สวัสดีคนหลอกลวง
เราเชื่อว่าแทบไม่มีใครไม่เคยเจอโทรศัพท์-SME จากที่มิจ(ฉาชีพ) โทรมา หรือส่งมาหลอกเราผ่านบริบทหลอกลวงประเภทต่าง ๆ
และถ้อยคำหลอกลวงของมิจฯ (ที่อาจจะมีทั้งเมคเซนส์และไม่เมคเซนส์) ก็มากจนหลายคนมองแบบขำ ๆ ที่เอามาแชร์ มาคุยกันต่อบนโลกโซเซียล หรือบางคนถึงกับซ้อมบทพูดที่จะตอบโต้มิจฯ เมื่อถูกมิจสุ่มโทรหา (แต่บางคนที่ไม่รู้เท่าทันก็ขำไม่ออกนะ)
ข้อมูลจาก Whocall พบว่าในปีที่ผ่านมา เรามี มิจฯ โทรหาและหลอกลวงเพิ่มขึ้น 270%
ส่ง SMS มาหลอกเราเพิ่มขึ้น 57.66%
และถ้อยคำลวงหลอกของมิจฯ มีคนหลงเชื่ออยู่เป็นจำนวนหนึ่ง
ข้อมูลจาก บช.สอท. หรือกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีพบว่าในปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายแจ้งความร้องเรียนเกี่ยวกับคดีโดนหลอกจากมิจฯ คอลเซ็นเตอร์ มากถึง 1,600 คดี มีมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1,000 ล้านบาท
ความเสียหายนี้ เราเชื่อว่ามากกว่านั้น เพราะยังมีผู้เสียหายอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ไปแจ้งความ
ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่เจอมิจฯ หลอกลวง
จากข้อมูลของ Whocall ยังพบว่าในประเทศต่าง ๆ มีมิจฯ ประจำการหลอกลวงด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะการหลอกผ่าน SMS ซึ่งเป็นการหลอกที่ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการหลอกมากกว่าการโทรไปหาโดยตรง และในอนาคตอาจจะกลายเป็นเครื่องมือหลักใช้หลอกลวงของมิจฯ ในประเทศต่าง ๆ
ในปีที่ผ่านมาข้อความ SMS หลอกลวงจากไทย ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฮ่องกง และบราซิล มีรวมกันมากถึง 447 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 มากกว่า 70%
ไต้หวัน เป็นประเทศที่มีการส่ง SMS จากมิจฯ ไปหลอกลวงเพิ่มขึ้นสูงสุด ที่ 190.13%
บราซิล 69.55%
ไทย 57.66%
มาเลเซีย 23.05%
เกาหลีใต้ 9.36%
ญี่ปุ่น 5.79%
ส่วนฮ่องกง ลดลง 15.65%
ถ้อยคำหลอกลวงผ่าน SMS ของมิจฯ ในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วจะแนบลิงก์พิชชิ่งหรือลิงก์ปลอม ทั้งเพิ่มเพื่อนกับบัญชีปลอมบนโซเชียลมีเดีย หลอกให้เข้าเว็บไซต์ปลอม ดาวน์โหลดแอปที่เป็นอันตราย
เพื่อจุดประสงค์หลักคือ เงินในกระเป๋าของเรา หรือข้อมูลต่าง ๆ ของเรา ที่เอามาใช้หลอกลวงคนอื่น หรือคนใกล้ตัวเราต่อ
ทั้งนี้ในแต่ละประเทศอ้างอิงตามข้อมูลของ Whocall พบว่ามีบริบทข้อความหลอกลวงที่แตกต่างกันดังนี้
ไต้หวัน
หลอกให้ลงทุนในหุ้นหรือหลอกปล่อยกู้
บราซิล
หลอกว่ามีงานให้ทำ และหลอกว่าไมล์ตั๋วเครื่องบินหมดอายุ
ไทย
หลอกปล่อยกู้
หลอกให้ดาวน์โหลดแอปอันตราย
หลอกว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีต่าง ๆ เช่น ฟอกเงิน พัสดุตกค้างในด่านศุลกากร
มาเลเซีย
หลอกเรื่อการใช้งานบัตรเครดิตที่ไม่ได้รับอนุญาต
เกาหลีใต้
หลอกว่ามีพัสดุมาส่ง
หลอกว่าเป็นเพื่อนหรือครอบครัว
หลอกให้โหลดแอปอันตราย
ญี่ปุ่น
หลอกขายตั๋วโอลิมปิก
หลอกยอดค่าบริการมือถือเกินกำหนด
หลอกนัดเจอเพื่อเดต
ฮ่องกง
หลอกว่าพัสดุตกค้างในด่านศุลกากร
หลอกแจ้งเตือนการโอนเงิน
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



