ผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย ปี 2020 เปลี่ยนไปอย่างไร ทุกคำตอบที่นักการตลาดต้องรู้
โซเชียลมีเดีย และพฤติกรรมผู้บริโภคในโซเชียลมีเดียก็มีการเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภค ได้กลายเป็นความท้าทายของนักการตลาดในการที่จะมองหาเครื่องมือและในการสื่อสารไปยังผู้บริโภคผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารโดนในและได้ผลลัพธ์กับมาทางธุรกิจที่มีประสิทธิผล
โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ยิ่งต้องทำให้นักการตลาดต้องคำนึงถึงการใช้เม็ดเงินในการสื่อสารได้ให้ประสิทธิผลสูงสุดให้กับธุรกิจ
และการที่นักการตลาดจะสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างแม่นยำนั้น จำเป็นต้องรู้จักพฤติกรรมผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจงและหลากหลายมิตินับตั้งแต่ Mega Trend ไปจนถึงไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล
Marketeer ได้พูดคุยกับ กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) เพื่อมองถึงทิศทางที่เป็น Mega Trend ของผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย 2020
1.เพลงลูกทุ่งคอนเทนต์ทรงพลัง
ในวันนี้ “เพลงลูกทุ่ง” ได้เปลี่ยนไปในโลกโซเชียลมีเดีย
กล้าได้บอกกับเราว่าในอดีตที่นักการตลาดหลายคนมองว่า เพลงลูกทุ่ง เป็นคอนเทนต์ที่ ”ไม่แมส” ในโลกโซเชียลมีเดีย เพราะผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่ฟังเพลงลูกทุ่ง จะเป็นต่างจังหวัดที่ยังเข้าถึงสมาร์ทโฟนและโลกออนไลน์ได้อย่างจำกัด
แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนไทยเข้าถึงสมาร์ทโฟน และเชื่อมต่ออินเทอร์ได้อย่างแพร่หลาย จน Internet Penetration และ Social Media Penetration ในประเทศไทยมีสัดส่วนมากถึง 74% จากประชากรทั้งประเทศ
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง ย่อมหมายถึงประชากรในต่างจังหวัดที่นิยมฟังเพลงลูกทุ่งเข้ามาอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตด้วย และพวกเขาเหล่านั้นก็ได้เพลงลูกทุ่ง และดูคลิปเพลงลูกทุ่ง ต่างๆ ผ่าน ช่องทางโซเชียลมีเดียที่เรียกว่ายูทูป
ส่วน Marketeer ได้มองเพิ่มเติมว่า ในวันนี้เพลงลูกทุ่งมีการพัฒนาเนื้อร้องและทำนองให้มีความเป็นสากลและเข้าถึงคนรุ่นใหม่ในเมืองมากขึ้น และทำให้เพลงลูกทุ่งได้กลายเป็นเพลงที่มีความแมสในตัวมากกว่าในอดีต
และสิ่งเหล่านี้ทำให้เพลงลูกทุ่งได้กลายเป็นคอนเทนต์ที่ทรงพลังที่จะกลายเป็นโอกาสของนักการตลาดในการสื่อสารถึงผู้บริโภคได้ไม่ยาก
จากข้อมูลของไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) พบว่า ในปีที่ผ่านมา เพลงลูกทุ่งในโซเชียลมีเดีย เป็นคอนเทนต์ที่มีการ Engagement กับประชากรโซเชียลมากกว่าคอนเทนต์เพลงอื่นๆ 12% และผู้ที่ Collaboration กับเพลงลูกทึ่ง จะสามารถเพิ่ม Engagement จากเดิมถึง 480% จากความแมสของเพลงที่ให้ผู้ร่วม Collaboration สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นการที่ Girl Group อย่าง BNK48 ร่วมกับ ไทบ้าน ร่วมกันทำเพลง โดดดิด่ง , ศิลปินร็อคอย่าง KLEAR ร่วมกับไผ่ พงศธร ในเพลงให้นานกว่าที่เคย และอื่นอีกมากมาย เพื่อพาตัวเองสู่ฐานลูกค้าใหม่ๆที่แมสกว่าเดิม
