Orangina ทำความรู้จักแบรนด์น้ำส้มอัดลมที่ชอบอยู่ในร้านกาแฟ
เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงเคยลิ้มลองและรู้จักแบรนด์น้ำส้มอัดลม Orangina (ออเรนจิน่า) ที่มักวางขายในร้านกาแฟอย่าง Starbucks (สตาร์บัคส์) เป็นอย่างดี เพราะ Orangina เป็นแบรนด์น้ำส้มชื่อดังที่มีรสชาติความซ่าเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง
นอกจากนี้Oranginaยังเป็นแบรนด์เครื่องดื่มของฝรั่
โดยOranginaเป็นเครื่องดื่มน้ำส้มอัดลมเล็
ปัจจุบันOranginaเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในยุโรปและทั่วโลก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง Suntory (ซันโทรี่) เป็นเจ้าของตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2009
เรามาดูกันดีกว่าว่าอะไรทำให้Oranginaเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากมายขนาดนี้ มารู้จักกับแบรนด์Oranginaกันเลย
รู้หรือไม่Oranginaมีสูตรลับเฉพาะที่ทำให้รสชาติแตกต่างจากแบรนด์อื่นตั้งแต่เปิดตัวขวดแรกในปี 1936
รู้หรือไม่ Orangina เป็นแบรนด์แรกในตลาดน้ำอัดลมฝรั่งเศสที่กล้าเปิดตัวกระป๋องแบบ 33cl ในปี 1977
รู้หรือไม่ ในปี 2021 Oranginaมาพร้อมสโลแกนใหม่ “It’s better when shaken.” (มันจะดีกว่าเมื่อเขย่า) เป็นการโฆษณาเพื่อยึดมั่นในเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นในวงกว้าง
และรู้หรือไม่ ถึงแม้ว่าOranginaจะมีภาพจำว่าเป็นน้ำส้ม แต่จริง ๆ แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดน้ำอัดลม และมีน้ำส้มเป็นส่วนประกอบเพียงแค่ 10% เท่านั้น
Orangina ชื่อนี้ที่ไม่ธรรมดา
Oranginaซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในปี 1933 โดยนักเคมีชาวสเปน Agustín Trigo Miralles ถูกนำเสนอที่งานแสดงสินค้า Marseille (มาร์แซย์) เมืองท่าทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ในปี 1936 เป็นครั้งแรก แต่ในตอนนั้นOranginaยังมีชื่อว่า Naranjina ซึ่งมาจากภาษาสเปนที่แปลว่า ส้ม
ในงานจัดแสดงสินค้านี้ นักธุรกิจชาวฝรั่งเศส Léon Beton (เลออน เบตง) ได้สนใจในสูตรน้ำส้มของ Agustín Trigo Miralles จึงซื้อแนวคิดและสูตรอาหารในปี 1935
และต่อมาเขาได้นำสูตรมาดัดแปลงใหม่จนก่อให้เกิดเป็นOranginaขึ้นในปี 1936 ที่ประเทศฝรั่งเศส แต่ในเวลานั้นได้เกิดการขัดแย้งครั้งใหญ่อย่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ความพยายามของ Léon Beton ที่จะทำการตลาดเครื่องดื่มของเขาในยุโรปต้องสะดุดลง หลังจากเปิดตัวOranginaมาได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุด สถานการณ์ต่าง ๆ ก็เริ่มฟื้นฟูกลับมาดีขึ้น Jean-Claude Beton (ฌอง-โคลด เบตง) ลูกชายของ Léon Beton ได้รับช่วงต่อในปี 1947 ซึ่ง Jean-Claude Beton ได้รักษาสูตรดั้งเดิมไว้เกือบทั้งหมด และเขายังทำการตลาด เพื่อดึงดูดผู้บริโภคชาวยุโรปและแอฟริกาเหนืออีกด้วย ทำให้Oranginaกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของแอฟริกาเหนืออย่างรวดเร็ว
เรียกได้ว่า Jean-Claude Beton เป็นคนทำให้Oranginaประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด เพราะเขาปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้ทันสมัยมากขึ้น โดยในปี 1951 เขาได้เปลี่ยนรูปทรงขวดOranginaให้เป็นทรงอ้วนกลมขนาด 8 ออนซ์ คล้ายกับผลส้ม
ด้วยลักษณะขวดของOranginaที่แปลกไม่เหมือนใครนี้ ทำให้ Jean-Claude Beton ผู้ปรับเปลี่ยนรูปแบบขวดทรงนี้ได้รับข้อร้องเรียนจากเจ้าของร้านกาแฟจำนวนมากว่าขวดรูปผลส้มนี้เปลืองพื้นที่และไม่พอดีกับช่องวางของ แต่เขาก็ยังเชื่อมั่นในทรงขวดแบบใหม่และตัดสินใจใช้ต่อไป จนขวดทรงนี้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องหมายทางการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้Oranginaยังได้เริ่มทำการโฆษณาครั้งแรกผ่านโปสเตอร์ โดยสื่อสารว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับช่วงเวลาพักผ่อน ซึ่งตอบโจทย์คนในสมัยนั้นที่ต้องเผชิญความตึงเครียดจากสงครามมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงเน้นช่องทางการวางขายสินค้าอย่างคาเฟ่หรือร้านกาแฟเป็นหลัก ซึ่งสิ่งนี้ได้สืบต่อมาถึงในปัจจุบันที่เรามักเห็นOranginaถูกวางขายอยู่ในคาเฟ่ต่าง ๆ ไปจนถึงเครือข่ายร้านกาแฟใหญ่อย่าง Starbucks นั่นเอง
การเน้นช่องทางการขายหลักอย่างร้านกาแฟก็เป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์ของ Jean-Claude Beton เพราะในช่วงแรกเขาได้จ้างให้เหล่าเด็กนักเรียนและพนักงานบริษัท รวมไปถึงกลุ่มทหารที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากสงคราม ไปซื้อOranginaตามร้านกาแฟ เพื่อสร้างกระแสให้กับสินค้าของแบรนด์
สิ่งนี้ช่วยให้แบรนด์Oranginaสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี ในปี 1957 แบรนด์สามารถทำยอดขายได้สูงถึง 50 ล้านขวด และต่อมาในปี 1975 ยอดขายOranginaก็เติบโตขึ้นเป็น 10 เท่า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงยอดขายในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น
จนกระทั่งในปี 1984 Oranginaก็ได้เริ่มส่งสินค้าออกไปวางจำหน่ายในต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านี้ ประมาณ 6 ปีก่อน บริษัทก็เคยส่งสินค้าไปตีตลาดสหรัฐอเมริกามาแล้ว แต่ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า Orelia (โอเรเลีย) แต่หลังจากที่Oranginaเริ่มออกสู่สากลมากขึ้น บริษัทจึงนำชื่อOranginaกลับมาใช้อีกครั้งในสหรัฐอเมริกาในปี 1985
ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนมือของOrangina
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง Jean-Claude Beton ก็ได้ขายกิจการต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศส Pernod Ricard (เพอร์นอต ริคาร์ด) ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ยอดขายของOranginaในฝรั่งเศสก็เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นอันดับ 2 ในตลาดน้ำอัดลม เป็นรองจาก Coca-Cola (โคคา โคล่า) เพียงแบรนด์เดียวเท่านั้น เรียกได้ว่ากิจการOranginaเติบโตอย่างต่อเนื่องไปด้วยดี
และในขณะนั้นเอง บริษัท Coca-Cola ก็ได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการOranginaในปี 1997 ด้วยมูลค่ากว่า 5,000 ล้านฟรังก์ หรือประมาณ 1,000 ล้านยูโร ซึ่งข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ เพราะการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเครื่องดื่มระดับโลกอาจช่วยให้แบรนด์เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั่นเอง
แต่ข้อเสนอนี้กลับถูกรัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธ เพราะความกังวลเรื่องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและป้องกันการผูกขาดในตลาดเครื่องดื่ม เนื่องจากถ้าสามารถทำตามข้อเสนอนี้ได้ บริษัท Coca-Cola จะเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในฝรั่งเศสได้อีก 10% และส่งผลให้บริษัท Coca-Cola ครองส่วนแบ่งทั้งหมดถึง 70% เลยทีเดียว
และแน่นอนว่าบริษัท Coca-Cola ก็ไม่ยอมแพ้ 2 ปีต่อมา บริษัทก็ได้ยื่นซื้อกิจการOranginaอีกครั้งด้วยจำนวนเงินที่น้อยลงเล็กน้อยและยังมีการปรับรายละเอียดในการซื้อกิจการ เพื่อให้รัฐบาลฝรั่งเศสไม่มองว่าเป็นการผูกขาดกิจการอีกด้วย
แต่สุดท้ายข้อเสนอนี้ก็ถูกรัฐบาลปัดตกอีกครั้ง ในปี 2000 Oranginaจึงถูกซื้อกิจการโดย Cadbury Schweppes (แคดเบอรี ชเวปส์) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Cadbury พร้อมกับธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลมอื่น ๆ ของ Pernod Ricard
แต่ต่อมาในปี 2006 Cadbury ตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นความสนใจไปที่ธุรกิจช็อกโกแลตโดยเฉพาะ จึงได้หาผู้ซื้อสำหรับธุรกิจเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซึ่งในปัจจุบันOranginaเป็นของบริษัทญี่ปุ่น Suntory นั่นเอง
Orangina เครื่องดื่มซ่าสัญชาติฝรั่งเศส
ตั้งแต่Oranginaเปิดตัวในปี 1936 ก็เป็นที่จดจำระดับทั่วโลกจากการใช้ขวดทรงรูปส้มที่เป็นเอกลักษณ์ และรสชาติเฉพาะของรสส้มแท้ ๆ พร้อมเนื้อผลไม้ในรูปของเครื่องดื่มน้ำผลไม้อัดลม ได้ทำให้Oranginaได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมาก ซึ่งทุกวันนี้Oranginaได้สร้างความสุขให้กับผู้คนทุกช่วงวัยนับล้านในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก
ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Orangina
https://www.orangina.co.uk/an-icon-is-born/
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



