ส้มตำในห้าง ปี 2564 แบรนด์ไหนสามารถครองใจขาแซ่บมากที่สุด ? (วิเคราะห์)

ส้มตำ และอาหารอีสาน ถือเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยเวลาเราอยากกินอะไรแซ่บ ๆ ทุกครั้ง

เมื่อส้มตำและอาหารอีสานมีอิทธิพลต่อความแซ่บของเรา

เราเลยเห็นร้านส้มตำ ร้านอาหารอีสานเปิดร้านตามห้างให้เราได้เลือกแซ่บตามชอบได้อยู่เสมอ

และกระแสรับประทานอาหารอีสานทำให้กลุ่มแบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ เช่น CRG ซื้อธุรกิจส้มตำนัว ZEN ซื้อธุรกิจตำมั่ว เข้ามาอยู่ในพอร์ตเพื่อเติมเต็มการแข่งขันในธุรกิจ จากการมองเห็นโอกาสการเติบโตที่น่าสนใจ ในฐานะอาหารที่คนไทยให้ความนิยมสูง

 

เมื่อเราและอาหารอีสาน อย่างส้มตำ ไก่ย่าง คอหมู ลาบ น้ำตก เป็นของคู่กัน ที่มีอยู่ประจำทุกห้าง

แล้วร้านส้มตำเชนที่เปิดกันตามห้างเขาแข่งขันกันเรื่องอะไร

เรามองว่านอกจากการแข่งขันของตลาดร้านส้มตำ ร้านอาหารอีสานที่แข่งกันในเรื่อง รสชาติ ที่ถูกปาก รสมือ ที่คงเส้นคงวา เท่ากันหรือคล้ายคลึงกันในทุก ๆ จาน ในทุก ๆ สาขา ความสะอาดและอาหารที่มีความหลากหลายให้เลือก  รวมถึงการแต่งร้านให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค

การแข่งขันของร้านอาหารส้มตำ ร้านอาหารอีสานเชน ยังแข่งขันกันเรื่องการขยายสาขาให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย เนื่องจากอาหารอีสานมีรสชาติที่ไม่แตกต่างกันมากนักในหลาย ๆ แบรนด์

ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มตัดสินใจเข้ามารับประทานอาหารอีสานในห้างอาจจะเลือกไปรับประทานแบรนด์อื่น ๆ แทน เมื่อแบรนด์ที่ต้องการไม่มี หรือเลือกที่จะจิ้มเลือกร้านที่น่าสนใจเมื่อไม่มีร้านส้มตำ อาหารอีสานในดวงใจ

 

แต่เมื่อโควิด-19 มา ธุรกิจร้านอาหารถูกผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ ในปีที่ผ่านมาร้านอาหารมีมูลค่า 404,488 ล้านบาท หดตัว 6% อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย

และร้านส้มตำ ร้านอาหารอีสานเป็นหนึ่งในนั้น

 

เราขอยกตัวอย่างร้านส้มตำ ร้านอาหารอีสานตามห้าง ว่ามีรายได้เท่าไรกัน

 

ถ้ามองไปที่ 3 ปีย้อนหลัง จะเห็นได้ว่า ร้าน ส้มตำในห้าง ร้านอาหารอีสานเชนในแต่ละแบรนด์ มีทั้งรายได้เพิ่มและลด จากการแข่งขันของตลาดร้านอาหารอีสานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไปพร้อม ๆ กับการแข่งขันกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่แย่งชิงกระเพาะและเม็ดเงินของลูกค้าในกระเป๋า

และในปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ร้านอาหารอีสานที่เรายกตัวอย่างเกือบทุกร้านอยู่ในสภาวะขาดทุน ยกเว้นไก่ย่างนิตยา และแซ่บอิลี่ ที่ยังสามารถทำกำไรอยู่

แต่ถ้ามองไปที่รายได้ นิตยาไก่ย่างถือเป็นร้านเดียวที่มีการเติบโตด้านรายได้ในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นการจัดแคมเปญโปรโมชั่น และการให้บริการแบบฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคในช่วงเวลาที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม

 

เรารวบรวมผลประกอบการแต่ละร้านที่เราอ้างถึงย้อนหลัง 3 ปี ดังนี้

 

ร้านตำมั่ว

2561    รายได้ 445 ล้านบาท                  กำไร 5 ล้านบาท

2562    รายได้ 359 ล้านบาท                  กำไร 2 ล้านบาท

2563    รายได้ 319 ล้านบาท                  ขาดทุน 8 ล้านบาท

 

นิตยา ไก่ย่าง

2561    รายได้ 316 ล้านบาท                กำไร 12 ล้านบาท

2562    รายได้ 354 ล้านบาท                กำไร 10 ล้านบาท

2563    รายได้ 360 ล้านบาท                กำไร 8 ล้านบาท

 

คำพูน

2561    รายได้ 149 ล้านบาท   กำไร 0.9 ล้านบาท

2562    รายได้ 183 ล้านบาท   กำไร 1 ล้านบาท

2563    รายได้ 99 ล้านบาท     ขาดทุน 18 ล้านบาท

 

แซ่บอีลี่

2561    89 ล้านบาท               กำไร 5 ล้านบาท

2562    122 ล้านบาท             กำไร 13 ล้านบาท

2563    117 ล้านบาท             กำไร 11 ล้านบาท

 

แสนแซ่บ

2561    รายได้ 38 ล้านบาท     กำไร 0.8 ล้านบาท

2562    รายได้ 34 ล้านบาท     กำไร 0.5 ล้านบาท

2563    รายได้ 11 ล้านบาท     ขาดทุน 2 ล้านบาท

 

 

อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์กลับมาสู่เกือบปกติ โอกาสของร้านอาหารอีสานจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เพราะส้มตำ อาหารอีสาน กับคนไทย เป็นของคู่กัน

I-

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน