เอสซีจี เป็นองค์กรหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองมาตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษ แต่ในยุคนี้ เอสซีจี จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก ในวิธีการใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิมและไม่เคยทำมาก่อนด้วย 

ช้างตัวนี้เดินแบบช้าๆ อย่างมั่นคงไม่ได้แล้ว แต่ต้องเต้นระบำได้ด้วย  

เมื่อ 10 กว่าปีก่อนในยุคของกานต์ ตระกูลฮุน เป็น CEO เอสซีจีเป็นองค์กรแรกๆ ของเมืองไทยที่ปรับตัวเข้าสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม เริ่มตั้งแต่ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร, พลิกคน, ทุ่มงบประมาณในเรื่อง R&D เพื่อสร้าง Innovation และการเปิดใจในการทำงานกับคนรุ่นใหม่ๆ

ในยุคของ รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส CEO คนปัจจุบัน “Speed” ของการเปลี่ยนแปลงยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิม การพลิกองค์กรใหญ่ที่โครงสร้างการทำงานซับซ้อนมายาวนานนับ 100 ปี เปลี่ยนให้เร็วอย่างไรก็ไม่ทันกับโลกภายนอกที่ไปเร็วกว่ามาก

พัฒนา ด้านนวัตกรรม

นั่นคือเหตุผลสำคัญที่เอสซีจีต้องตั้งหน่วยงาน Digital Transformation ขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนองค์กรขนานไปกับการทำงานในบริษัทเอสซีจีเดิมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในเกือบทุกหน่วยงาน

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเอสซีจีได้เตรียมงบประมาณด้านการลงทุนเรื่องนวัตกรรรมในแต่ละปีไว้ประมาณ 1% ของยอดขาย หรือ 4,000 ล้านบาท แต่ในปีที่ผ่านมาได้ใส่เงินเพิ่มลงไปอีกเพื่อลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านทางหน่วยงานของ Digital Transformation อีก 6,000 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี 

นั่นหมายความว่าภายใน 5 ปีนี้เอสซีจีได้ตั้งงบประมาณสูงถึง 26,000 ล้านบาท เพื่อเป้าหมายสำคัญสูงสุดคือต้องการพัฒนาสินค้าและบริการให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น “PASSION FOR BETTER”

ดร.จาชชัว แพส ผู้อำนวยการ Digital Transformation เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการ AddVentures โดยเอสซีจี ได้อธิบายรูปแบบการทำงานของ Digital Transformation ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. ส่วนงานภายนอก จัดตั้ง AddVentures เป็นหน่วยงานด้านการลงทุน (Corporate Venture Capital) ของเอสซีจีตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

 

พัฒนา ด้านนวัตกรรมปัจจุบัน AddVentures ได้มีการลงทุนไปแล้ว 11 ตัวกับกองทุนชั้นนำที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ (Fund of Fund Investment) 3 ตัวคือ wavemaker ในสิงคโปร์ และ vertex ในกลุ่มเทมาเส็ก สิงคโปร์ ทั้ง 2 บริษัทนี้จะเป็นพาร์ตเนอร์สำคัญให้กับเอสซีจีเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพได้เร็วขึ้น รวมทั้งลงทุนใน PLUG AND PLAY บริษัทผู้พัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลก  

ส่วนการลงทุนโดยตรงในสตาร์ทอัพ (Direct Investment) อีก 8 ตัว เช่น ความร่วมมือกับ GIZTIX สตาร์ทอัพด้าน Logistics Market Place, BUILK แพลตฟอร์มการบริหารธุรกิจก่อสร้างซึ่งมีอยู่แล้วใน 5 ประเทศ และ Baania แพลตฟอร์มค้นหาอสังหาริมทรัพย์พร้อมบริการข้อมูลครบวงจร

การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญก็จริงแต่จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาทั้งนั้น ดังนั้นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการที่หน่วยงานนี้ไปสร้างความร่วมมือในเชิงพาณิชย์กับบริษัทภายนอก เพื่อเอากลับมาใช้แก้ปัญหาในแต่ละกลุ่มธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทด้านเทคโนโลยี ทั้งที่เป็น Early stage และ Growth stage startups ทั่วโลก ซึ่งมีโครงการที่มีความคืบหน้าแล้วกว่า 70 โครงการพัฒนา ด้านนวัตกรรม

2. ส่วนงานภายในเป็นการบ่มเพาะส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพจากบุคลากรภายในของเอสซีจีเอง ( Internal Startup) เพื่อผลักดันให้พนักงานมีศักยภาพ มี Passion ในการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้า

โดยพนักงานทุกคนในแต่ละส่วนของบิสซิเนสยูนิต คือ เคมิคอลล์, ซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง และแพ็กเกจจิ้ง สามารถนำเสนอโมเดลธุรกิจของตัวเองเข้ามาร่วมโครงการ Internal Startup Program ขึ้น ปัจจุบันมี Internal Startup แล้วประมาณ 10 ทีม ที่กำลังทำงานร่วมกันผ่านกระบวนการทำงานที่เรียกว่า HATCH เริ่มจากการตั้งโจทย์ของปัญหาว่าผู้บริโภคต้องการจริงหรือเปล่า ทางออกจะเป็นแบบไหน WALK หาวิธีการแก้ไขเพื่อตอบโจทย์ และ FIY  การคิดเป็นรูปแบบธุรกิจ

ที่น่าสนใจอย่างมาก เมื่อจะ “บิน” เอสซีจียังเปิดโอกาสให้พนักงานแยกออกไปตั้งบริษัทเป็นเจ้าของเอง หรือยังอยู่ภายใต้เอสซีจีก็ได้     

ทีมทั้งหมดที่อยู่ในระหว่างกระบวนการนั้นมีทั้งการตอบโจทย์ลูกค้าใน 3 หมวดธุรกิจใหญ่ของเอสซีจี แต่บางทีมโจทย์ที่ตั้งขึ้นมาอาจจะเป็นเรื่องความสนใจส่วนตัวของพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจของเอสซีจีเลยก็ได้       

3. ส่วนงาน Core Transformation โดยนำเรื่องของ AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยทำ Data Analytics และ Digital Marketing เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดความเสี่ยงให้กับเอสซีจีและบริษัทต่างๆ ในเครือ

Digital Transformation จึงเป็นรูปแบบการทำงานขององค์กรเล็กในองค์กรใหญ่ ที่ผู้บริหารเอสซีจีเชื่อว่าจะสามารถขับเคลื่อนองค์กร 100 ปีแห่งนี้ให้ไปข้างหน้าได้อย่าง “รวดเร็ว” มี “คุณภาพ” และยั่งยืน

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline


 

 

 



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน