“แสงแดดเมืองไทยนั้น สดใสอบอุ่นกำลังดี” เป็นคำพูดที่ไม่น่าจะมีคนไทยแท้ ๆ คนไหนพูดได้เต็มปาก (เพราะขนาดหน้าฝน แดดก็ยังจัดจนผิวไหม้ได้ง่าย ๆ) ก็แดดเมืองไทย ใครก็รู้ว่าร้อนระอุดุร้ายขนาดไหน
นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง (ที่เดียวกับในหนังดังอย่าง “Freelance ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” นั่นแหละ) แนะนำว่าคนไทยควรทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวเป็นประจำ หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงระหว่าง 10.00-15.00 น. ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกปีกกว้าง หรือถ้าเป็นไปได้ก็ใช้ร่มเป็นประจำ เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
เพราะผิวหนังจัดเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ปกป้องเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ต้องเอาใจใส่ ถ้าไม่ปกป้อง ไม่ดูแล จนเกิดปัญหาผิวหนัง เช่น ฝ้า ผิวไหม้ ผิวเหี่ยวย่น หรือมะเร็งผิวหนัง โอกาสรักษาหายนั้นน้อยมาก หรือหายก็เป็นใหม่ได้ง่าย แถมต้องใช้เวลารักษานาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เรียกเสียทั้งเวลาและเงินทองชนิดที่อาจจะซื้อครีมกันแดดได้เป็นแกลลอนเลย
ทั้งที่แดดเมืองไทยน่ากลัวขนาดนี้ แต่คุณเชื่อไหมว่า ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2557 พบตัวเลขที่น่าตกใจว่าผู้หญิงไทยในวัยทำงานเพียง 7-8 แสนคน (จากทั้งหมด 15-17 ล้านคน) ที่ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ หรือแค่ 5% เท่านั้น! เท่านั้นยังไม่พอ ผลสำรวจ* ยังบอกว่าผู้หญิงเกินครึ่งไม่รู้ความหมายของค่า SPF ทั้ง ๆ ที่ดัชนีชี้วัดทางการตลาดบอกว่าค่า SPF สูง ๆ คือปัจจัยหลักที่คนจะพิจารณาในการซื้อครีมกันแดด (*ผลสำรวจของ JAMA Dermatology)
คนไม่รู้ว่า SPF คืออะไร
แต่เวลาซื้อครีมกันแดดกลับดูค่า SPF
นี่คือเรื่องแปลกแต่จริง!
เอาล่ะ ถึงเวลาแล้วที่การซื้อครีมกันแดดของคุณจะเป็นเรื่องของ “เหตุผล” ไม่ใช่ “ความเชื่อ” มาลองดูกันว่าการเลือกครีมกันแดดแต่ละครั้ง คุณควรดูอะไรบนฉลากบ้าง
1. หาคำว่า Broad Spectrum หรือ UVA/UVB
แดดไม่ได้มีแค่ UVA หรือ UVB แต่มาพร้อมกันเป็นคู่หูตัวร้าย จดจำง่าย ๆ ว่า
UVA ส่งผลให้เกิดรอยเหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย (aging)
UVB ส่งผลให้ผิวไหม้และคล้ำเสีย (burn)
ฉะนั้นเวลาจะเลือกครีมกันแดด ต้องเลือกที่ป้องกันได้ครบทั้ง UVA และ UVB ส่วน UVC ยังไม่ต้องไปกังวล เพราะถูกชั้นบรรยากาศของโลกสะท้อนกลับไปหมดแล้ว
2. พิจารณาค่า SPF
SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวจากรังสี UVB ฉะนั้นยิ่งครีมกันแดดมีค่า SPF ยิ่งสูงก็ยิ่งดี โดยมีวิธีการเทียบค่า SPF ง่าย ๆ ดังนี้
- ค่า SPF 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
- ค่า SPF 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
- ค่า SPF 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
- ค่า SPF 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
- ค่า SPF 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
- ค่า SPF 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
- ค่า SPF 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
- ค่า SPF 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
แต่ค่า SPF ที่มากกว่า 50 ขึ้นไปนั้นแทบไม่ช่วยดูดซับ UVB เพิ่มอีกเลย (หรือเพิ่มก็น้อยมาก ๆ แทบไม่มีความแตกต่าง) ฉะนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครีมกันแดดที่ระบุค่า SPF สูงปรี๊ดทะลุโลก เพราะค่า SPF สูงเกินไปนั้นหมายถึงสารเคมีในครีมกันแดดที่มากขึ้น ซึ่งไม่ดีต่อผิวเราแน่
ข้อควรระวัง: ค่า SPF ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UVA แล้วอะไรช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA ล่ะ? คำตอบอยู่ข้อถัดไป
