Gordon Moore นักเคมีสมัครเล่น สู่เสาหลักวงการชิปผู้ก่อตั้ง Intel

บริษัทที่ขึ้นเป็นเบอร์ต้น ๆ ได้ย่อมมีความสำคัญของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องอยู่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นทุกความเคลื่อนไหว เช่น การลงทุนขยายกิจการ รุกสู่ธุรกิจใหม่ และแผนรับมือกับคู่แข่งหรือท่าทีที่มีต่อสถานการณ์ในตลาด ย่อมได้รับความสนใจ

ทว่าความสำเร็จในปัจจุบันและแผนเพื่ออนาคตต่าง ๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดบรรดาผู้ก่อตั้ง ยิ่งถ้าเป็นบริษัทเบอร์ต้น ๆ ของวงการ บทบาทของผู้ก่อตั้งบางคนคือผู้กำหนดกฎที่ใช้กันทั้งวงการ และเป็นกฎที่คนจำนวนไม่น้อยรู้จักหรือผ่านตา

Gordon Moore

เหมือนGordon Mooreหนึ่งในสามผู้ก่อตั้ง Intel เพราะเมื่อต่อมาเขาขยับขึ้นมาเป็นซีอีโอแล้ว เขายังเป็นผู้ที่คิดค้นกฎที่ว่าจำนวนทรานซิสเตอร์บนชิปวงจรรวมจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุก 2 ปี จะทำให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป

หรือเหล่าผู้ที่สนใจเรื่องราววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รู้จักกันว่า กฎของมัวร์ (Moore’s Law) อีกด้วย  

Gordon Mooreเป็นชาวอเมริกัน เกิดเมื่อปี 1929 ในครอบครัวที่พ่อเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองท้องถิ่นของเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนแม่เป็นแม่บ้านเต็มตัว โดยชุดทดลองเคมีสำหรับเด็กที่ได้เป็นของขวัญวันคริสต์มาสเมื่อปี 1940 จุดประกายให้เขาสนใจด้านเคมี

William Shockley

หลังจบมัธยมปลายนักเคมีสมัครเล่นผู้นี้ก็ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านเคมี และต่อเนื่องคณะเดียวกันไปจนจบปริญญาเอก จากนั้นก็เริ่มทำงานในแผนกชิป ที่ William Shockley นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ซึ่งยังถือเป็นแผนกเล็ก ๆ เพื่อการนำไปต่อยอดของบริษัทวิทยาการทางการแพทย์ที่ Beckman Instruments ดูแลอยู่

กลุ่ม The Traitorous Eight

จุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของGordon Mooreมาถึงเมื่อเขากับศิษย์เก่าระดับหัวกะทิของสถาบันเทคโนโลยีสหรัฐฯ ชั้นนำ 7 คน แยกทางกับ William Shockley และบริษัทด้านชิปที่ William Shockley บริหาร ในปี 1957 ทั้งที่อยู่กันมาได้เพียงปีเดียว เพื่อพากันไปตั้งบริษัทของตัวเอง จนได้ชื่อว่าผู้ทรยศทั้ง 8 (The Traitorous Eight)

Fairchild Semiconductor

แม้ชื่อของกลุ่ม The Traitorous Eight มีความหมายไปในทางลบแต่ Fairchild Semiconductor ที่กลุ่มนี้ตั้งขึ้นต่อมาจะสำคัญและเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่างมาก

เพราะก่อให้เกิดบริษัทผู้ผลิตชิปสำคัญ 2 บริษัทคือ Intel และ AMD รวมไปถึงก่อเกิดเขตนวัตกรรมทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อ Silicon Valley นั่นเอง

Silicon Valley

และระหว่างอยู่กับ Fairchild Semiconductor นี่เองที่โลกได้รู้จักกฎของมัวร์  โดย Gordon Moore คาดการณ์ว่าจำนวนชิปที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

พอปี 1968  Gordon Mooreจับมือกับ Robert Noyce หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม The Traitorous Eight และผู้บริหารของ Andrew Grove ก่อตั้ง Intel ขึ้น

Robert Noyce

อดีตสามทหารเสือของ Fairchild Semiconductor แบ่งงานกันดังนี้ Robert Noyce แก้สมการและปัญหาทางวิศวกรรมต่าง ๆ ในแผงวงจรชิป

Andrew Grove

จากนั้นส่งต่อให้Gordon Mooreนำทฤษฎีดังกล่าวไปลงมือทำ ซึ่งปัญหาหน้างานส่งผลให้Gordon Mooreต้องเค้นพลังสมองขั้นสุดออกมา ไม่ต่างจากการเค้นศักยภาพของชิป ส่วน Andrew Grove ก็ทำหน้าที่บริหารและจัดการดูแลกิจการต่าง ๆ ของบริษัท  

การประสานงานกันของทั้งสามทำให้ Intel กลายเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมชิป โดยGordon Mooreขยับขึ้นไปเป็นซีอีโอกับประธานบอร์ดบริหารในปี 1979 และลดบทบาทเป็นแค่ประธานกิตติมศักด์ในปี 1997 แต่ก็ยังคงได้เงินจากหุ้นและเงินปันผลต่าง ๆ จาก Intel อยู่

Gordon Moore

Forbes ประเมินว่าเขาคือมหาเศรษฐี เพราะมีมูลค่าทรัพย์สินหลายพันล้านดอลลาร์ แต่เขาก็เป็นมหาเศรษฐีที่ให้การสนับสนุนองค์กรมากมาย ตั้งแต่ด้านการอนุรักษ์พันธ์ุปลาไปจนถึงการสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างดาวของสถาบัน SETI

 ที่ Carl Sagan นักดาราศาสตร์อเมริกันคนดังที่คอหนัง Sci-Fi รู้จักกันดีเป็นผู้ก่อตั้ง

Carl Sagan

เส้นทางชีวิตของ Gordon Moore ยุติลงเมื่อ 24 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเขาจากไปอย่างสงบที่บ้านพักในฮาวายด้วยวัย 94 ปี ในยุคที่ชิปทวีสำคัญต่อโลกในปัจจุบันแบบที่ตัวเขาเองก็คงคาดไม่ถึง เพราะมีอยู่ในหลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งแต่สมาร์ตโฟนไปจนถึงเครื่องบินลำยักษ์ และยานอวกาศ 

และประเทศต่าง ๆ ก็กำลังแข่งขันกันพัฒนาชิป จนเกิดการแบ่งขั้ว โดยที่ด้านหนึ่งคือสหรัฐฯ กับประเทศพันธมิตร กับอีกด้านหนึ่งคือ จีน ขั้วอำนาจใหม่ในปัจจุบัน

3 ผู้ร่วมก่อตั้ง Intel (Gordon Moore คือคนขวาสุด) 

แต่Gordon Mooreก็คงไม่เหงาเพราะเขาได้ตามไปเจอไปคุยเรื่องราวเทคโนโลยีกับ Robert Noyce และ Andrew Grove สองผู้ร่วมก่อตั้ง Intel ที่เสียชีวิตไปก่อนแล้วเมื่อปี 1990 และ 2016/theguardain, nikkei

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน