เกิดเป็นดราม่าในโลกโซเชียล เมื่อลูกค้าสั่งไอศกรีมในร้านไอศกรีมดัง ซึ่งมีเมนูชื่อว่า “Kit Kat Fantasy” แต่กลับใช้ขนมช็อกโกแลตบาร์แบรนด์อื่นที่ไม่ใช่ Kit Kat มาเสิร์ฟสร้างความไม่พอใจแก่ลูกค้า  ทำให้เกิดการเปรียบเทียบขนมสองแบรนด์นี้

ดราม่าในโลกโซเชียล

โดยขนมที่ถูกนำมาแทน Kit Kat เป็นแบรนด์ “Take-it” ของบริษัท Delfi Limited อินโดนีเซีย ที่ส่งออกสินค้าขายในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลา 70 ปี

บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 โดย John Chuang และพี่น้องในชื่อ Petra Foods Pte Ltd. ในฐานะผู้ผลิตช็อกโกแลตในอินโดนีเซีย มีแบรนด์ขนมช็อกโกแลตแบรนด์หลัก 10 แบรนด์ อาทิ SilverQueen, Ceres, Van Houten, Goya, Knick Knacks และ Delfi และแบรนด์ย่อยที่สำคัญมากกว่า 20 แบรนด์ ส่งออกทั่วทั้งภูมิภาคในสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ โดยมีตลาดหลักในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

Take-it

ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 กลุ่มบริษัทได้ร่วมลงทุนในธุรกิจส่วนผสมโกโก้โดยมีโรงงานแปรรูปโกโก้ในประเทศฟิลิปปินส์ ตามมาด้วยการเข้าซื้อโรงงานแปรรูปในเม็กซิโก บราซิล และยุโรป

และเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจส่วนผสมโกโก้ในประเทศไทยปี 1989

ในปี 1990 บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด และกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมส่วนผสมโกโก้ในเอเชีย และยังติดอันดับ 4 ของโลก รองจาก ADM, Cargill และ Barry Callebaut ซึ่งจัดหาส่วนผสมโกโก้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ในกว่า 60 ประเทศ และล้วนเป็นบริษัทใหญ่ เช่น Cadbury, Mars, Meiji และ Nestlé

แต่ในปี 2013 Petra Foods ขายธุรกิจส่วนผสมโกโก้ให้ Barry Callebaut และเปลี่ยนชื่อจาก Petra Foods เป็น Delfi Limited ในปี 2016 และเปลี่ยนจากการโฟกัสส่วนผสม โกโก้ เป็นขนมหวานจากช็อกโกแลต

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีชื่อ ได้แก่ Take-it เวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลต เคยมีข้อพิพาททางกฎหมายกับ Nestlé ในสิงคโปร์ ประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกับ Kit Kat แต่สุดท้าย Delfi ก็เป็นฝ่ายชนะ

ส่วน Kit Kat เป็นแบรนด์ของสหราชอาณาจักร แต่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นมาก เพราะเป็นประเทศที่บริโภคคิทแคทมากเป็นอันดับสองของโลก โดยมี Nestlé Japan เป็นผู้ผลิตคิทแคทในประเทศ  ช็อกโกแลตแท่งนี้จำหน่ายใน 100 ประเทศทั่วโลก เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา รวมถึงไทย

Kit Kat ผลิตครั้งแรกในรูปแบบเวเฟอร์ช็อกโกแลตแท่งกรอบ ในช่วงทศวรรษ 1930 ในอังกฤษ บริษัท Rowntree’s (ตั้งชื่อตาม Henry Isaac Rowntree) ดำเนินกิจการโรงโกโก้  และต่อยอดมาทำขนมช็อกโกแลตวางจำหน่าย

ปี 1988 Nestlé ได้เข้าซื้อกิจการ Rowntree’s และเข้าควบคุมการผลิตและการขายในญี่ปุ่น และในที่สุดก็เปลี่ยนกลยุทธ์ไป ตั้งแต่ปี 2010 ยอดขายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นประมาณ 50%


คิทแคทประกอบด้วยเวเฟอร์ 3 ชั้นและไส้ครีมปรุงรส 2 ชั้น เคลือบด้วยช็อกโกแลต มากกว่า 400 รสชาติ บางรสชาติมีจำหน่ายเฉพาะในบางภูมิภาคของประเทศเท่านั้น จึงดึงดูดให้คนอยากสะสม แต่ในญี่ปุ่นด้วยความที่คิทแคทได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้มีรสชาติเฉพาะมากมายที่จำหน่ายในแค่ญี่ปุ่น ทำให้ผลประกอบการของคิทแคทในประเทศนี้คึกคักกว่าประเทศอื่นเป็นพิเศษ  โดยประเทศญี่ปุ่นมียอดขายและกำไรเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับตลาดอื่น ๆ ของเนสท์เล่

Kit Kat VS Take-it

Kit Kat ชื่อ Take-it
Nestlé บริษัท Delfi Limited
อังกฤษ สัญชาติ อินโดนีเซีย
28 บาท ราคา 20 บาท
35 กรัม/4 ชิ้น น้ำหนัก 37 กรัม/4 ชิ้น
น้ำตาล 37% ส่วนประกอบสำคัญ น้ำตาล 43%
โกโก้แมส 10% โกโก้แมส  20%
ไขมันโกโก้ 10% ไขมันโกโก้ 7%
นมผง 21% นมผงธรรมดา 6%
แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online