Membership ได้ผลแค่ไหน ? อีกหนึ่งความท้าทายของแบรนด์

Loyalty Program ผ่าน Membership ในประเทศไทยยังคงอยู่ในขึ้นเบสิก แบรนด์ยังคงให้ความสำคัญกับการสะสมแต้ม มอบส่วนลด และของรางวัล แต่ยังไม่ไปถึงขั้นสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ได้มากกว่านั้น

ผู้บริโภคจึงมอง Loyalty Program และ Membership ของแต่ละแบรนด์แทบจะไม่มีความแตกต่างกัน

ในผลวิจัย Future Loyalty 2022 ในประเทศไทยของวันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อ Loyalty Program ของแบรนด์ต่าง ๆ

พบว่าในวันนี้ผู้บริโภคมองคำว่า Loyalty Program ยังคงหลากหลายและยังสับสนว่าคืออะไร

เนื่องจาก 27% ของกลุ่มตัวอย่างมอง Loyalty Program คือการสะสมพอยต์เพื่อ Redeem Rewards

23% เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้บริโภคกลับไปซื้อสินค้าและบริการซ้ำ

20% เป็นโปรแกรมที่มีการสะสมพอยต์ ส่วนลด และผลประโยชน์อื่น ๆ

7% เป็นโปรแกรมที่มีเป้าหมายเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมของลูกค้า

มากถึง 25% ไม่แน่ใจว่า Loyalty Program คืออะไร

เมื่อให้คำจำกัดความคำว่า Membership ใน Loyalty Program ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมองว่าเป็นโปรแกรมที่ให้เฉพาะ Function Benefit เป็นหลัก

81% มองว่าการเป็น Membership คือการสะสมพอยต์ แลกของรางวัล

66% การเป็น Membership จะได้ซื้อสินค้าและบริการในราคาพิเศษ

56% ได้รับโปรโมชั่นอื่นๆ จากแบรนด์เพิ่มเติม

52% ได้รับสิทธิพิเศษ

15% ลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าที่ต้องการ

และมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มองเห็นถึง Emotional Benefit

22% มองว่าทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

21% เติมเต็มไลฟ์สไตล์

20% ทำให้รู้สึกเป็นคนสำคัญ

18% ทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น

9% ทำให้รู้สึกเหนือกว่า

 

นี่คือภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มองถึง Loyalty Program ผ่าน Membership

ถ้าเจาะลึกลงไปของผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุจากการสำรวจพบว่า ในแต่ละช่วงอายุให้ความสำคัญด้าน Benefit ทั้ง Function และ Emotion ที่แตกต่างกันไป

ด้าน Function

สะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล

16-24 ปี            70%

25-34 ปี           84%

35-44 ปี           81%

45-54 ปี           82%

55 ปีขึ้นไป         86%

 

สามารถซื้อสินค้าหรือบริการในราคาพิเศษ

16-24 ปี           61%

25-34 ปี           59%

35-44 ปี           70%

45-54 ปี           76%

55 ปีขึ้นไป         73%

 

ได้รับโปรโมชั่นที่มากกว่าไม่มีสมาชิก

16-24 ปี           51%

25-34 ปี           51%

35-44 ปี           58%

45-54 ปี           64%

55 ปีขึ้นไป         65%

 

ได้รับสิทธิพิเศษ และผลประโยชน์ที่พิเศษมากขึ้น

16-24 ปี           52%

25-34 ปี           47%

35-44 ปี           53%

45-54 ปี           58%

55 ปีขึ้นไป         57%

 

ลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้าที่ต้องการ

16-24 ปี           10%

25-34 ปี           11%

35-44 ปี           15%

45-54 ปี           22%

55 ปีขึ้นไป         30%

 

ด้าน Emotional

ทำให้รู้สึกเป็นคนสำคัญ

16-24 ปี           18%

25-34 ปี           15%

35-44 ปี           22%

45-54 ปี           26%

55 ปีขึ้นไป        16%

 

ทำให้รู้สึกเหนือกว่า

16-24 ปี           9%

25-34 ปี           7%

35-44 ปี           9%

45-54 ปี           10%

55 ปีขึ้นไป         5%

 

ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

16-24 ปี           18%

25-34 ปี           16%

35-44 ปี           21%

45-54 ปี           31%

55 ปีขึ้นไป         27%

 

ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ที่เป็นรางวัลในการเป็นลูกค้า

16-24 ปี           12%

25-34 ปี           14%

35-44 ปี           24%

45-54 ปี           30%

55 ปีขึ้นไป         30%

 

รู้สึกใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์

16-24 ปี           14%

25-34 ปี           15%

35-44 ปี           16%

45-54 ปี           25%

55 ปีขึ้นไป         27%

 

ถ้ามองลึกลงไปในแต่ละ Category กับการเข้ามาเป็น Membership สู่ Loyalty Program ของแบรนด์ พบว่าแต่ละอุตสาหกรรมมีความถี่ในการใช้ Membership ที่ Active แตกต่างกันไป

โดยไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อมี Membership ที่ Active มากที่สุดถึง 97%

Membership ที่ Active เป็นคนกรุงเทพและต่างจังหวัดในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

ส่วนยานยนต์ Active น้อยที่สุดคือ 38%

และคนกรุงเทพกลับ Active น้อยกว่าต่างจังหวัด (ดูตารางทั้งหมดได้ที่….

