รัสเซียยังคงต้องกล้ำกลืนต่อผลของการตัดสินใจบุกรัสเซีย โดยล่าสุดกระแสต่อต้านลามมาถึงสังเวียนลูกหนังอันดับหนึ่งของโลกแล้ว
สมาคมฟุตบอลโปแลนด์ สวีเดน และสาธารณรัฐเชค ต่างไม่ขอแตะกับรัสเซีย เพื่อชี้ชะตาว่าจะได้ไปแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่กาตาร์ปลายปีนี้หรือไม่ เพราะต่างก็ไม่พอใจที่รัสเซียส่งทหารบุกเข้าไปในยูเครนและก่อสงคราม ท่ามกลางการรุมประณามของชาติตะวันตก และมาตรการคว่ำบาตรที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ปี 2002 ฟุตบอลโลกจัดที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศในเอเชียได้เป็นเจ้าภาพ มาปีนี้กลับมาจัดในเอเชียอีกครั้งโดยมีกาตาร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ
สำหรับโซนยุโรป ได้โควตาทั้งหมด 13 ทีม โดย 10 ทีมที่ได้ผ่านไปเล่นในกาตาร์แล้ว ประกอบไปด้วย เยอรมนี เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เบลเยียม โครเอเชีย สเปน เซอร์เบีย อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นทีมอีก 12 ทีมที่ได้คะแนนรองๆ ลงมาจึงต้องยังขับเคี่ยวกับเพื่อชิงตั๋ว 3 ใบสุดท้าย
ในจำนวนนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม มีรัสเซีย โปแลนด์ สวีเดน และสาธารณรัฐเชค รวมอยู่ด้วย โดย ทั้งคู่รัสเซียกับโปแลนด์ และคู่สวีเดนกับสาธารณรัฐเชค มีกำหนดเตะนัดแรกกัน 24 มีนาคมนี้ ทว่ารัสเซียก็เปิดสงครามกับยูเครน เมินการทัดทานจากชาติในยุโรป และแม้ถูกต่อต้านก็ยังคงเดินทัพต่อ
โปแลนด์ก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปที่ต่อต้านสงครามครั้งนี้ โดยได้มีการประณามรัสเซียพร้อมเป็นประเทศที่อ้าแขนรับชาวยูเครนมากมายที่หนีภัยสงคราม แต่ท่าทีต่อต้านไม่หยุดแค่นั้น
สมาคมฟุตบอลโปแลนด์ ประกาศไม่ขอเตะกับรัสเซียในเกมที่จะมีขึ้น 24 มีนาคมนี้ ส่วนสวีเดนกับสาธารณรัฐเชค ที่มีคิวเตะวันเดียวกัน และทีมใดทีมหนึ่งอาจต้องเจอกับรัสเซียถ้ารัสเซียชนะโปแลนด์ ก็ประกาศไม่ขอเตะกับรัสเซียเช่นกัน
นอกจากนี้ทั้ง 3 ทีมยังเห็นว่า การลงโทษรัสเซียของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ที่ก่อสงคราม ด้วยการห้ามไม่ให้ทีมรัสเซียร้องเพลงชาติก่อนแข่ง ไม่มีธงชาติติดที่ชุดแข่ง และแข่งในสนามเป็นกลางนั้นไม่เพียงพอ
ด้าน FIFA กล่าวเพียงว่าจะพยายามหาทางออก ผ่านการหาหรือกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และสหพันธ์สมาคมฟุตบอลยุโรป (UEFA) และหน่วยงานทางกีฬาอื่นๆ แต่ยังสงวนท่าทีว่าจะลงโทษรัสเซียเพิ่มเติมอีกหรือไม่
สำหรับรัสเซีย (นับรวมสมัยยังเป็นอดีตสหภาพโซเวียต) ถือเป็นอีกทีมในยุโรปที่ทำผลงานได้ค่อนข้างดีในฟุตบอลโลก โดยเมื่อปี 1966 เคยคว้าที่ 4 มาแล้ว ส่วนฟุตบอลโลกครั้งที่แล้วเมื่อปี 2018 ก็เป็นเจ้าภาพและคว้าที่ 8 มาได้
นอกจากนี้รัสเซียยังมีส่วนกับวงการฟุตบอลยุโรปอยู่พอสมควร เพราะมหาเศรษฐีรัสเซียหลายคนที่เป็นเจ้าของหรือมีหุ้นอยู่ในสโมสรฟุตบอลใหญ่ๆ ของยุโรปอีกด้วย
แต่มหาเศรษฐีรัสเซียเหล่านี้ก็มีสายสัมพันธ์กับประธานาธิบดี Vladimir Putin รัฐบาลยุโรป และสหรัฐ จึงเริ่มใช้มาตรการยึดทรัพย์ หรือมีแนวโน้มจะใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงในรัฐบาลรัสเซียและตัดกำลังสนับสนุนทางการเงินต่อสงครามในยูเครน
หนึ่งในมหาเศรษฐีรัสเซียที่คอบอลรู้จักกันมากสุดและกำลังตกเป็นเป้าการยึดทรัพย์ คือ Roman Abramovich เจ้าของสโมสร Chelsea โดยเขาเพิ่งถ่ายโอนการดูแลสโมสรให้ Trustee จึงมีการคาดกันว่าเป็นทางหนีทีไล่ก่อนจะถูกรัฐบาลอังกฤษยึดทรัพย์นั่นเอง / aljazeera, theguardian, wikipedia , ap, japantoday
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