3.มองหา PA+++หรือคำว่า UVA ที่มีตัวเลขห้อยท้าย
ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA ของครีมกันแดดยังไม่มีมาตรฐานกลางที่ใช้ร่วมกันทั้งโลก หากเป็นครีมกันแดดที่ใช้มาตรฐานเอเชีย จะมีระบุเป็นอักษร PA ตามด้วยเครื่องหมาย +
PA+ (ป้องกัน UVA พอใช้ได้)
PA++ (ป้องกัน UVA ได้ดี)
PA+++ (ป้องกัน UVA ได้ดีมาก)
หากเป็นครีมกันแดดจากฝั่งยุโรปจะใช้ค่า PPD (Persistent Pigment Darkening) ซึ่งจะระบุเป็นคำว่า UVA พร้อมตัวเลขกำกับบนฉลาก เช่น UVA 4, UVA 8
โดยค่า PPD เปรียบเทียบกับ PA จะมีหน้าตาประมาณนี้
PA+ เท่ากับ UVA 2-4
PA++ เท่ากับ UVA 4-8
PA+++ เท่ากับ UVA 8 ขึ้นไป
4. Hypoallergenic มีก็ดี ยิ่งมี Non-comedogenic ยิ่งดีมาก
ถ้ามีคำนี้ระบุบนฉลาก ก็วางใจได้ระดับหนึ่ง ว่าครีมกันแดดเจ้านั้นมีความเสี่ยงน้อยที่จะทำให้ผิวเราเกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีคำว่า Non-comedogenic กำกับบนฉลากด้วย เพราะหมายถึงครีมกันแดดที่ใช้แล้วไม่อุดตันรูขุมขน สบายใจไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นสิว
5. Water-resistant ครีมกันแดดที่ดีต้องทนน้ำ
คู่ปรับสำคัญของครีมกันแดดก็คือน้ำ ไม่ว่าจะทาครีมกันแดดแล้วไปว่ายน้ำ หรือจะเป็นเหงื่อของเรา ยิ่งอยู่เมืองร้อนแบบไทย เหงื่อไหลไคลย้อยชะล้างครีมออกไปจากผิวหมดจนไม่เหลือประสิทธิภาพการกันแดดเลย โดยมากหากครีมกันแดดระบุว่า water-resistent ก็จะสามารถทาแล้วเล่นน้ำได้นานสูงสุดไม่เกิน 80 นาที ก่อนที่ครีมกันแดดจะถูกน้ำชะล้างออกไปหมด ฉะนั้นหากเจอครีมกันแดดเจ้าไหนไม่ทนน้ำ เมินใส่ได้เลย
6. Fragrance-free ไม่มีน้ำหอม ไม่ทำให้แพ้
อย่าลืมว่าครีมกันแดดมีส่วนผสมเยอะอยู่แล้ว ผิวเราก็ต้องรับภาระหนักในการซึมซาบสารเคมีเหล่านี้ ถ้าคุณผิวค่อนข้างบอบบางและแพ้ง่าย อย่าลืมมองหาคำว่า Fragrance-free หรือ “ปราศจากน้ำหอม” บนฉลากเสมอ
7. มองหาชื่อ Active Ingredients เหล่านี้ในส่วนผสม
ครีมกันแดดออกฤทธิ์ 2 แบบคือ
- แบบ chemical ที่ซึมซาบลงผิวและช่วยซับ UV แทนผิว ไม่ให้สัมผัสและทำร้ายผิวโดยตรง สังเกตง่าย ๆ คือมักจะมี Avobenzone, Benzophenone หรือ Mexoryl XL ในส่วนผสม
- แบบ physical ที่เคลือบผิวไว้ช่วยเป็นเหมือนกระจกสะท้อน UV ไม่ให้สัมผัสผิว สังเกตง่าย ๆ คือมักจะมี Titanium Oxide หรือ Zinc Oxide ในส่วนผสม
แต่ครีมกันแดดบางชนิดที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาก ๆ ก็จะมีส่วนผสมที่ทำหน้าที่ได้ทั้ง physical และ chemical ไปพร้อมกันเลย โดยครีมกันแดดที่ advanced ระดับนี้จะมีคำว่า Bisoctrizole หรือ Tinosorb ระบุไว้บนฉลาก
8. หรือเลือก Cetaphil UVA/UVB Defense SPF 50+
ครีมกันแดดที่ป้องกันครบทั้ง UVA และ UVB มีครบทั้ง 7 ข้อที่ว่ามา
- ด้วยลิขสิทธิ์เทคโนโลยี Mexoryl SX และ XL รวมทั้ง Tinosorb S ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันรังสี UVA และ UVBแบบ chemical และ physical พร้อมกัน
- นวัตกรรมสูตร 7 in 1 ประกอบด้วยอนุภาคกรองรังสียูวี 7 ชนิด และอนุภาคยับยั้งรังสียูวี 1 ชนิด ป้องกันรังสี UVA ได้สูงสุด 28 เท่า ทาแล้วไม่ขาวมันวาวเหนอะหนะผิว หรือที่เรียกกันว่า “หน้าวอก” เพราะใช้ Micronized Titanium Dioxide ที่มีอณูละเอียดซึมซาบเร็ว
- อ่อนโยน เป็นสูตร fragrance-free ปราศจากน้ำหอม ลดโอกาสแพ้และระคายเคือง และเป็นสูตร non-comedogenic ไม่อุดตัน ไม่ก่อสิว เหมาะสำหรับทาเป็นประจำทุกวัน ทั้งผิวหน้าและผิวกาย
หาซื้อง่าย มีจำหน่ายที่
Boots, Health Up, SIAMDRUG, ฟาสซิโน, TSURUHA, SAVE DRUG, P&F, LAB และร้านขายยาชั้นนำทั่วไป
ช้อปออนไลน์ ถูกกว่า คลิก
ติดตาม Cetaphil Thailand ได้ที่
https://www.facebook.com/CetaphilThailand/
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