การสื่อสารการตลาด เชิงประสบการณ์นั้นมีวิธีการอย่างไร ? โดย ดร. ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ

เม้าท์กระจายสไตล์ธีรพันธ์/ดร. ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ

ในตอนแรกผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดในการทำการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ไปในภาพรวม ๆ ตลอดจนการบริหารกลยุทธ์ผ่านปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ทำการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ผ่านการสัมผัส ความรู้สึก ความคิด การกระทำ ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีไปแล้ว ส่วนในตอนจบนี้ผู้เขียนจะพูดถึงกรอบแนวคิดที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์อีกแนวคิดหนึ่ง ก็คือ การตลาดแบบสัมพันธภาพ (Relationship Marketing) ก่อนอื่นผู้เขียนขอเปรียบเทียบความแตกต่างของแนวคิดการตลาดแบบดั้งเดิมกับแนวคิดการตลาดสมัยใหม่ที่เน้นการตลาดแบบสัมพันธภาพให้ผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น ดังนี้

การตลาดแบบดั้งเดิม (Transaction Marketing) การตลาดแบบสัมพันธภาพ (Relationship Marketing)
เน้นที่การขายเป็นหลัก (Focus on Sale) เน้นที่การรักษาลูกค้าเป็นสำคัญ (Focus on Customer Retention)
มุ่งการปรับปรุงรูปแบบเฉพาะเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า (Orientation on Product Features) มุ่งปรับปรุงคุณภาพและประโยชน์ของสินค้า (Orientation on Product  Quality and Benefits)
หวังผลธุรกิจในระยะเวลาอันสั้น (Short Timescale) หวังผลธุรกิจในระยะเวลาที่ยาวกว่า (Long Timescale)
สัญญาและรับผิดชอบต่อลูกค้าในขอบเขตที่จำกัด (Limited Customer Commitment) สัญญาและรับผิดชอบสูงต่อลูกค้า (High Customer Commitment)
ไม่ค่อยเน้นการให้บริการลูกค้า ( Little  Emphasis on Customer Service) เน้นการให้บริการลูกค้า (High Customer Service)
ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการติดต่อกับลูกค้ามากนัก (Moderate Customer Contact) ให้ความสำคัญสูงกับการติดต่อกับลูกค้า (High Customer Contact)
คำว่า “คุณภาพ” ขึ้นอยู่กับการผลิตสินค้าเป็นสำคัญ (Quality is primarily a concern of production) คำว่า “คุณภาพ” ขึ้นอยู่กับรายละเอียดทุกขั้นตอนก่อนส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด (Quality is the concern of all)

การตลาดแบบสัมพันธภาพมีลักษณะที่เน้นและให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาความสัมพันธ์ในระยะเวลาที่ยาวนาน (Long-term Orientation) ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ที่ยาวนานนี้เองจะเป็นรูปแบบของความสำเร็จในการทำการตลาดแบบสัมพันธภาพ เพราะนักการตลาดมุ่งหวังที่จะศึกษาความสัมพันธ์ที่ดี และต้องการส่วนแบ่งของงบประมาณที่มากที่สุดในการจับจ่ายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Share of Customer Wallet) หรือกล่าวง่าย ๆ คือความพยายามที่เราจะดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้ามาใช้จ่ายกับสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง โดยปกติแล้วนักการตลาดมักนำลักษณะที่โดดเด่นของแนวคิดการตลาดแบบสัมพันธภาพมาเป็นแนวทางในการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

ให้คำมั่นสัญญาและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม (Commitment and Fulfillment of Promises) ความไว้วางใจและความเชื่อถือศรัทธานั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและแบรนด์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  ดังนั้นเมื่อองค์กรหรือแบรนด์ให้คำมั่นสัญญาใด ๆ กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแล้วก็ควรยึดถือและปฏิบัติตาม จึงจะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดความพึงพอใจแล้วสะสมเป็นความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในแบรนด์ ในที่สุดก็จะก่อตัวเป็นความภักดีต่อแบรนด์ต่อไป

เน้นความสำคัญไปที่ส่วนแบ่งลูกค้ามากกว่าส่วนแบ่งการตลาด (Customer Share not Market Share) การตลาดแบบสัมพันธภาพได้หันเหความสำคัญจากส่วนแบ่งการตลาดไปเป็นส่วนแบ่งลูกค้าแทน เพราะต้องการเก็บลูกค้าเดิมที่เคยมีประสบการณ์ในแบรนด์แล้วให้ย้อนกลับมาซื้อสินค้าซ้ำในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งในสายผลิตภัณฑ์เดิมและสายผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของธุรกิจ เพื่อเป็นการดึงค่าใช้จ่ายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มาอยู่กับธุรกิจของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งถ้านักการตลาดไปมุ่งให้ความสำคัญกับส่วนแบ่งการตลาดก็เท่ากับว่า เป็นการวัดผลความสำเร็จในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น  ไม่ใช่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาวอย่างส่วนแบ่งของลูกค้า อย่างที่การตลาดสมัยใหม่ต้องการ

1. การตลาดแบบสัมพันธภาพมีลักษณะที่เน้นและให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาความสัมพันธ์ในระยะเวลาที่ยาวนาน (Long-term Orientation) ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ที่ยาวนานนี้เองจะเป็นรูปแบบของความสำเร็จในการทำการตลาดแบบสัมพันธภาพ เพราะนักการตลาดมุ่งหวังที่จะศึกษาความสัมพันธ์ที่ดี และต้องการส่วนแบ่งของงบประมาณที่มากที่สุดในการจับจ่ายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Share of Customer Wallet) หรือกล่าวง่าย ๆ คือความพยายามที่เราจะดึงเงินจากกระเป๋าลูกค้ามาใช้จ่ายกับสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง

2. ให้คำมั่นสัญญาและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม (Commitment and Fulfillment of Promises) ความไว้วางใจและความเชื่อถือศรัทธานั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและแบรนด์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเมื่อองค์กรหรือแบรนด์ให้คำมั่นสัญญาใด ๆ กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแล้วก็ควรยึดถือและปฏิบัติตาม จึงจะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดความพึงพอใจแล้วสะสมเป็นความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในแบรนด์   ในที่สุดก็จะก่อตัวเป็นความภักดีต่อแบรนด์ต่อไป

3. เน้นความสำคัญไปที่ส่วนแบ่งลูกค้ามากกว่าส่วนแบ่งการตลาด (Customer Share not Market Share) การตลาดแบบสัมพันธภาพได้หันเหความสำคัญจากส่วนแบ่งการตลาดไปเป็นส่วนแบ่งลูกค้าแทน เพราะต้องการเก็บลูกค้าเดิมที่เคยมีประสบการณ์ในแบรนด์แล้วให้ย้อนกลับมาซื้อสินค้าซ้ำในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งในสายผลิตภัณฑ์เดิมและสายผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของธุรกิจ เพื่อเป็นการดึงค่าใช้จ่ายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มาอยู่กับธุรกิจของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งถ้านักการตลาดไปมุ่งให้ความสำคัญกับส่วนแบ่งการตลาดก็เท่ากับว่า เป็นการวัดผลความสำเร็จในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น  ไม่ใช่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาวอย่างส่วนแบ่งของลูกค้า อย่างที่การตลาดสมัยใหม่ต้องการ

4. ให้ความสำคัญกับคุณค่าตลอดช่วงชีวิตของลูกค้า (Customer Lifetime Value) ลูกค้าทุกคนไม่จำเป็นต้องมีคุณค่าเท่าเทียมกัน เพราะลูกค้าแต่ละคนมีการติดต่อและเกี่ยวข้องกับธุรกิจและแบรนด์ไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวไม่มีกฎตายตัว เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกัน เช่น ระยะเวลาของการเป็นลูกค้า ความถี่ในการซื้อ จำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละครั้งของการซื้อสินค้า สนับสนุนกิจกรรมของตราสินค้ามากน้อยเพียงใด เป็นต้น นั่นหมายความว่าลูกค้าแต่ละรายสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ไม่เท่ากันนั่นเอง  ลูกค้ารายใดที่มีคุณค่ามากธุรกิจก็จะให้ความสำคัญในระดับต้น ๆ ส่วนลูกค้ารายอื่น ๆ ก็จะได้รับการพิจารณาและให้ความสำคัญในลำดับถัดไป

5. ยึดหลักการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Dialogue) นักการตลาดที่ใช้แนวคิดการตลาดแบบสัมพันธภาพมักเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถโต้ตอบและติดต่อสื่อสารกลับมายังธุรกิจได้โดยง่ายและสะดวก โดยผ่านพนักงานบริการลูกค้าหรือใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ได้ การสื่อสารแบบสองทางจะช่วยให้ธุรกิจทราบถึงความต้องการอย่างแท้จริงของลูกค้า และไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณไปทำวิจัย เพื่อสอบถามความคิดเห็นของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์  นอกจากนี้ ยังสามารถปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้สอดคล้องกับความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพอีกด้วย

6. การมุ่งสนองความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคล (Customization) การสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์มุ่งให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจถึงการเรียกร้องและความต้องการของลูกค้า โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการเป็นพิเศษของลูกค้าแต่ละราย  เพราะการทำธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันเพื่อขายคนจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า “One size fits all” นั้นได้หมดยุคสมัยไปนานแล้ว

ผู้เขียนหวังว่า การสื่อสารการตลาด เชิงประสบการณ์ทั้งสองตอนจะช่วยเป็นแนวทางให้กับคุณผู้อ่านได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จากรูปแบบออนกราวด์ไปสู่ออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อตราสินค้าและธุรกิจต่อไป แล้วพบกับเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจในฉบับหน้านะครับ!

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน