จาก AdAsia Seoul 2023 งานสัมมนาการตลาด-โฆษณาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-27 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่รวบรวมกว่า 50 Speakers จากองค์กรระดับโลก เข้าร่วมพูดคุย และ แชร์มุมมองด้านการตลาดที่น่าสนใจ ในคอนเซ็ปต์ The Digital Race, Ready.Set.Transform เจาะลึกการทำการตลาดผ่านสื่อและโฆษณาอย่างครีเอทีฟ ให้แบรนด์พร้อมตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงอิทธิพลของ AI และ K-Culture ที่ช่วยขับเคลื่อนแบรนด์และธุรกิจ

โดยคุณนิโรธ ฉวีวรรณากร ผู้อำนวยการบริษัท กัชคลาวด์ (ประเทศไทย) จำกัด และ Head of Talent ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมพูดคุยในธีม Advertising:Taking A Bold Step ที่เน้นถึงแนวคิด เทรนด์ กลยุทธ์ และประสบการณ์ด้านการตลาดเพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจผ่านการตลาด-โฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ กับห้วข้อ Content Creators as Conveyors of Brand Story การทำแคมเปญด้าน PR-Marketing เพื่อบอกเล่า brand story ที่ตอบโจทย์ target audiences ผ่านการทำงานร่วมกันของอินฟลูเอนเซอร์ และ เซเลบริตี้

คุณนิโรธกล่าวว่า “แบรนด์อาจพบปัญหาเรื่องคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ หรือ เซเลบริตี้ ไม่สามารถสื่อ Brand Story หรือ  Key Message ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในทางกลับกันหากแบรนด์จะเริ่มต้นทำการตลาดกับคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ แบรนด์เองต้องมีความเข้าใจทั้งตลาดภาพรวม แพลตฟอร์ม คอนเทนต์ และตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ หรือเซเลบริตี้ ไปจนถึงทาร์เก็ตผู้ติดตามที่เหมาะสมกับแบรนด์ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องพื้นฐานในการทำแคมเปญการตลาด แต่มักถูกมองข้าม ทำให้สิ่งที่เราต้องการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนี้”

3 ปัญหาด้านการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ที่ถูกมองข้าม 

1. ขาดการทำความใจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

  • ขาดการทำความเข้าใจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือขาดการทำ Media Consumption ที่เข้าใจเทรนด์การใช้แพลตฟอร์มของทาร์เก็ตลูกค้าที่แบรนด์มองหา และทำให้วางแผนคอนเทนต์ไม่ตรงความต้องการ ไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้

  • การใช้ Message ไม่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มนั้น ๆ ทำให้สื่อสารได้ไม่ตรงประเด็น อีกทั้งคอนเทนต์หรือกลยุทธ์บางอย่างอาจไม่สามารถนำมาใช้กับทุกแพลตฟอร์มได้ ทำให้แบรนด์ขาดโอกาสสื่อสารกับทาร์เก็ตลูกค้า

2. การทำ Content ที่ไม่ดึงดูด: 

  • การใช้ Key Message เพื่อเล่าเรื่องของแบรนด์นั้นไม่ตอบโจทย์ ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ หรือไม่ดึงดูดผู้ชม เพราะขาดความเข้าใจตลาด และขาดการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักให้ความสนใจกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึกสนใจ ดังนั้น การสื่อสารของแบรนด์ต้องตอบคำถามลูกค้าได้ และจำเป็นต้องเข้าใจตลาดอย่างชัดเจนก่อน

3. ขาดการสื่อสารกับอินฟลูเอนเซอร์อย่างเหมาะสม

  • การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ไม่เหมาะสมกับกลยุทธ์การทำคอนเทนต์โดยยึดจากจำนวนผู้ติดตามเป็นหลักมากเกินไป

  • การเล่าเรื่องแบรนด์ หรือข้อความที่ต้องการสื่อสารไม่เหมาะกับความเป็นตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกทำงานด้วย และขาดความเข้าใจในทาร์เก็ตผู้ชม หรือผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์

3 เทคนิคปิด Gap สร้าง Major Results ที่แบรนด์ต้องรู้ เมื่อการตลาดต้องผ่านอินฟลูเอนเซอร์และ เซเลบริตี้  

1. Understand Platforms  

  • จากผลสำรวจของ Influencer Marketing Hub จากบริษัทเอเจนซี่ด้านการตลาดชั้นนำ แบรนด์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดกว่า 49.6% ระบุว่า การวัดความสำเร็จในแคมเปญ Influencer Marketing คือ views, reach และ impressions ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็น Tools ที่ใช้วัดความสำเร็จของแบรนด์ในการทำการตลาด-โฆษณา

  • ดังนั้น การทำความเข้าใจ “Nature” ของแพลตฟอร์ม อัลกอริทึม วิธีการทำงานของ AI ว่าแพลตฟอร์มไหนที่เหมาะสมสำหรับแบรนด์ที่สุด ผ่านการทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ด้วยมุมมองของ consumer based หรือผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ถือเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดการสื่อสารความเป็นแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. Understand contents 

  • เข้าใจคอนเทนต์ว่าแบรนด์เหมาะกับคอนเทนต์แบบใด เหมาะกับการสื่อสารแบบไหน หาจุดต่างที่ชัดเจนในการสื่อสาร Message ที่กระตุ้นคนดู สามารถชี้ให้เห็น Pain Point ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับทาร์เก็ตลูกค้าได้จริง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการให้ Message ของแบรนด์เป็นที่จดจำกับลูกค้ามากกว่าแค่การขายสินค้า บริการ ไปตรง ๆ เท่านั้น

3. Understand influencers & audiences:

  • โดยผลสำรวจจากนักการตลาด กว่า 80% ยอมรับว่า Influencer Marketing สามารถดึงดูดลูกค้าที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงแบรนด์ ดังนั้น การเข้าใจ “Core Value” ของอินฟลูเอนเซอร์ หรือเซเลบริตี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยในการเลือกคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ไปจนถึงเข้าใจผู้ติดตามที่เหมาะสมกับแบรนด์ และยังช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน ตรงประเด็น มากกว่าการเลือกจากยอดผู้ติดตามเป็นหลัก

นอกจากนี้ influencer Marketing Hub ได้คาดการณ์อีกว่า เทรนด์การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในปี 2024 จะมีความน่าสนใจที่มากขึ้น เนื่องจากในตลาดมีความต้องการ หรือ Demand ที่สูงขึ้น และคาดว่านักการตลาดจะมีการใช้งบประมาณรวมกันกว่า 7.14 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 แสนล้านบาท โดย Nano and Micro-influencers จะมีการเข้าถึงเพิ่มขึ้นถึง 3.69%, ซึ่งมากขึ้นกว่า Macro-influencers

อีกทั้งแนวโน้มภาพรวมของการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในปี 2024 คาดว่าจะเติบโตขึ้นกว่า 22.3 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 790 ล้านล้านบาท และยังมี ผลสำรวจจากบริษัทโฆษณาระดับโลก เผยอีกว่า 98% ในธุรกิจแบบ Business-to-Business (B2B) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการทำแคมเปญที่เกี่ยวกับ Influencer Marketing และกว่า 77% ได้มีการวางแผนจะทำ Influencer Marketing ที่มากขึ้น

ดังนั้น Influencer Marketing จะเติบโตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการมีอยู่ของโซเชียลมีเดีย และโลกที่ถูกเชื่อมต่อกันด้วยคอนเทนต์ ทำให้ตลาดอินฟลูเอนเซอร์จะยังไม่ถึงทางตันอย่างแน่นอน และสิ่งที่แบรนด์ต้องเตรียมตัวรับมือคือ การทำความเข้าใจกับเทคนิคและช่องทางต่าง ๆ ที่มากขึ้น เพื่อช่วยปิด Gap การทำการตลาดแบรนด์

 #AdAsia2023 #AdAsia2023Seoul #Gushcloud #InfluencerMarketing #ContentCreator



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online