1.ปัจจุบัน Wearable Device แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ Basic Wearable และ Smart Wearable โดย Basic Wearable จะเป็นดีไวซ์ที่มีลักษณะเป็นเพียงอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ไม่สามารถลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติ่มได้ และต้องทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่ออ่านค่าการทำงาน เช่น Fitness Band มีระดับราคาเฉลี่ยหลักพันบาทเท่านั้น ส่วนSmart Wearable คือดีไวซ์ที่สามารถลงแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ และสามารถทำงานได้ตัวเอง เช่น Apple Watch, Google Glass เป็นต้น แต่ปัญหาคือ Smart Wearable ยังคงมีราคาแพง

2.ปีนี้เป็นปีที่Smart Wearable สร้างกระแสในตลาดโลกเป็นอย่างมาก จากการเปิดตัวของ Apple Watch วัดได้จากยอดจองทั่วโลกที่สูง และการใช้งานที่ง่าย สามารถเชื่อมต่อกับ iPhone ได้อย่างรวดเร็ว และ IDC เชื่อว่า Apple Watch จะกลายเป็นดีไวซ์ที่ปลุกตลาด Wearable Device ได้อย่างรวดเร็ว เหมือนที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับ iPhone และ iPad

3. Wearable Device เป็นดีไวซ์ที่ก้าวผ่านจาก Gadget สู่ความเป็น Accessory ชิ้นหนึ่งในร่างกาย ซึ่งแบรนด์ต้องเรียนรู้ทั้งเทคโนโลยีและแฟชั่น เพื่อต่อยอดจากลูกค้าปัจจุบัน ซึ่งเป็น ”แฟน” ของ “แบรนด์” ที่นิยมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นลูกค้ากลุ่มอื่นๆ เพิ่มขึ้น

4.ปัจจุบันแบรนด์กำลังเรียนรู้ไปพร้อมกับคอนซูเมอร์ในการนำ Wearable Device ไปต่อยอดกับฟีเจอร์อื่นๆ เพื่อการใช้งานที่หลากหลายและอำนวยความสะดวกให้ชีวิตผู้บริโภคสะดวกสบายขึ้น เช่นการใช้ Google Glass ดูหนัง เล่นเกม หรือ Apple Watch เป็นประเป๋าเงินสดจ่ายเงิน หรือแม้แต่นำBasic Wearable ในรูปแบบ Wristband ใช้เป็นคีย์การ์ด และอื่นๆ เป็นต้น

  1. ผู้บริโภคเริ่มรู้จัก Wearable Deviceมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจว่าจะนำไปใช้งานในรูปแบบไหนได้บ้าง และWearable Device ในตลาดยังไม่มีความหลากหลายมากพอ จนผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะ “รอ” ดูเทคโนโลยีให้พัฒนามากกว่านี้ก่อน หรือไม่ก็ทดลองใช้ Basic Wearable อย่าง Fitness Band ก่อน แต่ปัญหาคือ ผู้บริโภคจะรู้สึกเบื่อที่จะใช้งาน Basic Wearable เพราะมันไม่สามารใช้งานได้หลากหลายเท่า Smart Wearable
  2. IDC คาดการณ์ว่าตลาดWearable Device จะมีรูปแบบการเติบโตคล้ายกับสมาร์ทโฟนในอดีต ที่ช่วงแรกอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากนักในช่วง 3 ปีแรก ก่อนที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งตลาดนี้จะเติบโตเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับเวนเดอร์พัฒนาซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นมาตอบโจทย์การใช้งาน

7.ตลาดWearable Device ไม่สามารถเข้ามาทดแทนสมาร์ทโฟนได้ ถึงแม้ว่า Smart Wearable จะสามารถใช้งานเป็นโทรศัพท์ และลงแอพพลิชั่นต่างๆ ได้ เพราะเข้าจำกัดต่างๆ เช่นหน้าจอที่เล็กของ Smart Watch หรือ Smart Glass ที่อาจสร้างปัญหาในส่วมใส่ทั้งวันเป็นต้น

  1. ในปียังคงมี Wearable Device เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยไม่มากนัก มีเพียง Sony Samsung ที่เข้ามาทำตลาดในกลุ่ม Smart Wearable และ Acer กับ Fitness band ต่างๆ ที่ทำตลาดในหมวด Basic ซึ่งเชื่อว่า ภายใน 3-5 ปี ตลาดWearable Device จะมีเพียง 10 ล้านเครื่องเท่านั้น

9.ตลาดWearable Device จะเข้าถึงระดับแมสได้จะต้องมีราคาใกล้เคียงกับ Accessory เดิมที่ผู้บริโภคใช้อยู่ และถ้าเป็น Smart Wearable ต้องอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 7,000 บาท

Wearable Device จากภาพยนตร์สู่การใช้งานจริง

Basic

-ธุรกิจโรงพยาบาล เตือนหมอด้วยริชแบนด์ให้ล้างมือก่อนและหลักรักษาเพื่ออนามัย

-ธุรกิจประกัน วัดเบี้ยประกันของผู้เอาประกันจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันทั้ง กิน นอน และออกกำลังกาย

-ธุรกิจกีฬา เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำเสนอสินค้าเฉพาะบุคคล เช่น เสนอสินค้าเกี่ยวกับการวิ่งให้กับผู้ที่ชอบวิ่งออกกำลังกายเป็นต้น

-แบรนด์สินค้า ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

-องค์กร ดูแลสุขภาพพนักงาน Track การทำงานของพนักงาน ใช้แทนการตอกบัตร และแทนคีย์การ์ด เป็นต้น

Advance (เกิดขึ้นในอนาคตในกรณีที่มีแอพพลิเคชั่นมารองรับ)

-ใช้ Capture ข้อมูลต่างๆ เช่นสวมSmart Glass กระพริบตาเพื่อบันทึกภาพ

-ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาคปฏิบัติโดยครูผู้ฝึกไม่ต้องไม่ต้องอยู่สถานที่เดียวกันแต่เห็นภาพเดียวกันด้วยการใช้Smart Glass

-เก็บข้อมูลผู้ป่วย ดูข้อมูลการรักษาและสื่อสารกับหมอ ระหว่างผู้ป่วยเดินทางมาโรงพยาบาล

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online