ด้วยจำนวนประชากรที่มากสุดในโลก จีนจึงเป็นขุมทองของเหล่าแบรนด์ดังมาโดยตลอด ทว่าหลังเศรษฐกิจขยายตัว รายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แบรนด์ระดับโลกก็เลยงานเข้า จนต้องบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า คนจีน เอาใจยากขึ้น 

นี่คือโจทย์ใหญ่และยากที่แบรนด์ดังต้องแก้ให้ได้ ไม่ต่างจากขุนศึกของกองทัพต่างชาติที่ปีนข้ามกำแพงเมืองจีนเข้ามาได้แล้ว แต่อยู่ระหว่างหาทางออกจากค่ายกล โดยมีภารกิจยึดบัลลังก์ฮ่องเต้เป็นเป้าหมายต่อไป

 

Coca-Cola: เครื่องดื่มมากมายจากค่ายน้ำดำ ที่ไม่สามารถดับกระหาย   

เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ แบรนด์เครื่องดื่มจึงมีรสชาติใหม่ๆ หรือแตกแบรนด์ลูกออกมาอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะกินระยะเวลานาน แต่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา Coca-Cola ในจีนมีเครื่องดื่มออกมาถึง 30 แบรนด์ในเครื่องดื่มหลายประเภท ตั้งแต่นมถั่วเหลืองไปจนถึงน้ำแอปเปิ้ลปั่นผสมใยอาหาร ต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติในการออกผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์เดิม เพื่อเพิ่มการจดจำและสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์

ชาวจีน Coca-Cola

Curtis Ferguson ประธานบริหาร (CEO) ของ Coca-Cola ในจีน กล่าวว่า “ผู้บริโภคชาวจีนมีความต้องการที่หลากหลาย และเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก โดยหากแบรนด์ใหญ่ไม่ออกผลิตภัณฑ์ออกมารองรับความต้องการก็อาจถูกโจมตี จนเสื่อมความนิยมลงไป”

 

Starbucks: กาแฟถ้วยต่อไปที่ต้องใช้ความเร็วและล้ำ 

แบรนด์ระดับโลกแบรนด์ถัดมาที่ต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจในจีนเช่นกันคือ Starbucks ยืนยันได้จากการประกาศลดจำนวนการขยายสาขา ทั้งที่ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านั้นเพิ่งแถลงว่าจะเร่งขยายสาขาที่ปัจจุบันมีอยู่มากถึง 3,000 สาขา โดยคาดว่าเป็นผลมาจากการที่ Luckin Coffee แบรนด์เจ้าถิ่นในธุรกิจเดียวกัน สามารถขยายสาขาได้ถึง 500 แห่งในเวลาเพียง 1 ปี และอำนวยความสะดวกให้คอกาแฟด้วยการสั่งผ่านช่องทาง Online

ชาวจีน Starbucks

เพื่อลดกระแสวิจารณ์เรื่องปรับตัวช้าและไม่ทันความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ Starbucks จึงจับมือกับ Alibaba ค่าย E-Commerce ดังของจีน เพื่อให้การสั่งและส่งกาแฟสะดวกรวดเร็วขึ้น

 

Apple: แบรนด์ดังที่กลายมาเป็นผู้รั้งท้ายในตลาด Smartphone จีน

หากเปรียบความรุนแรงของสถานการณ์ในจีนที่ Starbucks และ Apple เผชิญอยู่เป็นคลื่น แบรนด์แรกแค่ทำให้เรือโคลง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแบรนด์หลังที่ถูกคลื่นซัดเรือล่มไปเรียบร้อยแล้ว ต้องหาเรือลำใหม่เท่านั้นหากอยากแล่นต่อไปถึงฝั่ง เพราะค่าย Technology เจ้าของ iPhone เสียส่วนแบ่งตลาด Smartphone ในแดนมังกรให้แบรนด์เจ้าถิ่นมาสองปีแล้ว

ชาวจีน Apple Store Beijing

ขณะเดียวกันสถานะของ Huawei, Oppo, Vivo และ Xiaomi ในระดับโลกก็ดีขึ้นมาก ทั้งในเรื่อง Spec เครื่อง คุณภาพ และราคาก็ขยับขึ้นไปสู้ตลาดบนได้แล้ว จนทำให้ชาวจีนมีความมั่นใจ Smartphone แบรนด์ประเทศตัวเอง และอาจเป็นตัวเลือกแรกของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเมื่อจะซื้อเครื่องใหม่ มากกว่า iPhone สามรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว / cnn

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online