ซึ่งปรากฏารณ์นี้ต่างจากเดิมที่เพลงลูกทุ่งจะอาศัยจับมือกับเพลงสตริงเพื่ออัพเกรดตัวเองเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ตัวเอง ให้เป็นศิลปินที่เหมาะสำหรับคนทุกกลุ่ม
2.Crisis Monitoring / Crisis Management
ในอดีตเมื่อผู้บริโภคไม่พอใจแบรนด์ หรือให้แบรนด์ออกมาทำบางสิ่งบางอย่างให้กับผู้บริโภค รวมถึงตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะโทรไปหาที่ Call Center เพื่อให้ Call Center เป็นตัวกลางในการรับเรื่องและส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา หรือออกมาทำในบางสิ่งบางอย่างตามที่ต้องการ
ในวันนี้โลกโซเชียลได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ให้มีอำนาจในมือมากขึ้น และใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือในการกดดันแบรนด์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบ
การที่โซเชียลเป็นกระบอกเสียงที่ทรงพลังให้กับผู้บริโภคเพื่อกดดันสิ่งต่างๆ กับแบรนด์ จึงเป็นหน้าที่ของนักการตลาดในการมอนิเตอร์โซเชียลมีเดีย เพื่อตรวจเช็คและตรวจสอบ คอมเมนต์ที่ผู้บริโภคมีกับแบรนด์ โดยเฉพาะคอมเมนต์ด้านลบ รวมถึงเหตุการณ์ที่เป็นข้อพิพากษ์ต่างๆ พร้อมแก้ไขอย่างรวดเร็วในภาษาและการสื่อสารที่ตรงกับแพลตฟอร์มนั้นๆ
กล้าได้แนะนำว่าบางครั้งการแก้ไขปัญหาและข้อพิพากษ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นของแบรนด์ อาจมีการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนในการให้ข้อเท็จจริงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น และสิ่งต่างๆ ที่แบรนด์ออกมาแก้ไข แทนการใช้ Influencer ในการแก้ข่าว
เพราะสื่อมวลชนมีความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการไล่เรียงถึงปัญหา สอบถามตรวจสอบข้อเท็จจริงของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่างๆ แบบตรงไปตรงมา ซึ่งกล้าได้บอกว่า ส่วนใหญ่เรื่องราวข้อพิพากษ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะสามารถจบลงได้ผ่านการนำเสนอของสื่อ
3.อินไซด์ผู้บริโภคของตัวเองมากขึ้น แทนการมองผู้บริโภคของคู่แข่งมาแบ่งเค้ก
ผู้บริโภคในโลกโซเชียลมีเดีย มีความซับซ้อนกว่าเดิม และในวันที่เม็ดเงินการตลาดมีอยู่จำกัด การที่แบรนด์จะทุ่มเม็ดเงินไปกับกลุ่มเป้าหมายของคู่แข่ง เพราะมองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน เพื่อของแบ่งเค้กผู้บริโภคของคู่แข่งมาแบรนด์ตัวเอง อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ตอบโจทย์ในเวลานี้เท่าไรนัก
เพราะการแบ่งเค้กจากคู่แข่งย่อมหมายถึงแบรนด์ต้องใช้พลังเงินในการทุ่มการตลาดจำนวนมากในการดึงลูกค้า และทุกแบรนด์คิดอย่างเดียวกันสงครามการแข่งขันจะกลายเป็น Red Ocean ที่ใครพลังเงินหนาสุดคนนั้นชนะไป
แต่การสื่อสารในยุคนี้ แบรนด์สามารถหาความแตกต่างจากคู่แข่งด้วยการ Research ผ่าน Social Listening และการนำ AI มาประมวลผล เพื่อหาดาต้าเบสที่เป็นดาต้าเบสเฉพาะเจาะจงของแบรนด์ เพื่อหาความแตกต่างของแบรนด์กับคู่แข่ง และอินไซด์ของกลุ่มลูกค้า เพื่อทำโปรโมชั่นและทำตลาดผ่านอินไซด์เหล่านี้
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



