Pandora, Marimekko, Cath Kidston และ Harnn ถือเป็นแบรนด์สินค้าระดับพรีเมียม ที่กำลังจะเป็นหนึ่งในสินค้าที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ผ่านบริษัท ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ถือลิขสิทธิ์นำเข้าและจัดจำหน่าย Pandora, Marimekko, Cath Kidston และเจ้าของแบรนด์ Harnn ซึ่งเป็น 4 แบรนด์หลักที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัท

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Pandora, Marimekko, Cath Kidston และ Harnn สร้างรายได้ให้กับธนจิราดังนี้

Pandora แบรนด์แรกที่ธนจิราฯ เข้ามาทำตลาดในปี 2554 สิ้นปีที่ผ่านมามี 43 สาข

2563    รายได้ 467.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50.79% ของรายได้ทั้งหมด มีต้นทุนขาย 188.03 ล้านบาท

2564    รายได้ 397.73 ล้านบาท สัดส่วน 50.81% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 193.85 ล้านบาท

2565    รายได้ 645.67 ล้านบาท สัดส่วน 50.11% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 508.60 ล้านบาท

 

Marimekko แบรนด์ที่นำเข้ามาทำตลาดในปี 2557 สิ้นปีที่ผ่านมามี 13 สาขา

2563    รายได้ 150.19 ล้านบาท สัดส่วน 16.33% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 67.77 ล้านบาท

2564    รายได้ 146.63 ล้านบาท สัดส่วน 18.73% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 70.18 ล้านบาท

2565    รายได้ 216.07 ล้านบาท สัดส่วน 16.77% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 98.17 ล้านบาท

 

Cath Kidston แบรนด์ที่ธนจิราฯ เข้าซื้อธุรกิจ Cath Kidston ในประเทศไทยจากผู้ถือสิทธิ์รายเดิมมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อหวังสาขาจำนวนมากในการสร้างอำนาจต่อรองแลนด์ลอร์ด หรือเจ้าของสถานที่ที่จะไปเปิดสาขาแบรนด์ในเครือทั้งหมด

สิ้นปีที่ผ่านมา Cath Kidston มีสาขาในไทย 35 สาขา และเวียดนาม 6 สาขา

2563    รายได้ 197.03 ล้านบาท สัดส่วน 21.42% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 142.11 ล้านบาท

2564    รายได้ 118.81 ล้านบาท สัดส่วน 15.18% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 61.62 ล้านบาท

2565    รายได้ 204.29 ล้านบาท สัดส่วน 15.86% ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนขาย 105.67 ล้านบาท

 

HARNN แบรนด์ที่ซื้อธนจิราฯ เป็นเจ้าของโดยตรงด้วยการซื้อธุรกิจต่อจากวุฒิชัย หาญพานิช เจ้าของแบรนด์และผู้ก่อตั้งมาในปี 2561 เพื่อขยายธุรกิจสู่กลุ่มสุขภาพและความงาม

ในสิ้นปี 2565 มีสาขาขายสินค้าและสปาที่ลงทุนเองและแฟรนไชส์ในไทยรวม 23 สาขา ญี่ปุ่น 6 สาขา ฮ่องกง เวียดนาม และซาอุดีอาระเบีย ประเทศละ 1 สาขา

 

ปี 2563

HARNN ทำรายได้จากการขายสินค้า 97.02 ล้านบาท สัดส่วน 10.55% ของรายได้ทั้งหมด

รายได้จากบริการสปา 6.32 ล้านบาท สัดส่วน 0.69% ของรายได้ทั้งหมด

ต้นทุนขายและบริการ 22.56 ล้านบาท

 

2564   

รายได้จากการขายสินค้า 101.70 ล้านบาท สัดส่วน12.99% ของรายได้ทั้งหมด

รายได้จากบริการสปา 1.61 ล้านบาท สัดส่วน 0.21% ของรายได้ทั้งหมด

ต้นทุนขายและบริการ 26.85 ล้านบาท

 

2565   

รายได้จากการขายสินค้า 191.47 ล้านบาท สัดส่วน 14.86% ของรายได้ทั้งหมด

รายได้จากบริการสปา 8.45 ล้านบาท สัดส่วน 0.66% ของรายได้ทั้งหมด

ต้นทุนขายและบริการ 34.61 ล้านบาท

 

 

และเมื่อรวมรายได้จากแบรนด์อื่น ๆ ทั้งหมด ธนจิราฯ มีรายได้ ย้อนหลัง 3 ปีดังนี้

2563    รายได้ 919.81 ล้านบาท กำไรสุทธิ 12.07 ล้านบาท

2564    รายได้ 782.75 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 34.63 ล้านบาท

2565    รายได้ 1,288.41 ล้านบาท กำไรสุทธิ 122.10 ล้านบาท

 

และธนพงษ์ จิราพาณิชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่าในอนาคตสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ระดับพรีเมียมสามารถสร้างการเติบโตได้ในอนาคตผ่านมูลค่าบริโภคในครัวเรือนที่เติบโตเฉลี่ย 3.8% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2564-2569 โดยปี 2569 จะมีมูลค่าการบริโภคที่ 10.1 ล้านล้านบาท จากการเติบโตของคนชั้นกลาง การขยายของเมือง, นักท่องเที่ยว การลงทุนเปิดสาขาใหม่ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการขอสิทธิ์แบรนด์พรีเมียมอื่น ๆ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยและภูมิภาค โดยในปี 2567 จะมีแบรนด์เพิ่มอย่างน้อย 1-2 แบรนด์

ประกอบกับมูลค่าปลีกพรีเมียมในราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2565-2569 อ้างอิงจาก: Frost & Sullivan

กระเป๋าถือพรีเมียมทั้งแบรนด์ไทยและนำเข้า เติบโตเฉลี่ย 16.7%

ในปี 2565 มีมูลค่า 825.3 ล้านบาท

ปี 2566 มีมูลค่า 1031.6 ล้านบาท

ปี 2567 มีมูลค่า 1,217.3 ล้านบาท

ปี 2568 มีมูลค่า 1,365.6 ล้านบาท

ปี 2569 มีมูลค่า 1,529.2 ล้านบาท

 

กระเป๋าถือและเสื้อผ้านำเข้าระดับพรีเมียม เติบโตเฉลี่ย 23.6%

ปี 2565 มีมูลค่า 712.2 ล้านบาท

ปี 2566 มีมูลค่า 797.7 ล้านบาท

ปี 2567 มีมูลค่า 877.4 ล้านบาท

ปี 2568 มีมูลค่า 946.9 ล้านบาท

ปี 2569 มีมูลค่า 1,013.1 ล้านบาท

 

เครื่องประดับพรีเมียม เติบโตเฉลี่ย 11.8%

ปี 2565 มีมูลค่า 1,612.0 ล้านบาท

ปี 2566 มีมูลค่า 1,861.0 ล้านบาท

ปี 2567 มีมูลค่า 2,084.3 ล้านบาท

ปี 2568 มีมูลค่า 2,292.8 ล้านบาท

ปี 2569 มีมูลค่า 2,522.1 ล้านบาท

 

ความงามและสปาระดับพรีเมียม เติบโตเฉลี่ย 23.6%

ปี 2565 มีมูลค่า 1,103.1 ล้านบาท

ปี 2566 มีมูลค่า 1,426.0 ล้านบาท

ปี 2567 มีมูลค่า 1,825.3 ล้านบาท

ปี 2568 มีมูลค่า 2,098.8 ล้านบาท

ปี 2569 มีมูลค่า 2,575.1 ล้านบาท

 

แม้ตลาดจะมีโอกาสเติบโต แต่เป็นการเติบโตบนการแข่งขันและความท้าทายจากคู่แข่งที่อยู่ในแต่ละตลาด ที่เน้นการทำตลาดด้วยสงครามลดราคาผ่านแคมเปญการตลาดต่าง ๆ ที่มากกว่า 2 ครั้งต่อปี ตามการแข่งขันปกติ เพื่อแย่งชิงเม็ดเงินในกระเป๋าผู้บริโภค

ไปพร้อม ๆ กับนำจุดเด่นของตัวเองเป็นจุดสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง การขยายช่องทางขาย การเปิดตัวสินค้าใหม่ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ และการใช้อินฟลูเอนเซอร์เข้าถึงลูกค้า

และนอกเหนือจากการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด ธนจิราฯ ยังมีความท้าทายอีกประการหนึ่งคือแบรนด์ที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอส่วนใหญ่ เป็นแบรนด์ที่ได้รับสิทธิ์จากเจ้าของแบรนด์ที่มีอายุสัญญาเฉลี่ย 3-5 ปี และสามารถต่อสัญญาได้ต่อเนื่องถ้ายังสามารถทำผลงานด้านรายได้และยอดจำหน่ายได้อย่างน่าสนใจ

อย่างไรก็ดี การที่ธนจิราฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์และสร้างผลงานผ่านแบรนด์สินค้าหลัก Pandora, Marimekko, Cath Kidston และ Harnn อาจเป็นหนึ่งในการแข่งขันให้กับธุรกิจสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์พรีเมียมในไทยมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์การทำตลาดของธนจิราฯ ที่ยกระดับในการแข่งขันผ่านทุนทรัพย์ที่มากขึ้นจากการระดมทุน



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online