เทรนด์โฆษณา 2023 ทิศทางไปทางไหน เรื่องใหญ่ที่แบรนด์ต้องมอง
มายด์แชร์ คาดการณ์ว่ามูลค่าโฆษณาปีนี้ 124,362 ล้านบาท เติบโต 5% จากปีที่ผ่านมา
การเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในปีนี้เป็นการเติบโตน้อยกว่าปี 2022 ที่มีการเติบโตถึง 9% ด้วยมูลค่า 118,414.6 ล้านบาท
พิทักษ์ อินทรทูต กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) ให้เหตุผลว่ามาจากกำลังการซื้อผู้บริโภคที่ยังมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่แบรนด์มีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ และแบรนด์บางแบรนด์ใช้วิธีลดต้นทุนด้วยการลดงบโฆษณาลง แต่ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ทุ่มงบโฆษณาเพิ่มเพื่อสร้างตลาดต่อไป อย่างเช่นสินค้าประเภท High Involvement Product ที่มีมูลค่าสูง อย่างรถยนต์ หรือสินค้า FMCG (Fast Moving Consumer Goods) เป็นต้น
ภายใต้งบโฆษณาที่เติบโต 5% พิทักษ์ ฉายภาพความน่าสนใจของเทรนด์ผู้บริโภค และเทรนด์การใช้สื่อของแบรนด์ที่ตอบโจทย์โลกธุรกิจ 2023 ที่เราขอนำเสนอให้เห็นภาพเป็นดังนี้
1.คนไทยมีความเป็น FOMO สูง สื่อออฟไลน์จึงยังมีความน่าสนใจ
จากนิสัยคนไทยที่กลัวตกกระแส และพูดคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง หรือมีความเป็น FOMO (Fear Of Missing Out) สูง
ทำให้เรื่องราวซีรีส์ และคอนเทนต์ต่างๆ ที่ถูกพูดถึงในสังคมได้กลายมาเป็นตัวขับเคลื่อนให้ Connected TV, Streaming, Over the Top มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ
การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งมาจากการแข่งขันของแพลตฟอร์มที่นำ Exclusive Content เข้ามาดึงดูดเวลาผู้บริโภคจากคู่แข่ง
และในปัจจุบันการโฆษณาผ่าน Connected TV เช่น AIS Play, True ID สามารถทำโฆษณาเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารได้ ซึ่งแตกต่างจากสื่อทีวีเดิมที่ลงโฆษณาเข้าถึงผู้ชมทุกคน
เหตุผลที่พิทักษ์ จัด Connected TV และแพลตฟอร์มในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เป็นสื่อออฟไลน์ มาจากหน้าที่ของสื่อเหล่านี้มีความหลายคลึงกับสื่อทีวี เนื่องจากเป็นสื่อที่ทำหน้าที่สื่อสารในรูปแบบ One Way Communication สร้าง Awareness ใน Message ที่แบรนด์ต้องการสื่อเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ Interactive ในรูปแบบอื่นๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากสื่อดิจิทัล ที่สามารถทำหน้าที่ Interactive ได้
2.TV ไม่ได้ลดลงไปเหมือนที่ทุกคนกลัว จากการสร้าง Awareness
ในปีนี้มายด์แชร์คาดการณ์ว่าสื่อทีวีจะมีมูลค่า 61,560 ล้านบาท ลดลงเพียง 1.4% เป็นการลดลงที่น้อยกว่าปี 2022 ที่ลดลง 1.7%
และเชื่อว่าสื่อทีวีจะไม่ลดลงอย่างที่ลดลงเหมือนทุกคนกลัว
โดยเฉพาะในปีนี้ที่สื่อทีวีถูกแบรนด์นำมาเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการสร้าง Awareness เพื่อทำควบคู่ไปกับการหา Conversation ของผู้บริโภค
เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แบรนด์เน้นในการหา Conversation ของกลุ่มลูกค้าในโลกออนไลน์ เพื่อปิดยอดขาย
แต่ในวันนี้แบรนด์เริ่มพบว่าการหาเพียง Conversation ไม่สามารถขยายโอกาสทางการเติบโต เนื่องจากการหา Conversation จะได้เพียงลูกค้ากลุ่มเดิมๆ ไม่สามารถขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่อาจจะไม่เคยพูดถึงแบรนด์ได้
และมองว่าการสร้าง Awareness สามารถเข้าไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ สร้างการจดจำแบรนด์ และ Benefit ในสินค้าและบริการของแบรนด์ให้อยู่ในใจลูกค้าได้
เมื่อลูกค้าต้องการสินค้าที่มี Benefit ตอบโจทย์ความต้องการจะคิดถึงแบรนด์ที่ตอกย้ำ Awareness ในใจลูกค้าอยู่เสมอแทนสินค้าอื่นๆ หรือแบรนด์คู่แข่ง
- 3. สื่อนอกบ้านกลับมาอีกครั้งบนการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ
ในวันนี้โอกาสของสื่อนอกบ้านกลับมา จากผู้บริโภคออกมาชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ประกอบกับการเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่ช่วยสร้างอายบอลให้กับสื่อเหล่านี้
จากข้อมูลของมายด์แชร์คาดการณ์ว่าในปีนี้ สื่อนอกบ้านในกลุ่ม Outdoor มีมูลค่า 10,022 ล้านบาท เติบโต 27.5% จากปีที่ผ่านมา
สื่อ Transit มูลค่า 8,255 ล้านบาท เติบโต 29.1%
สื่อ Cinema มูลค่า 9,133 ล้านบาท เติบโต 18.5%
และสื่อ In-Store มูลค่า 1,265 ล้านบาท เติบโต 40.2%
การเติบโตของสื่อนอกบ้านส่วนหนึ่งมาจากแบรนด์เริ่มกลับมาทำตลาด และต้องการสร้างอิมแพคให้เกิดขึ้นกับกับการสื่อสาร ซึ่งสื่ออย่าง Outdoor มีการพัฒนารูปแบบที่สามารถสร้างอิมแพคให้มากขึ้น อย่างเช่นสื่อหน้า Central World ที่มีรูปแบบจอขนาดใหญ่และมีความพาโนราม่าสูง
ประกอบกับสื่อนอกบ้านมีพัฒนาการสื่อสารสู่รูปแบบ Programmatic Out of Home ที่นำเทคโนโลยีมาประมวลผลให้สามารเลือกสถานที่ เวลาในการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดที่สามารถสร้าง ROI หรือ Return on Investment ในการสื่อสารได้มากขึ้น
4.Shot VDO ดูสั้นแต่เพลิน เกิด Attention Economy
ยุคแห่งการหา Attention Economy ผ่าน Shot VDO จากเทรนด์ของผู้บริโภคที่มุ่งสู่การดูคอนเทนต์วิดีโอสั้นๆ เพราะมองว่าใช้เวลาดูแต่ละคลิปไม่นาน แต่ยังคงใช้เวลาดูคอนเทนต์นานเหมือนเดิม
จากเทรนด์นี้ทำให้เราเห็นการเติบโตของ TikTok การพัฒนาฟีเจอร์ Shot VDO ของ Facebook Shot, IG Reels, YouTube Shot ดึงให้ผู้บริโภคอยู่ในแพลตฟอร์ม ที่ดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มากที่สุด
และจะเห็นบทบาทของแบรนด์ในการใช้วิดีโอสั้นๆ ในการสื่อสารเพื่อสร้างประโยชน์กับแบรนด์ให้มากขึ้นตามมา
5.Mart ทำให้แบรนด์สนใจ Super App
จะเห็นได้ว่า App ต่างๆ วางตัวเองเป็นซูเปอร์แอปที่รวมบริการหลากหลาย และข้อมูลจากมายด์แชร์พบว่า การที่ซูเปอร์แอปเปิดตัวฟีเจอร์ Mart บริการซื้อของเป็นหนึ่งในช่องทางที่ดึงดูดแบรนด์ให้เข้ามาโฆษณายังซูเปอร์แอป และสร้างรายได้จากค่า GP เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่รวดเร็วกว่าการซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และอีมาร์เก็ตเพลส
6.Search จะอยู่ทุกช่องทาง และ Omni Channel คือช่องทางที่รีเทลและแบรนด์ให้ความสำคัญ
ผู้บริโภคใช้ Social Search และอื่นๆ ค้นหาข้อมูล หรือสินค้าที่ต้องการมากขึ้น เช่นต้องการหาข้อมูลในโซเชียลมีเดีย และ อีมาร์เก็ตเพลส ที่สนใจโดยตรง เพื่อค้นหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการ และอาจจะมาประกอบกันเพื่อตัดสินใจ
เทรนด์โฆษณา นี้ทำให้แบรนด์ต้องหันมาให้ความสนใจทำ SEO ในทุกช่องทางที่ผู้บริโภคค้นหา
นอกจากนี้ Omni-Channel ยังเป็นช่องทางที่รีเทลใช้เชื่อมโยงประสบการณ์การ สร้างความสะดวกในการซื้อกับผู้บริโภค และมีการพัฒนาช่องทางการขายสู่โซเชียลคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ อีกด้วย
7.แบรนด์จ่ายเงินเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แสดงความจริงใจ
คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และแสดงความจริงใจมากขึ้น การเติบโตของธุรกิจจึงต้องอย่กับการเติบโตบน Social Responsibility แล้วต้องมีความจริงใจที่ทำจริง
เช่นในต่างประเทศโดฟมีการทำแอปพลิเคชั่นตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองเพื่อให้บริการกับผู้หญิงเป็นต้น
8.การเติบโตของ Real Influencer
แบรนด์ตระหนักว่าการที่จ่ายเงินเพื่อจ้างให้ Influencer ให้พูดถึงสินค้า ผู้บริโภคมองว่าไม่มีความจริงใจ และให้ความสำคัญกับ Real Influencer ที่เป็นผู้บริโภคทั่วไปในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
อย่างไรก็ดีในปีนี้มายด์แชร์เชื่อว่า ทุกสิ่งจะเริ่มกลับมาสดใสจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา ผลักดันให้ GDP เติบโต 3.4-4%
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



