ยุคนี้หากใครอยากจะฟังเพลงคงลืม วิทยุ,เคลื่อนเล่น CD,ซาวน์เบาท์ แต่จะเป็นยุคที่จะเลือกแล้วว่าฉันจะเลือกใช้ application ไหนที่ฟรี หรือมีค่าใช้จ่าย รายเดือนถูกสุด แถมต้องมีเพลงให้เลือกฟังเยอะ

เพราะพฤติกรรมคนไทยไม่ว่าจะยุคอนาล็อก หรือ ดิจิตอล ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปไหนยังคงชอบของฟรี ไม่แปลกที่ธุรกิจ Music Streaming ช่วงนี้จะแปะป้ายคำว่า “ฟรี” เพื่อเรียกลูกค้าคอเพลงให้มาทดลองใช้ จากนั้นก็หวังผลว่าจะ “ติดใจ ติดหู” ขนาดไหน เพื่ออัพเกรดมาสู่การจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือนแบบระยะยาว    

Music Streaming

แม้ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขชี้วัดว่าธุรกิจ Music Streaming ในเมืองไทยมีมูลค่าเท่าไร ? แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่านี้คือตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลแถมยังมีอัตราการเติบโตหวือหวาในทุกๆ ปี เหตุผลมาจากอินเทอร์เน็ตความเร็ว 4G ที่รวดเร็วแถมยังมีค่าบริการถูกลงเรื่อยๆ สุดท้ายคือพฤติกรรมคนฟังที่เริ่มหันมาฟังเพลงระบบ Music Streaming มากขึ้นเรื่อยๆ

ไพ่ที่เหนือกว่าของ Apple 

Apple ผู้เคยปฏิวัติการฟังเพลงมาสู่ยุคดิจิตอลเป็นรายแรกๆ จากการฟังเพลงด้วยเครื่องเล่นเทป CD สารพัดรูปแบบ มาเป็นการฟังเพลงผ่านเครื่องเล่นเพลง iPod พร้อมมีร้านค้าออนไลน์ขายเพลงที่ชื่อว่า iTunes

แต่เมื่อมาถึงยุคฟังเพลง 4G ที่เกิดสารพัด Application ให้เลือกว่าอันไหนตอบสนองพฤติกรรมตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญทุก Application นั้นเหมาจ่ายรายเดือนฟังได้ทุกเพลง  iTunes ที่เคยฟังได้แค่อัลบั้มเพลงที่ซื้อไว้เท่านั้น ย่อมจะแข่งขันในตลาดยุคนี้ที่วัดกันในเรื่องความ “คุ้มค่า” ไม่ได้

Apple Music จึงเกิดขึ้นที่เป็นบริการเหมาจ่ายรายเดือนแต่สิ่งที่ Apple เหนือกว่าคู่แข่งนั้นคือการมีเพลงเอ็กซ์คลูซีฟที่หาฟังได้เฉพาะที่ Apple Music เท่านั้น

ที่น่าสนใจ Apple Music ถือเป็น Application สามัญประจำเครื่องทุกชนิดของบริษัทแห่งนี้ไม่ว่าจะ iphone, ipad ต่างมี Apple Music ติดตั้งมาอยู่ในเครื่องทันที ซึ่งนั้นหมายความว่า Apple Music มีโอกาสขายสมาชิกรายเดือนสูงกว่า Application คู่แข่งขึ้นมาทันทีหากใครที่ซื้อสินค้าแบรนด์ Apple  

ขณะเดียวกัน Apple ก็ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่ App Store อย่างเดียว แต่ยังเลือกไปที่ระบบ Android เพื่อที่จะทำให้ฐานลูกค้ากว้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับ Application อื่นๆได้ 

ส่วน Application ฟังเพลง Streaming เบอร์หนึ่งสัญชาติสวีเดนอย่าง Spotify ที่เพิ่งเข้ามาเปิดตลาดในไทยช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็เป็น Application อิสระมีให้เลือกทั้งระบบ ios และ Android

โดยคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของ Spotify ในเวลานี้คือผู้นำตลาดในเมืองไทยอย่าง JOOX ที่กำข้อได้เปรียบในการมีเพลง Local จำนวนมหาศาลหากเทียบกับ Application อื่นๆ ณ เวลานี้

Spotify แอพฯสวีเดน ผู้ท้าชิงเจ้าตลาดไทย

แต่อย่าลืมว่าการเพิ่มจำนวน Content เพลงไทยไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะค่ายเพลงเวลานี้ก็รู้ดีแล้วว่า “เกมตลาดเพลงไปทางไหน” ตัวอย่างที่อ้างอิงชัดเจนที่สุดคือยักษ์ใหญ่อย่าง “แกรมมี่” ที่ประกาศชัดเจนว่าพร้อมที่จะให้ผลงานทุกเพลงของบริษัทไปอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างรายได้ในการขายเพลงดิจิตอลให้มากที่สุด เพราะยุคนี้มูลค่าเพลงลดลงอย่างมหาศาล ไม่ได้ขายกันเพลงต่อเพลงแต่ขายกันแบบ ยกแพ็คเกจ เลยทีเดียว

เพราะฉะนั้นเชื่อได้เลยว่าอีกไม่นาน Spotify เองก็จะมี Content เพลงไทยเทียบเท่ากับ JOOX แล้วที่นี้จะตัดสินกันตรงไหนว่าในอนาคต ใครจะเป็นผู้ชนะในเกมนี้

โปรโมชั่น,จำนวนเพลง,คุณภาพเสียง, สิ่งที่พูดมาทั้งหมดเป็นอะไรที่สามารถ Copy กันได้อย่างรวดเร็วแค่ชั่วข้ามคืน

แต่สิ่งที่ Spotify เหนือกว่า JOOX รวมไปถึง Application อื่นๆ นั้นคือระบบ AI อัจฉริยะ ที่ทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรมของคนฟัง ผ่านการฟังเพลงไหนซ้ำ หรือกดข้ามเพลงแนวไหนบ่อยๆ จากนั้นก็จะจัดการเสิร์ฟเพลงใหม่ที่เรายังไม่เคยฟังแล้วคาดว่าเราจะชอบมาให้เลือก อีกทั้งยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้

แล้วฟีเจอร์เหล่านี้แหละที่ Spotify กำลังคิดค้นพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็น “ไพ่ใบที่เหนือกว่าคู่แข่ง”

เพราะ Spotify รู้ดีว่าการฟังเพลงในยุคนี้ ใครเสิร์ฟความสะดวกสบายที่ผสมฟีเจอร์การใช้งานที่สุด Wow และต้องอยู่ในกรอบของคำว่า “คุ้มค่า” มากที่สุดจะเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดนี้

 

Music Streaming


อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online