เพราะโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป

จากที่เคยหยิบแบงก์ หยิบเหรียญ มาจ่ายเงิน ก็เปลี่ยนวิธีการเพื่อเลี่ยงการสัมผัส

จากที่เคยเดินออกไปจับจ่ายซื้อของ ก็เปลี่ยนมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น

ทำให้จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนโควิด-19 ว่า คนไทยเคยคิดว่าสังคมไร้เงินสดจะเกินขึ้นจริงในปี 2030

แต่จากสถานการณ์ปีที่ผ่านมาทำให้มุมมองของผู้บริโภคคนไทยเปลี่ยนไป และคิดว่ ไทยจะเกิดสังคมไร้เงินสดขึ้นในปี 2026 หรือเร็วกว่าที่คาดไว้ 4-5 ปี

แล้วพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยด้านการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนมาหาคำตอบ

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย บอกว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้บริโภคที่หันมาเลือกใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมายิ่งเป็นเสมือนตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมกันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

และเชื่อว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร

ล่าสุด วีซ่า เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี จากกลุ่มตัวอย่างคนไทย 1,000 คน อายุ 18-65 ปี รายได้ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน พบว่า

มากกว่า 4 ใน 5 ของคนไทย หรือราว 82% ได้ลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด  และคนไทยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งเงินสดได้เฉลี่ย 8 วัน

เจาะลึกลงไปยังพบว่า คนไทยใช้ชีวิตแบบไม่พึ่งเงินได้นานขึ้น จากที่คนไทยไม่พึ่งเงินสด 1 สัปดาห์มีสัดส่วน 17% ในปีก่อนหน้าก็เพิ่มมาเป็น 19% ในปีที่ผ่านมา

และจากที่คนไทยไม่พึ่งเงินสดมากกว่า 1 เดือน มีสัดส่วน 6% ก็เพิ่มมาเป็น 7%

และเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้คนพกเงินสดในกระเป๋าน้อยลง และหันไปสู่สังคมไร้เงินสดมากขึ้นคือ การลดการสัมผัสและแพร่ระบาดของเชื้อโรค ไม่ต้องไปเข้าคิวที่ธนาคารให้เสียเวลา สามารถติดตามค่าใช้จ่ายได้ง่ายมากขึ้น

แล้วหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มองว่าไทยจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเร็วกว่าเดิมอย่างไร

จากการสำรวจของวีซ่ายังพบว่า ผู้บริโภคคนไทยที่ไม่เคยใช้วิธีการชำระเงินแบบคอนแทคเลส ก็หันมาทดลองแตะเพื่อจ่ายแทนเงินสดมากขึ้น

โดยผู้บริโภคเลือกทดลองแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับแรก 26%

ตามด้วยแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส 23% และสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด 21%

แม้คนไทยจะเปิดใจลองจ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟนมาเป็นอันดับแรก แต่การรับรู้และคุ้นเคยของการชำระเงินของคนไทยคือ การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุด 94% ที่ส่วนหนึ่งมาจากการกระตุ้นจากภาครัฐ

ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส 89%

ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส 41%

I-



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online