า Nathan จะชนะหรือแพ้ ไมโลสนับสนุนคุณจนถึงที่สุด” จากนั้นไมโลก็เอารถตู้ขับรอบเมืองเพื่อแจกไมโลฟรีเป็นจำนวน 15,000 แก้ว สร้างความประทับใจ และผลบวกต่อแบรนด์อย่างมหาศาล

อูเบอร์ : ในเดือนพฤษภาคม 2016 เกิดภัยน้ำท่วมในหลายเมืองของศรีลังกา ประชาชนเป็นพันได้รับผลกระทบ อูเบอร์จึงร่วมกับ Columbo Municipal Council และ Sri Lanka Red Cross Society เพื่อออกฟีเจอร์พิเศษขึ้น uberCARE โดยจะเป็นการเรียกรถเพื่อให้อูเบอร์มารับของไปยังสถานที่รับของบริจาค เป็นต้น ได้ทั้งช่วยผู้ประสบภัย ได้ทั้ง Brand Awareness

 

เราอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง เราสามารถเป็นเพื่อนกับคนใน Facebook ได้ สามารถชอบคนใน Tinder ได้ โดยที่ไม่ต้องรู้จักกันมาก่อน แต่หากคุณทักคนในรถไฟฟ้าแบบเดียวกัน มันคงจะพิลึก และไม่มีใครทำกัน แต่ตอนนี้เราอยู่ใน AEC แล้ว ประเทศไทยไปตั้งบริษัทไทยในเพื่อนบ้านมากมาย ฉะนั้นการสร้างแบรนด์ที่ดีนั้นต้องทลายกำแพงเชื้อชาติให้ได้

Harbin Beer : ประเทศจีนมีอาณาเขตที่ติดกับประเทศอื่นมากถึง 14 ประเทศ Harbin จึงจัดแคมเปญง่าย ๆ คือ จัดกิจกรรมเล่นกีฬา เล่นเกม ตรงชายแดนของจีนกับอีก 5 ประเทศ เพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ถึงแม้ไอเดียจะเรียบง่าย ใครๆก็ทำได้ แต่ด้วยการเล่าเรื่อง การตัดต่อภาพ แคมเปญนี้มีความสวยงามดั่งฉากในหนัง The Secret Life of Walter Mitty และรู้สึกอิ่มเอมใจ แม้จะฟังภาษาในคลิปไม่ออก

“เส้นแบ่งประเทศ ไม่ควรแบ่งใจของคน”

หลายครั้งที่มนุษย์มักจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อสิ่งที่ดีกว่า แต่บางทีเราก็พัฒนาสิ่งของที่มีอยู่แล้วให้ดีได้อีก ตัวอย่างจากไทยได้แก่ Absorbplate จากสสส. ที่เป็นจานกักเก็บความมันไว้ที่จาน

+MET Project คือการเปลี่ยนหมวกนิรภัยให้สวยงาม กลมกลืนกับของในบ้าน และมีประโยชน์ใช้สอยอื่นควบคู่ไปด้วย ในสถาณการณ์ปกติ หมวกนี้จะอยู่ในรูปกระถางต้นไม้ หรือโคมไฟ แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เราสามารถเดินไปหยิบหมวกมาใส่ได้เลย เป็นการแก้ปัญหาการหาหมวกไม่เจอ เพราะเก็บหมวกไว้ดีเกินไปอีกด้วย

การสะกดรอย หรือ Tracking สามารถทำได้ในหลากลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการดูข้อมูลของตัวเอง อย่าง TripAdvisor ที่สามารถขยายยอดรีวิวใน Platform ของพวกเขาอย่างมาก เกือบ 2,600 โพสต่อวัน และคำถามภาษาอังกฤษมากกว่า 85% ได้รับการตอบใน 24 ชั่วโมง

หรือในอีกมุมหนึ่ง การเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ Tracking สินค้าและบริการ ก็ช่วยสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพของบริการได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง การให้คะแนนหลังจบบริการ การรีวิว จนไปถึงการ Monitor สินค้า

Naomaohu Lake Farm : ฟาร์มแห่งนี้ให้คุณซื้อเมล่อนน้ำผึ้งตั้งแต่แรก จากนั้นคุณจะได้โค้ดกลับมาเพื่อติดตามดูว่าผลเมล่อนของคุณโตขนาดไหน ใส่ปุ๋ย รดน้ำอย่างไร

Double A : เมื่อคุณซื้อกระดาษจากแคมเปญ 1 Dream 1 Tree คุณจะได้รับโค้ดเพื่อเอาไปดูว่าต้นไม้ของปลูกที่ตำแหน่งไหนของประเทศไทย

สำหรับบริษัทใหญ่กว่าจะเบิกงบ กว่าจะทำเรื่อง โอกาสบางอย่างมันผ่านไป และไม่กลับมาแล้ว ฉะนั้นหากมีโอกาสทำอะไรเพื่อสังคม ช่วยเหลือผู้บริโภค หรือเล่นกับกระแสอะไรบางอย่าง ก็ควรระดมสมองกันให้ไว และกล้าทำมันออกมา โดยหลังจากการมาของยุคสมาร์ทโฟนเราจะเห็นการปรับตัวของแบรนด์ที่รวดเร็วขึ้น เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น

Pertamina : ด้วยจำนวนประชากร 250 ล้านคน ช่วงเทศกาลในอินโดนีเซียจะเป็นช่วงที่รถติดมากๆ บางครั้งอาจนานถึง 24 ชั่วโมง ดังนั้นประชาชนต้องไปกรอกน้ำมันใส่ขวดเก็บไว้ในรถ ทำให้เกิดการขายน้ำมันเถื่อน ขายเกินราคาอย่างมาก Pertamina ผู้ให้บริการปั๊มน้ำมันจึงทำน้ำมันบรรจุกระป๋องออกมาขาย และบริการน้ำ ขนม ฟรี ตามจุดต่างๆ ในเมือง

Tesco Lotus : ของไทยเองตอนที่เสื้อดำขาดตลาด เสื้อดำราคาแพง Tesco Lotus ใช้เวลาเพียง 1-2 วัน ประกาศว่าจะขายเสื้อดำเพิ่มมากขึ้น ในราคาที่เท่าเดิม เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ลำบาก

 

ที่มา : Trendwatching

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online