ในที่สุด 14 มิถุนายนนี้ คอบอลทั่วโลกก็จะได้ร่วมชม ร่วมเชียร์ฟุตบอลโลกครั้งล่าสุด โดยมีรัสเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนัดเปิดการแข่งขันจะเป็นการพบกับระหว่างรัสเซียกับซาอุดิอารเบียที่สนาม Luzniki Stadium ในกรุง Moscow และแน่นอนว่าตลอด Tournament โลกทั้งใบจะหายใจเข้าออกเป็นเกมลูกหนัง ไม่ต่างจากการชิงความเป็นสุดยอดในเชิงลูกหนังครั้งก่อนๆ ที่เวียนมาทุกๆ 4 ปี

หลังสิ้นเสียงนกหวีดสุดท้ายในนัดชิงชนะเลิศ 15 กรกฎาคมเราจะได้คำตอบว่าทีมชาติใดได้ครองแชมป์บน “แดนหมีขาว”แต่คำถามที่ยังคงรอคำตอบคือ ฟุตบอลโลกครั้งต่อๆไป ประเทศเดียวจะสามารถแบกรับภาระการเป็นเจ้าภาพได้อีกหรือไม่ จนมีการคาดกันว่าในอนาคตเจ้าภาพร่วมอาจเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้

งบจัดมหกรรมดวลแข้งมากเกินรับไหว จนต้องขอจับมือกับเพื่อนบ้าน

ขึ้นชื่อว่ามหกรรมกีฬา เม็ดเงินที่ใช้ในการจัดงานทั้งหมดย่อมมหาศาล โดยสำหรับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกของรัสเซีย มีรายงานว่างบประมาณที่รัฐบาลของประธานาธิบดี Vladimir Putin ใช้ไปกับการจัดงานสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 372,000 ล้านบาท)

เจ้าภาพร่วม Worrldcup 2018

ตัวเลขดังกล่าวทำให้หลายชาติคิดหนักว่า หากได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพแล้วจะส่งผลต่อสถานการณ์เงินของประเทศหรือไม่ เพราะโครงการที่ต้องเร่งให้เสร็จก่อนนัดประเดิมการแข่งขัน ไม่ได้มีแต่สนามกีฬาขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบขนส่งมวลชน รวมถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชม นักฟุตบอลและทีมงานอีกด้วย

เพื่อลดความเสี่ยงจึงทำให้มีหลายชาติอย่างสหรัฐ-แคนาดาและเม็กซิโกจับมือกัน จับมือกันเป็น เจ้าภาพร่วม ในการคัดเลือกชาติที่จัดการแข่งขันในปี 2026 ซึ่งประธานาธิบดี Donald Trump ของสหรัฐประกาศหนุนเต็มที่ ด้านอาร์เจนติน่า อุรุกวัย และปารากวัย ก็ขอลงชิงชัยในการคัดเลือกเจ้าภาพปี 2030 แบบสามประสาน ซึ่งทาง Fernando Carnando รัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของอุรุกวัย เชื่อว่านี่คือแนวทางที่เป็นไปได้มากสุดสำหรับงานมหกรรมกีฬาระดับนี้

ทีมร่วมเตะเพิ่ม ก็ต้องเติมจำนวนเจ้าภาพด้วย

ฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 21 โดยสิ่งที่คนส่วนใหญ่สนใจและจำได้จาก 20 ครั้งที่ผ่านมาคือนักเตะดังๆ อย่าง Pele ,Diego Maradona และ Zidedine Zidane ชาติได้แชมป์หรือเหตุการณ์สำคัญ ทว่ารู้หรือไม่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้เพิ่มจำนวนทีมเข้าแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

จากเพียง 13 ทีมในปี 1930 ที่อุรุกวัยเป็นเจ้าภาพ ขยับเป็น 16 ในครั้งต่อมา ตามด้วย 24 ทีมในปี 1982 จนมาหยุดอยู่ที่ 32 ทีมมาตั้งแต่ปี 1998 ซึ่งฝรั่งเศสควบทั้งตำแหน่งเจ้าภาพและทีมแชมป์ แต่ Gianni Infantino ประธาน FIFA คนปัจจุบันเสนอว่าถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้ง

เจ้าภาพร่วม Infantino

Infantino เสนอว่าด้วยมาตรฐานฟุตบอลทั่วโลกและฝีเท้าของนักเตะที่ดีขึ้น ควรเพิ่มทีมที่เข้าแข่งขันเพิ่มเป็น 48 ทีม ซึ่งหากผู้บริหารชาวสวิสเชื้อสายอิตาลีวัย 48 ปียังอยู่ในตำแหน่งต่อไป ก็มีความเป็นได้ว่าฟุตบอลโลกปี 2022 กาตาร์ อาจเป็น เจ้าภาพร่วม กับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาหรับ อย่าง คูเวต ซาอุดิอารเบียหรือสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์

Killer Pass จากเวทียุโรป

ในวงการฟุตบอล Killer Pass หมายถึงการประสานงานกันนักเตะสองคน ซึ่งคนแรกส่งบอลใส่พานมาให้อีกคนทำประตูได้เลย ในบริบทของทำงานหรือบริหารจัดการ คงไม่ต่างจากการสอดประสานและร่วมมือกันเพื่อให้งานใหญ่สำเร็จลุล่วง โดยการรับหน้าที่ เจ้าภาพร่วม ในฟุตบอลโลก เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียว จากการจับมือกันของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เมื่อปี 2002

เจ้าภาพร่วม Worldcup 2002

แต่รูปแบบนี้สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (UEFA) ใช้มาแล้วหลาย 3 ครั้ง เริ่มจาก เบลเยียม-เนเธอร์แลนด์ ปี 2000 ต่อด้วย ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์ปี 2008 และโปแลนด์-ยูเครน 2012

เจ้าภาพร่วม EURO 2020

ส่วนในปี 2020 UEFA ไปไกลกว่านั้น ด้วยการให้ 12 ประเทศเป็นเจ้าภาพร่วมกัน เพื่อฉลองครบรอบ 60 ปีของการแข่งขัน แม้ Michel Platini อดีตประธาน UEFA และอดีตนักฟุตบอลฝรั่งเศสชื่อดัง ได้รับคำชื่นชมที่ผลักดันโครงการนี้จนได้รับการอนุมัติจากสมาคมลูกหนังทั่วทั้งทวีป แต่เจ้าของแนวคิดนี้คือ Infantino ในสมัยยังทำหน้าที่้เป็นเลขาธิการ UEFA จึงเป็น Momentum ที่เจ้าตัวต้องการส่งต่อและขยายผลไปสู่เวทีลูกหนังระดับโลกอีกด้วย / bbc ,wikipedia

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online