ผลกระทบจากโควิด 19 มีอะไรบ้าง และในมุมของนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไร ?

โควิด-19 ส่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ไม่เว้นแต่ประเทศไทย ในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค สภาพสังคม

 

ผลกระทบจากโควิด ด้านเศรษฐกิจ

กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) บอกกับเราว่าผลกระทบต่อโควิด-19 นับว่าเป็นความท้าทายที่สุดสำหรับเวลานี้สำหรับบุคลากรในแวดวงการตลาดและการสื่อสาร

พร้อมสรุปผลกระทบกับที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยพร้อมแนวทางในการแนะนำสำหรับนักการตลาดที่จะผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน

จากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่กรุ๊ปเอ็มอ้างอิงจากผลการวิจัยล่าสุดจากธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ Research) พบว่า จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจคือ

1.)ความผันผวนของค่าเงินบาทมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โดยเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง

2.)ตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับตลาดการค้าหลักอย่างปจีนมีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ช่วงต้นปีจากมาตรการต่างๆ ของจีนในการลดการแพร่ระบาดของไวรัส

3.)อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก จากเดิมที่ก่อนที่ประเทศไทยจะรับผลกระทบจากเหตุการณ์โควิด-19 คาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโต 3% ตลอดทั้งปี

แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมีทำให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการติดลบ และอาจจะกลับมาเติบโตอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปถ้าสามารถควบคุมการระบาดไม่ยืดเยื้อออกไปในระยะยาว และจะทำให้ในปีนี้

 

พฤติกรรมผู้บริโภค

นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 คืบคลานเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

และจากข้อมูลของกรุ๊ปเอ็มพบว่า การค้นหาเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 บนโลกออนไลน์ ขึ้นมาสูงสุดในช่วงกลางเดือนมีนาคม ทั้งที่เพิ่งได้รับการเรียกในสื่อต่าง ๆ แทนคำว่าไวรัสโคโรนามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และยังเป็นเทรนด์การค้นหาที่สูงกว่าฝุ่น PM2.5 หลายเท่า

นอกจากโควิด-19 กลายเป็นเทรนด์การค้นหายอดนิยมแล้ว จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะจำกัดตัวเองให้อยู่ในบริเวณบ้านมากขึ้น

ซึ่งส่งผลให้จำนวนการติดตามสถานข่าวสารผ่านทางช่องทางสื่อทั้งทางออนไลน์และทีวีสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร และข่าวบนสื่อทีวี รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อที่เน้นไปที่การซื้อของออนไลน์มากขึ้น

นอกจากยอดการค้นหาและยอดการค้าปลีกสินค้าประเภทสุขอนามัยที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ข้อมูลจากกรุ๊ปเอ็ม พบว่ายอดค้าปลีกบนออนไลน์มาร์เก็ตเพลสหลักอย่าง ‘ลาซาด้า’ มีการเติบโตขึ้นกว่า 50% ตลอดทั้งไตรมาส

และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นต่อเนื่องจากการที่ออนไลน์มาร์เก็ตเพลส รวมถึงร้านค้าปลีกรายย่อยบนระบบออนไลน์พร้อมใจกันออกแคมเปญกระตุ้นยอดขายเพื่อรับโอกาสทางการค้า

โดยผู้ค้าที่ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบการผลิตจากประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างเช่นประเทศจีน เริ่มมีการวางแผนสำรองกำลังการผลิตรวมถึงสต็อกสินค้าผลิตหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย

ในส่วนของผู้บริโภค พบว่าสำหรับสินค้าบางประเภทที่ไม่รับความนิยมในการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงแบรนด์ที่เน้นขายในช่องทางหน้าร้านเป็นหลักอย่างเช่นบริการร้านอาหาร จะเห็นว่าผู้จำหน่ายเริ่มมีการปรับตัวรวมถึงปรับช่องทางการขายเพื่อรับมือกับสถานการณ์

อย่างไรก็ตามยอดค้าปลีกผ่านอีคอมเมิร์ซคิดเป็นราว 2-3% ของยอดค้าปลีกทั้งประเทศ ดังนั้น หากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มถดถอยลง ทุกธุรกิจจะต้องวางแผนรับมือต่อผลกระทบถึงแม้ยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น

 

นักการตลาดจะทำอย่างไรดี

ในมุมของอุตสาหกรรมสื่อทั่วโลก แม้จะมีการชะลอการโฆษณาลงจากยอดจำหน่ายที่ลดลง แต่บรรดาธุรกิจรายใหญ่ยังคงมีการใช้เงินบนสื่อเพื่อมุ่งหวังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ในระยะยาว

แต่สำหรับประเทศไทย กรุ๊ปเอ็มแนะนำแนวทางสำหรับนักการตลาดและนักโฆษณาดังนี้

  • ในระยะยาวนักโฆษณาและการตลาดสามารถใช้กรณีศึกษาจากประเทศจีนที่สถานการณ์ไวรัส COVID-19 เริ่มมีความคลี่คลายในการวางแผนและปรับตัว ในขณะเดียวกันในระยะสั้นก็ยังสามารถศึกษาการรับมือต่างๆ จากประเทศที่กำลังประสบภาวะการระบาดอย่างร้ายแรงอย่าง เช่น อิตาลี เพื่อเป็นแนวทางในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
  • แบรนด์ นักการตลาด และนักโฆษณาควรมองหาช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าของการบริการ รวมถึงการสร้างความมั่นใจ เชื่อถือ และความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและสังคม เนื่องจากสถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาปกติ นี่จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้แบรนด์เข้าไปมีส่วนร่วมและอยู่ในใจของผู้บริโภค
  • นักโฆษณาและการตลาดมีหน้าที่ต้องติดตามสถานการณ์ของการระบาดและพฤติกรรมของผู้บริโภครวมไปถึงการเสพสื่ออย่างใกล้ชิดอย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน เพื่อให้แบรนด์มีโอกาสในการปรับแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการขาย ทั้งนี้รวมถึงแนวทางเพื่อการวางแผนการสื่อสารและการออกแบบชิ้นงานโฆษณาที่ต้องอิงกระแสหรือเหตุการณ์สำคัญของปี เช่น มหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะเกิดขึ้น แบรนด์ควรมีแผนสำรองในกรณีที่มีการปรับหรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจัดงานจากผลกระทบของไวรัส COVID-19

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online