ในผลวิจัยได้ศึกษาถึงแรงผลักดันให้สมัครเป็น Membership พบว่า

71% สมัครเพราะส่วนลด

65% สมัครฟรี

60% สมัครง่าย

50% สมาชิกไม่มีวันหมดอายุ

49% Point ที่สะสมแลก และของรางวัลไม่มีหมดอายุ

45% ได้ Offer Benefit

44% ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าส่วนลด

42% ใช้ได้กับหลากหลายแบรนด์ หรือร้านค้า

41% และรับของรางวัลต่าง ๆ

34% ได้รับของขวัญ หรือของพรีเมียมสำหรับการเป็นสมาชิก

24% ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าใหม่ก่อนใคร

18% กิจกรรมพิเศษสำหรับสมาชิกเท่านั้น

 

และแยกย่อยไปยังแต่ละ Category แรงผลักดันในการสมัครสมาชิกมีความแตกต่างกันไป

เช่น

กลุ่ม QSR Quick Service Restaurant 58% มองว่าสมัครสมาชิกเพราะต้องการสิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่มากกว่าส่วนลด

56% ของกลุ่มสินค้าเพื่อความงาม จะสมัครสมาชิกถ้าได้รับการเสนอสิทธิพิเศษบ่อย ๆ

59% ในกลุ่มดีพาร์ตเมนต์สโตร์อยากสมัครเป็นสมาชิกถ้าสามารถใช้ได้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่หลากหลายจากการซื้อสินค้าในดีพาร์ตเมนต์สโตร์

การสมัครเป็นสมาชิกเพื่อสะสมพอยต์ Redeem แลกของ ที่ผู้บริโภคต้องการ Redeem ประกอบด้วย

สินค้าที่ใช้ในบ้าน และ Groceries 50%

อาหารและเครื่องดื่ม 42%

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 34%

บัตรเติมน้ำมัน 32%

คูปองร้านอาหาร 24%

แม้การสะสมพอยต์แลกของรางวัลจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่แบรนด์นำเสนอกับสมาชิก แต่ถ้ามองไปยังผู้บริโภคในแต่ละช่วงอายุยังมีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งแบรนด์สามารถนำมาปรับใช้กับการมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับ Membership แต่ละช่วงวัยได้

 

อายุ 16-24 ปี

-ส่วนลด และรีวอร์ด

-สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลตามไลฟ์สไตล์

 

อายุ 16-24 ปี

-ส่วนลด

-ความหลากหลายของสินค้าและบริการแลกรับ

 

อายุ 25-44 ปี

-ส่วนลด

-สิทธิประโยชน์และรางวัลใหม่ ๆ

-สิทธิพิเศษเหนือใคร

 

อายุ 45 ปีขึ้นไป

-ส่วนลด

-สิทธิประโยชน์และรางวัลใหม่ๆ

-ความหลากหลายของสินค้าและบริการที่แลกรับ

-เอกสิทธิ์ส่วนบุคคล

 

อย่างไรก็ดี การทำ Loyalty Program ผ่าน Membership ข้อมูลจากผลวิจัยนี้ยังยังเอื้อประโยชน์ให้กับแบรนด์ในด้านต่าง ๆ เช่น

54% ซื้อสินค้า หรือบริการในความถี่ที่มากขึ้นและเม็ดเงินที่สูงขึ้นในแต่ละครั้ง

41% ซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เป็นสมาชิกมากกว่าแบรนด์อื่น

ในแต่ละ Category เปอร์เซ็นต์ของสัดส่วนของลูกค้า สมาชิก และ Active Member ที่เข้ามาใช้บริการมีแตกต่างกันไป กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อยังคงเป็นกลุ่มที่มีช่องว่างระหว่างฐานสมาชิกและ Active Member น้อยที่สุด

ส่วน QSR, ยานยนต์, สถานีบริการน้ำมัน, ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ และธุรกิจความงาม จะมีช่องว่างที่ค่อนข้างห่าง

วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจแต่ละประเภทอาจมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้ความสำเร็จในการสร้างฐานสมาชิกและการใช้สิทธิ์ของสมาชิกมีความแตกต่างกัน

แต่แบรนด์ยังสามารถนำความสำเร็จหรือบทเรียนจากธุรกิจประเภทอื่น ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจของตนเองได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกหรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค เช่น การสะสมคะแนนแบบเรียลไทม์, ความง่ายในการตรวจสอบของรางวัลที่สามารถแลกได้, การสร้างประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX) และอินเทอร์เฟสผู้ใช้งาน (UI) เป็นต้น

และแบรนด์ควรออกแบบประสบการณ์ลอยัลตี้โปรแกรมที่ราบรื่นไร้รอยต่อ ซึ่งจะช่วยลดความติดขัดในการช้อปปิ้งของสมาชิก และยังช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ลอยัลตี้โปรแกรมที่แบ่งกลุ่มลูกค้าจะสร้างโอกาสในการกระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้าได้มากขึ้น

เช่น การนำเสนอสิทธิประโยชน์และรางวัลตอบแทนใหม่ ๆ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ากลุ่มอายุ 16-24 ปีอย่างสม่ำเสมอ

การนำเสนอวิธีการต่าง ๆ ให้ลูกค้าวัย 50 ปีขึ้นไปสามารถเก็บสะสมคะแนนได้มากขึ้น

นอกจากนี้ แบรนด์ยังควรเสาะหาแนวทางที่จะให้มากกว่าสิทธิประโยชน์ตามรายการธุรกรรมของลูกค้า เช่น คะแนนสะสมและส่วนลดซึ่งเป็นเพียงประสบการณ์พื้นฐานทั่ว ๆ ไปของลอยัลตี้โปรแกรม โดยหันไปมุ่งเน้นการมอบคุณค่าทางจิตใจมากยิ่งขึ้น เช่น ความพิเศษแบบเอ็กซ์คลูซีฟ การแสดงความเห็นคุณค่าในรูปแบบต่าง ๆ และสถานะพิเศษสมาชิก เป็นต้น

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน