ตลาดเครื่องสำอาง 64 ทำไมไทยจึงส่งออกเป็นอันดับ 10 ของโลก (วิเคราะห์)
แน่นอนว่า ตลาดเครื่องสำอาง และความงามของไทยปีที่ผ่านมา ‘สะดุด’ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนไม่ได้เดินทางออกไปไหน และอยู่บ้าน WFH มากขึ้น
เครื่องสำอางความงามก็ดูอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไปในตอนนั้น ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมจากซื้อเครื่องสำอางเพื่อความงาม มาเป็นซื้อสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพอนามัยมากยิ่งขึ้นแทน
จะเห็นว่าตลาดกลุ่มสินค้าความงามกลุ่มสกินแคร์ และเมคอัพติดลบ สวนทางกับสินค้ากลุ่มไฮยีนที่เติบโต
นอกจากตลาดเครื่องสำอางและความงามในประเทศจะติดลบ ตลาดส่งออกเครื่องสำอางก็ลดลงไม่ต่างกัน
ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องสำอางหดตัวลงเล็กน้อย
โดยไทยส่งออกไป 18 ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอ มูลค่า 2,445 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 10% จากปี 2562
ประเทศคู่เอฟทีเอถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย แต่ละปีมีสัดส่วนสูงกว่า 80%
ขณะที่ปี 2564 ตลาดเครื่องสำอางและความงามไทยน่าจะกลับมาเติบโตได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
ปัจจุบันเครื่องสำอางไทยได้รับความนิยมในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง และจีน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศส่งออกเครื่องสำอางอันดับ 2 อาเซียน รองจากสิงคโปร์ และอันดับ 10 ของโลก
แล้วปีที่ผ่านมา 4 ยักษ์บริษัทใน ตลาดเครื่องสำอาง 64 ไทยเจอโควิด-19 กระทบแค่ไหน
BEAUTY
แน่นอนว่ารายได้ลดลงหลักๆ เป็นผลกระทบจากโควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทต้องปิดร้านชั่วคราวเกือบ 300 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 95% ของจำนวนสาขาทั้งหมด
และมาตรการปิดประเทศทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง โดยเฉพาะจีนทำให้ครึ่งปีแรกยอดขายทั้งในและต่างประเทศลดลงอย่างมีนัย
ทำให้ปี 63 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 786.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,020.8 ล้านบาท
ขาดทุน 104.9 ล้านบาท
DDD
รายได้จากการขายในประเทศเพิ่มขึ้น 48.30% เป็นผลจากการเข้าซื้อกิจการของ บริษัท คิวรอน จำกัด เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งกลุ่มลูกค้าเดิมของบริษัท คิวรอน จำกัด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศ
ขณะที่รายได้จากการขายสินค้าแน่นอนว่าได้รับผลกระทบจากโควิดเช่นกัน ร้านค้าที่วางจำหน่ายสินค้าของ DDD ไม่สามารถเปิดบริการได้ชั่วคราว บวกกับลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ถือเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญที่หายไป
ขณะเดียวกันรายได้จากการขายต่างประเทศเพิ่มขึ้น 2.57%
DDD ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น โดยเน้นช่องทางออนไลน์เป็นหลัก
ทำให้ปีที่ผ่านมาบริษัทพลิกกลับมากำไร 170 ล้านบาท
ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ปี 2564 เติบโต 25-30%
KAMART
มีกําไรสุทธิ132.82 ล้านบาท ลดลง 49.15% และมีรายได้รวม 1,326.21 ล้านบาทลดลงจากปีก่อน 13% เหตุผลหลัก ๆ คือรายได้จากการขายลดลงเช่นกัน รวมถึงมีการใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น
KISS
ผลงานปี 63 ทำรายได้รวม 966 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 168 ล้านบาท โดยหลัก ๆ คือ ปรับแผนกลยุทธ์และการควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 และ 3
ขณะเดียวกันมียอดขายที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่และช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายใต้แบรนด์ Rojukiss
ส่วนปีนี้ตั้งเป้าส่งผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ 20-25 รายการ ขานรับตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและสุขภาพฟื้นตัว
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