เงินเฟ้อ พุ่งอย่างต่อเนื่อง บริษัทรับมืออย่างไรดี ? โดย รวิศ หาญอุตสาหะ

Marketing Everything/รวิศ หาญอุตสาหะ

.

“เงินเฟ้อพุ่งในรอบหลายสิบปี” 
“Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่”
“โลกเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
.
ในช่วงนี้เราคงจะได้เห็นพาดหัวข่าวทำนองนี้กันบ่อย ๆ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เรียกได้ว่าหนักสุดในรอบหลายสิบปีเลยก็ว่าได้ ผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้กันอยู่แล้วว่ามันเกิดจากอะไรและสร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง
.
แน่นอนว่าการทำให้ภาวะเงินเฟ้อลดลงนั้นเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้ก็คือ “การเตรียมรับมือ”

.
ในบทความนี้ ผมได้สรุป 7 เคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจรับมือและฝ่าวิกฤต เงินเฟ้อ พุ่งสูงและลากยาวแบบนี้ไปได้ จากบทความเรื่อง “How Companies Can Prepare for a Long Run of High Inflation” ของ Havard Business Review มาฝากกันครับ

.
1. เข้าใจ Value Chain ของบริษัททั้งหมด
การติดตาม Suppliers ที่เกี่ยวข้องด้วยโดยตรงอาจไม่เพียงพอกับสถานการณ์ในตอนนี้แล้ว เราจำเป็นต้องรู้และติดตามทุกกระบวนการของ Value Chain อย่างใกล้ชิด และประเมินความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อจะได้รู้ว่าจุดไหนเป็น “จุดเสี่ยงอันตราย” ของธุรกิจ เพราะโลกธุรกิจมีแต่ความไม่แน่นอน แถมยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ อีกด้วย จึงยากที่จะคาดเดาอนาคต
.
เช่น การประกาศล็อกดาวน์ของจีน ไม่ได้สร้างความเสียหายกับประชาชนในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก จนทำให้เกิด “Supply Chain Shock” หลายต่อหลายครั้ง
.
.
2. เข้าใจ Capital Structure
บริษัทหนึ่งบริษัทมีแหล่งเงินทุนจากหลายแห่ง รวมถึงมีสถานะเป็นทั้ง “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” จึงควรทำความเข้าใจและติดตาม “Capital Structure” หรือ “แหล่งเงินทุนทั้งหมดของบริษัท” อย่างละเอียด เพื่อทราบถึงที่มาที่ไปทั้งหมด มีการวางแผนการเงินที่ดีขึ้น และประเมินความเสี่ยงได้ชัดเจน
.
และอย่าลืมตรวจสอบว่าลูกหนี้รายไหนยังไม่จ่ายเงิน เพราะหากปล่อยไว้อาจสร้างภาระต่อธุรกิจ จนทำให้ธุรกิจ “ช็อต” ในที่สุด
.
.
3. ติดตามสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์เสมอ
อย่างที่รู้กันว่าตอนนี้มีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ “Decoupling” ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
.
เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวเร่งที่ทำให้ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกเปลี่ยนไปอีกด้วย แถมยังกระทบต่อ Supply Chain ทั้งฝั่งเราและลูกค้าอีกด้วย โดยสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ตรรกะแบบเดิมที่เคยใช้หรือกลยุทธ์ที่เคยดีมาตลอด อาจใช้ไม่ได้ในตอนนี้และอนาคตแล้ว ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจและติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของโลกเสมอ
.
.
4. ติดตาม FED และธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
ทุกครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) หรือธนาคารกลางแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายต่าง ๆ ออกมาก็มักจะมีรายงานการประชุม (Meeting Minutes) ด้วยเสมอ ซึ่งช่วยให้ทราบถึงแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สามารถวางแผนป้องกัน และเตรียมรับมือได้ทันท่วงที
.
แต่คนส่วนใหญ่จะสนใจแค่ประกาศและมองข้ามรายงานการประชุม ทำให้ตกใจและตั้งตัวไม่ถูกทุกครั้ง เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือธนาคารกลางแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายออกมา
.
.
5. สื่อสารกับพนักงานเพื่อรักษาสภาพจิตใจ
ในช่วงวิกฤตแบบนี้เราจำเป็นต้องใส่ใจสภาพจิตใจของพนักงานเป็นอย่างมาก เพราะพนักงานถือเป็น “ทรัพยากรสำคัญ” ของบริษัทที่ช่วยขับเคลื่อนทุกอย่างไปข้างหน้าได้ ดังนั้นถ้ามีเรื่องอะไรที่พอยืดหยุ่นได้ และมันไม่เหนือบ่ากว่าแรงก็ควรทำ ไม่เช่นนั้นเราอาจเสียบุคลากรที่มีประสิทธิภาพไปอย่างน่าเสียดาย รวมถึงยังเปลืองทั้งทรัพยากรและเวลาในการเทรนด์พนักงานใหม่อีกด้วย
.
.
6. สำรวจกลยุทธ์ทางธุรกิจที่วางไว้
“การเติบโตในระยะยาว” คือสิ่งที่เราเชื่อและเน้นย้ำกันอยู่เสมอ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจต้องบอกว่า “การอยู่รอดในระยะสั้น” สำคัญกว่า เราจึงต้องมาพิจารณาอีกครั้งว่ากลยุทธ์และแผนต่าง ๆ ที่วางไว้นั้นเหมาะสมกับปัจจุบันหรือไม่
.
เพราะโลกและธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความท้าทายใหม่ ๆ ที่คาดเดายากเต็มไปหมด ดังนั้นลองตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ครับว่า ธุรกิจควรโฟกัสตรงไหน อะไรคือจุดที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดและมีแนวโน้มดีในอนาคต
.
.
7. เลือกตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างระมัดระวัง
ในช่วงเวลาแบบนี้ การลดค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก แต่ไม่ได้หมายความว่านึกอยากจะลดก็ลดได้เลย เพราะหากตัดสินใจพลาดไปเล็กน้อยอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ โดยเราไม่ควรลดค่าใช้จ่ายทุกอย่างเท่า ๆ กัน เพราะควรพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญเป็นกรณีไปมากกว่า เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
.
.
จากเคล็ดลับดี ๆ ทั้ง 7 ข้อนี้เราจะเห็นได้ว่าหัวใจสำคัญที่จะพาธุรกิจฝ่าวิกฤตไปได้ก็คือ การทำความเข้าใจสถานการณ์ การติดตามข่าวสม่ำเสมอ การมีกลยุทธ์และแผนที่ยืดหยุ่น รวมถึงการมีบุคลากรที่มีคุณภาพที่คอยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ แก้ปัญหา และผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน
.
และอย่ายึดติดกับอดีตมากเกินไป ควรโฟกัสกับสิ่งตรงหน้า ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้
.
.
อ้างอิง: https://bit.ly/3PXf7YY

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online