ในยุคปัจจุบันที่สื่อมีความหลากหลายมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเองก็ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน การจะกำหนดกลยุทธ์การตลาดจึงเป็นเรื่องยากมากขึ้น นีลเส็น ได้สรุป 10 เทรนด์สื่อที่น่าจับตาประจำปี 2023 ให้เห็นภาพรวมของพฤติกรรมผู้บริโภค การเสพสื่อ เผยให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อทั้งในปีนี้ เเละอาจจะต่อไปถึงปี 2025

1. สตรีมมิ่งจะดูเหมือน Linear TV  มากกว่า

พฤติกรรมการดูสตรีมมิ่งเริ่มเหมือนกับพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ ที่เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างชัดเจน สตรีมมิ่งจะเข้ามาปรับประสบการณ์การรับชมใหม่  ผู้ชมสามารถดูรายการสดผ่านทีวีออนไลน์เเละเห็นช่องโฆษณาไปพร้อมกัน

นักการตลาดจึงต้องรู้จักกับเทรนด์ Free ad-supported streaming television (FAST) หรือโทรทัศน์สตรีมมิ่งแบบสนับสนุนโฆษณาฟรี ให้บริการแก่ผู้บริโภคโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก เพราะเเพลตฟอร์มได้รับเงินสนับสนุนจากการโฆษณา โดยจะให้ผู้ชมสามารถรับชมคอนเทนต์ของรายการโทรทัศน์สดตามปกติ เเต่อยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะมีโฆษณาฉายเเทรก นับเป็นอีกช่องทางการทำโฆษณาอีกทางหนึ่งที่จะต้องศึกษาให้ไว เพื่อไม่ให้แบรนด์ตกขบวน

2. More Connected – More Content – More Control

เมื่อคนไทยเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารหรือเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้บริโภคจึงมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งผู้ชม OTT, ผู้ฟัง Digital Audio, นักช้อปบนโซเชียล คอมเมิร์ซ ฯลฯ

อัตราการเพิ่มขึ้นของสมาร์ตโฟนในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 19% แท็บเล็ต 586%  สมาร์ตทีวี 73%

อีกทั้งผู้บริโภคคนหนึ่งใช้หลายอุปกรณ์ เวลาที่ใช้ไปกับอุปกรณ์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เวลาเฉลี่ยที่ผู้คนใช้บนอุปกรณ์ของตน

 

อุปกรณ์ เวลา
Mobile Phone 3H 40M
ช่องทางนี้เพิ่มขึ้น 39%
Computer/Laptop 4H 4H
Traditional TV  2H 48m 2H 48m
Online TV 2H7M 2H 7M

 

การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในทันทีกำลังเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับอีคอมเมิร์ซ

อีกทั้งระบบที่เชื่อมต่อกับสมาร์ตทีวี เชื่อมต่อรถยนต์ รวมไปถึงเชื่อมต่อกับบ้าน จะเริ่มเข้ามามีบทบาท

3. คนคาดหวังความจริงมากขึ้น คอนเทนต์ต้อง Real

ต้องการจะเห็นคอนเทนต์การตลาดที่เป็นจริงมากขึ้น การรีวิวต้องมาจากผู้ใช้จริง ประสบการณ์จริง ไม่อุปโลกน์ขึ้นมา

ซึ่ง Nielsen ทำการสำรวจว่า ผู้บริโภคเชื่อข้อมูลแบรนด์จากตรงไหนมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 คือ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของแบรนด์เอง รองลงมาคือจากสปอนเซอร์ชิป ตามด้วยโฆษณาทีวี

เเละที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภคเชื่อมั่นในความคิดเห็นออนไลน์มาก  เป็นโอกาสสำหรับการตลาดประเภท online reviews

4. อินฟลูเอนเซอร์กาวเชื่อมผู้บริโภคกับเเบรนด์

อินฟลูเอนเซอร์ยังเป็นตัวเลือกที่ดีในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างเเบรนด์กับลูกค้า เพราะผู้บริโภคมองว่า อินฟลูเอนเซอร์ดูจริงใจและน่าเชื่อถือ

นีลเส็นได้เก็บข้อมูลจาก Active User จำนวน 2.3 ล้าน ในตลาดใหญ่ของ SEA พบว่า ธุรกิจที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ขับเคลื่อนเเบรนด์ อันดับหนึ่งคือ ธุรกิจความงาม

ซึ่งTop 5 แพลตฟอร์มยอดนิยมสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ ประกอบด้วย Facebook Youtube Tiktok Instagram และ Twitter

เเต่สำหรับแบรนด์ที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์เเล้วไม่ประสบความสำเร็จ  มาจากไม่เป็นธรรมชาติ เเละดูขายของจนเกินไป

5. Shoppertainment อนาคตของธุรกิจคอมเมิร์ซ

ปัจจุบันที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้ขายสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าแบบใหม่ คือสามารถรับชมละครไปพร้อมกับการซื้อสินค้าที่ฉายอยู่ข้างจอละคร

นีลเส็นสำรวจมาแล้วว่าตลาดของ TV Shopping เติบโตขึ้นมาก เนื่องจากเเบรนด์ลงทุนใน direct sale home shopping เยอะขึ้น เพราะมองว่าคนไทยชอบรับชมกลุ่ม TV Commerce, Social Commerce, Live Shopping กันมากขึ้น

ที่น่าสนใจคือ Shopping & Entertainment ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมา คือการที่ผู้บริโภคสามารถรับชมคอนเทนต์ แล้วซื้อของไปด้วยได้ทันทีที่เห็นข้างหน้าจอ

มากกว่า 20% ของนักช้อปออนไลน์ ดูเเละซื้อสินค้าผ่าน Live Stream Shopping และมากถึง 25% ดูสดผ่าน Live แล้วไปซื้อทีหลัง

6. ช่องทางการรับฟังผ่านดิจิทัลกำลังเปลี่ยนไป

10-20 ปีที่ผ่านมา ช่องทางการรับฟังของคนไทยเปลี่ยนไป จากการสำรวจของนีลเส็น พบว่า มิวสิกสตรีมมิ่งเติบโต 57% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งคนไทยกว่า 55% เปลี่ยนมารับฟังมิวสิกสตรีมมิ่ง

ดังนั้น จึงได้เห็นวงการวิทยุหลายเเห่งเริ่มปรับตัว จะเห็นว่าในปัจจุบัน หนึ่งสถานีสามารถรับฟังได้หลายเเพลตฟอร์ม ทั้งระบบวิทยุปกติ หรือผ่านแอปพลิเคชัน เเพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม 46% ของคนไทยยังรับฟังวิทยุ เเละช่องทางวิทยุยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีในการสื่อสารกับลูกค้า Local Community ซึ่งมีข้อดีตรงที่เป็นช่องทางที่สามารถระบุกลุ่ม Target ได้ชัดเจน ง่ายต่อการสร้างคอนเทนต์หรือการสื่อสารให้สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มลูกค้าท้องถิ่นได้

7. โฆษณายังสร้างเม็ดเงินสำหรับการช้อปปิ้งได้

หลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ  พบว่าเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น 9% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของการโฆษณาในโรงหนัง 117%  โฆษณากลางเเจ้ง 47% และโฆษณาในร่ม 33%  ในแง่การทำโฆษณา หมวดหมู่สื่อที่มีการทำโฆษณามากที่สุดในปีที่ผ่านมา ได้แก่

Top 5 มีเดียที่เสียเงินไปกับการทำโฆษณามากที่สุด 2022

สื่อ มูลค่าที่ใช้ไปกับการโฆษณา
(ล้านบาท)
1. ขายตรง/โฮม ช้อปปิ้ง 5,678
2. ยาสีฟัน 3,356
3. e-Marketplace for Retail 2,835
4. ส่วนราชการ 2,531
5. น้ำอัดลม 2,378

 

แต่อุตสาหกรรมที่มีการใช้งบไปกับการโฆษณาที่มีอัตราเติบโตที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เเละจากการสำรวจลงลึกไปในรายละเอียด พบว่า

69% ของคนไทยซื้อสินค้าหลังจากที่เห็นโฆษณา ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดต้องเล็งเห็นความสำคัญของการทำโฆษณาหนึ่ง ๆ ที่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเเบรนด์เเละดึงดูดยอดขาย

 

 

 

69% ของคนไทย ซื้อสินค้าหลังจากที่เห็นโฆษณา

Top 3 ช่องทางที่คนเห็น
เเล้วจะตามไปซื้อสินค้าต่อ
สัดส่วน
1. ดิจิทัล/โซเชียลมีเดีย 40%
2. โทรทัศน์ 37%
3. อินฟลูเอนเซอร์ 17%

 

8. แฟนด้อมกีฬา

เเม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา กีฬาถูกจำกัดไว้ด้วยมาตรการต่าง ๆ แต่เทรนด์สปอร์ตกลับบูมขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่คนกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติเเล้ว Sport Marketing ก็พลิกกลับมาโตอย่างรวดเร็ว

จากการสำรวจกีฬาที่เเฟนคลับไทยชื่นชอบมากที่สุด ได้แก่

Top 4 กีฬาที่คนไทยชื่นชอบอย่างเหนียวเเน่น

1. ฟุตบอล

2. วอลเลย์บอล

3. แบดมินตัน

4. มวยไทย

ซึ่งประชากรคนไทยที่เป็นเเฟนคลับฟุตบอลมีมากถึง 31.9 ล้านคน นับเป็น 62% ของคนไทย

เเละในปีที่ผ่านมารายการที่มีเรตติ้งวัดแบบ Cross Platform สูงที่สุดในเเต่ละเดือน ล้วนเป็นรายการกีฬาทั้งสิ้น โดยเฉพาะรายการที่มีคนไทยเเข่งอยู่ ทั้งการเเข่งขันวอลเลย์บอลหญิง, FIFA World Cup 2022 และ AFF Championship

นอกจากนั้น นีลเส็นยังเปิดเผย “นาทีทองในการลงเล่นสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง” ไว้ว่า

85% ของคนไทย จะมีความมั่นใจในแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์กีฬา

61% ของคนไทย  เต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการของเเบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์กีฬา

42% ของคนไทย การเป็นสปอนเซอร์ช่วยให้คนรู้สึกเข้าถึงเเบรนด์ได้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y เเละ Gen X

9. ใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า

การใช้เม็ดเงินในการโฆษณาจากทั่วโลก มีมากถึง 37% ที่เป็นการลงทุนในโฆษณาเเล้วสูญเปล่า เพราะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าตาม Target ได้ นักการตลาดจึงต้องอาศัย Data คุณภาพสูงที่สอดรับกับกลยุทธ์การตลาดของเเบรนด์ เพื่อช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตนได้มีประสิทธิภาพ

โดยอาศัย Unique Reach ในการวัด Digital AD Ratings เพื่อดูการเข้าถึงลูกค้าโดยละเอียด

10. ใส่ใจ Privacy Controls

ปัจจุบันคนไทยหันมาตระหนักกับความเป็นส่วนตัว พื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น อ้างอิงจากผลการสำรวจความยินยอมของคนไทยในการอนุญาตให้เเอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เข้าถึงข้อมูลของตน

เป็นที่น่าสนใจว่า เพียง 19% เท่านั้นที่ยินยอมให้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ติดตามพฤติกรรมการใช้สื่อของตน เเต่อีกมากกว่า 80% ไม่ยินยอม

เเละในผู้ที่ไม่ยินยอมนั้น หากลงลึกต่อไปในเเต่ละ Generation มีสัดส่วนดังนี้

Gen Z     28%

Gen Y     19%

Gen X     18%

Baby Boomer   32%

ทั้งหมดคือ 10 เทรนด์สื่อที่น่าสนใจจากมุมมองของนีลเส็น เพื่อการศึกษาเเละปรับตัวให้ทันโลกเทคโนโลยีที่หมุนไป โดยที่เทรนด์ข้างต้นเป็นสิ่งที่เราจะสามารถพบเจอได้ทั้งในปี 2023 และต่อไปสองถึงสามปีนับจากนี้

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน