ความเป็นเลิศของ ทรู ไม่ใช่เพียงผู้ให้บริการโทรคมนาคมบนโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเป็นหนึ่งด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีมาอย่างยาวนานตามวิสัยทัศน์ของ CEO ศุภชัย เจียรวนนท์ ที่วางไว้
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าศูนย์นวัตกรรม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้สานต่อแนวความคิดการสร้างความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมได้กล่าวกับ Marketeer ถึงความเป็นเลิศด้านวัตกรรมของทรูที่มีมาอย่างยาวนาน พร้อมรางวัลการันตีจากองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่องไม่ได้เกิดจากหน่วยงานนวัตกรรมเพียงหน่วยงานเดียว แต่ต้องประกอบด้วยฟันเฟืองน้อยใหญ่ที่ต่างเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย พนักงานทุกภาคส่วนของทรู รวมถึง CEO และผู้บริหารระดับสูง รวมถึงผลักดันความรู้สู่สาธารณชนผ่านโครงการต่างๆ ครอบคลุมทุกระดับชั้น ตั้งแต่เยาวชนถึงคนทำงาน และโครงการเฟ้นหาผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักและประจักษ์ในวงกว้าง
Culture Innovation บนแนวทาง 4C
ในฐานะที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น คือบริษัทที่อยู่กับเทคโนโลยีไฮเทค ปรับเปลี่ยนตัวเองตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และเกิดเป็น Culture ขององค์กรที่เป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรม บนแนวทาง 4C ได้แก่ Creative, Credible, Caring และ Courageous
“Creative ความสร้างสรรค์ถือเป็น DNA ของทรูในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย ส่วน Credible, Caring และ Courageous เป็นสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนให้ภาพของความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมของทรูเด่นชัดขึ้น Courageous กล้าเปลี่ยนแปลง หลายครั้งที่ทรูเป็นทั้งผู้นำนวัตกรรมและผู้นำทางความคิดในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมโทรคมนาคม Caring มองความต้องการของลูกค้าเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และตอกย้ำด้วย Credible ผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดไลฟ์ของผู้บริโภคในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ ไม่ใช่เพียงผู้ให้บริการการสื่อสารพื้นฐานเท่านั้น”
นวัตกรรมของ ทรู ไม่ได้มาจาก R&D เท่านั้น แต่มาจาก Eco System
ศูนย์นวัตกรรมทรูได้ตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการยาวนานกว่า 7 ปี มีหน้าที่ให้ความรู้ทิศทางของเทคโนโลยีในแง่ต่างๆ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ True Innovation Awards forTrue สำหรับพนักงานภายในองค์กร
“สำหรับทรูแล้วนวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยงาน R&D ที่พัฒนานวัตกรรมอย่างลับๆ เพราะในปัจจุบันโลกของนวัตกรรมต้องแข่งขันกับ Speed บนโลกของ Open Platform นวัตกรรมต้องเกิดขึ้นจากทุกคนในองค์กร ไม่ใช่ R&D เพียงหน่วยงานเดียว หน่วยงานนวัตกรรมไม่ใช่หน่วยงานรวมคนGenius คิดและทำนวัตกรรมทั้งหมด แต่เป็นหน่วยงานที่เป็นหัวเชื้อนวัตกรรมที่ช่วย Support ทุกคนในองค์กร รวมถึงให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญากับองค์กร และ Support Future Business ต่างๆ”
รวมถึงโครงการ True Lab สำหรับภาคการศึกษา, โครงการประกวด True Innovation Awards และรายการ True Innovation Awardsthe New Era สำหรับบุคคลภายนอกและประชาชนทั่วไป เพราะในหลายๆ ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ มหาวิทยาลัยเป็นขุมความรู้ที่สำคัญ จะนำความรู้จากมหาวิทยาลัยมาต่อยอดในภาคเอกชน
“ทรูต้องการสร้างโมเดลนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรมในประเทศไทยในรูปแบบ Innovation Platform ติดอาวุธให้กับคนไทยแข่งขันในระดับโลกได้ ด้วยการต่อยอดโครงการความรู้อย่างเป็นสเต็ป ตั้งแต่เยาวชน มหาวิทยาลัยและเอสเอ็มอี โดยปลูกปัญญาเป็นฐานความรู้ขนาดใหญ่ให้ความรู้ในวงกว้างแก่เยาวชนทุกระดับชั้น”
“และเมื่อเยาวชนเข้าสู่มหาวิทยามีโครงการ True Lab เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้จากการให้ข้อมูล เป็น Action Learning ให้ทุนทำงานวิจัย Thesis และเรียนรู้จากนักธุรกิจจริง หัวข้อที่นักศึกษาเลือกทำ Thesis ควรเป็นหัวข้อที่สามารถนำมาต่อยอดได้จริง ไม่ใช่ Thesis ที่อยู่บนหิ้ง ภาคเอกชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแนะแนวทางและสนับสนุนเครื่องมือ มีทุนและเครื่องใหม่ให้นักศึกษาคิดต้นต่อยอดผลงาน Thesis เหมือนการเร่งสีเร่งโตเด็กไทยให้มีความพร้อมสู่อุตสาหกรรมมากขึ้น”
“เมื่อเรียนจบมีโครงการ True Incube ในรูปแบบ Incubator Program บ่มเพาะผู้ประกอบการให้เป็น Entrepreneurs ที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ทรูยังมีโครงการสนับสนุนการสร้าง Innovation ให้เกิดเป็น Eco System ผ่านโครงการ True Innovation Awards และรายการ True Innovation Awardsthe New Era เพื่อเป็นเวทีแห่งโอกาสให้นวัตกรชาวไทยได้แสดงความสามารถและพัฒนาผลงานที่สร้างคุณประโยชน์และคุณค่าให้กับสังคม และเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนเก่งแต่ละสาขามาเจอกัน ที่ให้คนไทยคิดและพัฒนา Innovation ได้ครอบคลุมทุกมิติมากขึ้น”
นวัตกรรมของทรูที่ผ่านมาเป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ซึ่งเกิดจากการผลักดันอย่างต่อเนื่องของ CEO ศุภชัยที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันนวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดขึ้น
“ในวันนี้ทรูพร้อมในหลายๆ ด้านที่นำมาคิดค้นเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม ทั้ง Accessibility การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผลต่อการพัฒนา GDP ของประเทศ ถ้าทรูมีโอกาสในการทำให้คนในประเทศเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แล้วจะไม่ต่อยอดจากสิ่งนี้เพื่อทำอะไรให้กับประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจที่ CEO ศุภชัยย้ำตลอดว่าต้องเกิดคุณค่าทั้งองค์กร ลูกค้าและระดับประเทศ”
นวัตกรรมสร้างคุณค่าและคุณประโยชน์เพื่อสังคมและเด็กออทิสติก
นวัตกรรมที่ทรูพัฒนาไม่ได้รองรับในเชิงคอมเมอร์เชียลเท่านั้น แต่ยังเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมและลิงค์ไปกับการเป็นองค์กรโทรคมนาคมด้วย เช่น Braille Note Taker เครื่องจดบันทึกอักษรเบรลล์สำหรับคนตาบอดเพื่อสร้างโอกาสให้คนตาบอดเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทัดเทียมบุคคลอื่นๆ
หรือแม้แต่แอพพลิเคชั่นสำหรับเด็กออทิสติก ฟรีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเสริมศักยภาพเด็กพิเศษ รองรับ 3 ภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาจีน อังกฤษ ประกอบด้วย 3 แอพพลิเคชั่นเริ่มต้นได้แก่ Daily Tasks สอนกิจวัตรประจำวัน, Trace&Share สอนการลากเส้น ส่งเสริมให้รู้จักการรอคอยและแบ่งปัน และ Communication สอนหลักการสื่อสารขั้นพื้นฐานโดยใช้สมุดภาพสื่อความต้องการของเด็กเพื่อใช้ประโยชน์เป็นสื่อการสอนเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก ให้สามารถเรียกแม่ และสื่อสารกับคนรอบข้างได้ จากแนวคิดการสื่อสารทำให้คนมีความรู้ แต่เด็กออทิสติกกับประสบปัญหาเรื่องการสื่อสาร
“ออทิสติก แอพพลิเคชั่น มีผู้ใช้มากกว่า 600,000 ดาวน์โหลดทั่วโลก และได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วมากมายอย่างรางวัลเหรียญทองประเภทซอฟท์แวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร จากงานแสดงสิ่งประดิษฐ์และผลงานนวัตกรรมระดับโลก The 42 International Exhibition of Innovation, Geneva 2014 จัดโดยรัฐบาลสวิส และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) และรางวัล Special Prize of Innovation Distinction จากประเทศซาอุดิอาระเบีย”
นอกจากนี้ศุภชัยยังไม่มองข้ามเด็กออทิสติกที่ขาดโอกาส ด้วยการสนับสนุนแท็บเล็ต 2,000 เครื่องพร้อมแอพพลิเคชั่นกระจายตามศูนย์ช่วยเหลือต่างๆ ให้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องทุนทรัพย์สามารถหยิบยืมได้
“ออทิสติก แอพพลิเคชั่น ถือเป็นนวัตกรรมระดับโลกจากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับและสมาคมออทิสติกได้เผยแพร่ให้กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และยังช่วยให้ประเทศอย่างแอฟริกา ซึ่งประสบปัญหาเด็กออทิสติกเป็นจำนวนมาก สามารถดาวน์โหลดแอพนี้ไปใช้ได้”
We Grow คอมมูนิตี้สำหรับคนรักต้นไม้
การคิดค้นนวัตกรรมเพื่อโลกนั้น มีเพียงแอพพลิเคชั่นช่วยเหลือคนตาบอดและเด็กออทิสติกไม่พอสำหรับทรู ทรูยังได้ต่อยอดไปยังแอพพลิเคชั่นสำหรับต้นไม้ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน
“องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่ต้นไม้ที่ปลูกนั้นส่วนใหญ่จะไม่รอดพ้นจนเป็นต้นไม้ใหญ่ ทรูจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนานวัตกรรมให้การปลูกต้นไม้ให้มีความยั่งยืน ด้วยการสร้างโซเชียลเน็ตเวิร์คของต้นไม้เป็นครั้งแรกของโลก ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชั่น We Grow สามารถใช้งานได้ทั้ง iOS, แอนดรอยด์ และเว็บไซต์”
การที่แอพพลิเคชั่น We Grow เปรียบเสมือนแอพพลิเคชั่น โซเชียลเน็ตเวิร์คของต้นไม้มาจากการวางโครงสร้างในการขยายขอบเขตความรู้ในลักษณะ User Generate Content ให้ข้อมูลเติบโตและสดใหม่อย่างต่อเนื่อง จากการมีส่วนร่วมของคนในเครือข่ายที่ร่วมกันแบ่งปันข้อมูล รวมถึงการสร้าง QR Code ติดอยู่บริเวณต้นไม้ให้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้แก่บุคคลทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเยี่ยมชมธรรมชาติ
“We Grow ยังได้นำความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ไทยพันธ์หายากและพันธุ์อนุรักษ์ต่างๆ กว่า 100 สายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรกับผู้ที่สนใจผ่านแอพพลิเคชั่น พร้อมพิกัดต้นไม้ต่างๆ เพื่อการติดตาม และการดูแลอนุรักษ์จากเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”
นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกลุ่มผู้รักต้นไม่เข้าด้วยกันผ่านระบบ End to End ที่ช่วยบริหารจัดการในการแจกจ่ายพันธุ์ไม้ให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างทั่วถึงและเป็นรูปธรรม เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้ที่สนใจต้นไม่พันธุ์เดียวกันเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบคอมมูนิตี้ และเชื่อมโยงการปลูกต้นไม้กับการช่วยลดโลกร้อน โดยการคำนวณปริมาณการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้แต่ละต้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงด้านการช่วยลดโลกร้อน
“หลังจากเปิดตัวแอพพลิเคชั่น We Grow ไปเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา มีต้นไม้ปลูกแล้ว 3 ล้านต้นในประเทศไทย ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่ยังมีคุณประโยชน์ระดับโลกจากการผลักดันของ CEO ศุภชัย”
และความท้าทายของทรูในอนาคตคือการต่อยอดนวัตกรรมสู่ระดับ Region เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย SME ไทยและ AEC ผ่าน Partner Innovation ที่มาพร้อมกับ Speed
เรื่อง : ณัฐจิตต์ บูราณทวีคูณ
อ่านเนื้อหาเต็มๆ ได้จาก Marketeer ฉบับที่ 181 เดือน มีนาคม
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



