ตลาดนมแลคโตสฟรี โอกาสที่แบรนด์ไหนๆ ก็อยากแจม กรณีศึกษา เมจิ แลคโตสฟรี

ย้อนกลับไปเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา ตลาดนมในบ้านเราคึกคักด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง “นมแลคโตสฟรี” (Lactose Free) ที่ตอนนี้กลายเป็นเซกเมนต์ที่สร้างรายได้จนทำให้ผู้เล่นหลายๆ แบรนด์กระโดดลงมาขอส่วนแบ่ง

ถึงแม้จะมีการทำการตลาดมากมาย ด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับคนแพ้นมวัวยังไม่อยู่ในวงกว้าง แบรนด์ต่างๆ จึงต้อง ศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้รู้จัก นมแลคโตสฟรี ผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ดื่มนมหรือดื่มนมไม่ได้

หนึ่งในแบรนด์ที่ขยันนำเสนอความแปลกใหม่ สร้างสีสัน และ Movement ให้ตลาด จนต้องหยิบมาเล่าให้ฟังคือเบอร์หนึ่งอย่าง นมเมจิ แลคโตสฟรี ที่ล่าสุดสร้างแบรนด์ผ่าน Functional Benefit ที่ว่า ดื่มแล้วสบายท้อง และ Emotional Benefit อย่างความรู้สึกดีๆ หลังดื่มที่มาจากความอร่อยของรสชาตินมที่ไม่เหมือนใคร พร้อมส่ง “น้องนมเมจิ” มาสคอตน่ารักมาช่วยสร้าง Engagement และ Educate เรื่องนมแลคโตสฟรีให้กับตลาดและผู้บริโภค

แพ้โปรตีนในนมหรือย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้กันแน่?

ก่อนอื่นเล่าถึงประเด็นความแตกต่างของอาการแพ้นมวัว และย่อยแลคโตสไม่ได้ ให้ฟังก่อนคร่าวๆ ว่า

แพ้นมวัว เกิดจากการแพ้ที่เรียกว่า Allergy โปรตีนที่อยู่ในนมวัว ซึ่งถ้าแพ้แบบนี้จะรุนแรงและไม่สามารถกินนมวัวได้ โดยจะมีอาการ เช่น มีผื่นคัน ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง เปลือกตาบวม ปากเจ่อบวม หายใจติดขัด

ขณะที่อาการย่อยแลคโตสไม่ได้ (Lactose Intolerance) คือการที่ร่างกายไม่มีเอนไซม์ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม ซึ่งจะพบบ่อยในคนเอเชียเนื่องจากไม่ได้กินอาหารจำพวกนม ชีส หรือเนยเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อคนที่ไม่มีเอนไซม์ช่วยย่อยนี้ดื่มนมจะมีอาการ ท้องเสีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เรอ หรือผายลมบ่อย ทำให้เวลาดื่มนมไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

ตรงนี้เองที่กลายเป็นช่องว่างของตลาดนมพร้อมดื่ม เนื่องจากคนไทยส่วนหนึ่งปฏิเสธการดื่มนม เพราะดื่มแล้วเกิดอาการย่อยแลคโตสไม่ได้ จึงทำให้ “นมแลคโตสฟรี” เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้

Meiji Lactose Free ดีจากข้างใน ให้มากกว่าความอร่อย

กลับมาที่ Meiji Lactose Free โดยปกติแล้ว นมเมจิ นับเป็นเบอร์หนึ่งและเป็นผู้เล่นหลักของตลาดนมพร้อมดื่ม “พาสเจอร์ไรส์” ที่ผ่านมาเราจะเห็นลูกเล่นหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในนมเมจิพาสเจอร์ไรส์อย่างการออกรสชาติใหม่เปลี่ยนไปตามช่วงปลายฤดูร้อนเสมอ

เมื่อต้นปี 2017 ที่เมจิเริ่มเข้ามาเล่นเซกเมนต์ ตลาดนมแลคโตสฟรี ก็ได้นำจุดแข็งที่มีคือ Innovation ทำให้ผลิตนมแลคโตสฟรีที่มีรสชาติกลมกล่อม ได้รสนมโคแท้ และไดร์ฟตลาดด้วยการ Educate เกี่ยวกับนมแลคโตสฟรีเพื่อให้คนหันกลับมาดื่มนมอย่างไม่ต้องกังวล

ในปีนี้ เมจิ แลคโตสฟรี ได้กลับมาขับเคลื่อนตลาดพร้อมสร้างสีสันในฐานะผู้นำอีกครั้ง โดยยังคง Educate ตลาดเพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครั้งนี้นำเสนอผ่าน Functional Benefit & Emotional Benefit ที่ว่า เมจิ แลคโตสฟรี เป็นนมจืดที่ไม่จืด รสชาติกลมกล่อมได้ฟีลนมโคแท้ แต่ดื่มง่ายสบายท้อง ทำให้เมจิ แลคโตสเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตส รวมถึงผู้สูงอายุที่ย่อยยาก และต้องการดูดซึมแคลเซียมจากนม เพราะเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายในวัยนี้เช่นกัน ภายใต้คีย์แมสเสจหลักในการสื่อสารคือ “Meiji Lactose Free ดีจากข้างใน ให้มากกว่าความอร่อย

โดย Meiji Lactose Free มีด้วยกันทั้งหมด 2 รสคือ รสจืด ที่มีความหวานเล็กๆ ซึ่งเป็นความหวานที่ได้จากนมโคแท้เป็นเอกลักษณ์ และอีกรสคือ รสดาร์กช็อกโกแลต ที่ไม่ใส่น้ำตาลเพิ่มแต่ให้รสชาติที่กลมกล่อม ถูกใจคนรักสุขภาพ

นอกจากปรับสูตรใหม่แล้ว เมจิ แลคโตสฟรี ก็ได้ปรับโฉมแพ็กเกจจิ้งใหม่ให้ดูสดใส เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น ทั้งยังมีมาสคอตแบรนด์ที่ชื่อ “น้องนมเมจิ” มาช่วยสร้างแบรนด์คาแรกเตอร์ และเป็น Spokesperson ที่เป็นสื่อกลางระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และช่วยสร้างความประทับใจไปพร้อมๆ กัน

แม้วันนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมนมไทยจะไม่มีการเติบโตที่หวือหวาหรือก้าวกระโดด แต่อัตราเฉลี่ยการดื่มนมของคนไทยที่อยู่เพียงแค่ 18 ลิตร/คน/ปี ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 113 ลิตร/คน/ปี ก็นับเป็นโอกาสที่แบรนด์ต่างๆ จะสามารถขยายตลาดให้เติบโตได้อีก

การที่ เมจิ แลคโตสฟรี ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนตลาดด้วยจุดเด่นของคุณประโยชน์ที่ให้มากกว่าความอร่อยและดื่มง่ายสบายท้องนั้น ไม่เพียงปลุกกระแสให้กลุ่มคนที่เลิกดื่มนมหันกลับมาดื่มนมอีกครั้ง หากแต่ยังสร้างการรับรู้ใหม่ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายกระตุ้นให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น รวมถึงสร้างแรงขับให้ตลาดนมพาสเจอร์ไรส์กลับมามีสีสันอีกครั้ง

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online