เมื่อก่อนถ้าถามคนทำ SME ว่าอะไรยากสุดในการทำธุรกิจ?…
คำตอบที่ได้อาจเป็นเรื่องของการเริ่มต้น เงินทุน หรือไม่ก็การบริหารลูกน้อง

แต่ไม่แน่ว่าหลังจากที่ “คนทำธุรกิจไซซ์เล็ก” ต้องเจอกับ “มรสุมลูกใหญ่” ที่ชื่อว่า โควิด-19

คำตอบที่ได้ยินอาจเป็นเรื่องของ “วิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจ และเอาตัวรอดจากวิกฤต” อย่างไรมากกว่า

ทำให้วันนี้ Marketeer ชวน คุณศิริพงศ์ นกทนงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส dtac business
หนึ่งในผู้บริหารที่ทำงานใกล้กับคนทำ SME มากที่สุดคนหนึ่ง

ด้วยธุรกิจของ dtac business คือการนำเสนอดิจิทัลโซลูชัน รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือด้านการติดต่อสื่อสารและแพ็กเกจต่าง ๆ สำหรับคนทำธุรกิจ SME

คุยถึงปัญหาที่ SME ไปไม่รอดในช่วงวิกฤตโควิดคืออะไร?
และต้องปรับตัวอย่างไรในวันที่โลกเปลี่ยนไปแบบไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม

ความจริงหลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะในกลุ่ม SME ชะลอตัวมาตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด รวมถึงทุกคนยังพูดถึงเรื่องของดิจิทัลดิสรัปต์หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์มต่าง ๆ มาได้พักใหญ่

แต่เมื่อโควิดมาก็เหมือนเป็นตัวเร่งที่ไม่มีเวลาให้คนทำธุรกิจมัวแต่คิดอย่างเดียว เหมือนการเปิดสวิตช์ Survival mode ที่เกมนี้ทุกคนเอาตัวรอดได้ แต่ทางเดียวคือต้องปรับตัวให้ทัน และปัญหาที่ SME ไปไม่รอดในช่วงวิกฤตโควิด คงหนีไม่พ้น…

ไม่ GO Online ก็ไม่รอด

ที่เห็นชัดคือพฤติกรรมลูกค้ายุคนี้ทำงานอยู่บ้าน ต้องช้อปปิ้งออนไลน์แทบทุกอย่าง ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเน้นขายทางออนไลน์มากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้ซื้อง่าย ขายคล่อง

เพราะยิ่งเจอวิกฤตในตอนนี้ การขายทางออนไลน์คือหนทางรอด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเว็บไซต์เอง ใช้โซเชียลมีเดีย หรือขายใน e-Marketplace เช่น Shopee Lazada แนะนำให้เรียนรู้ช่องทางการขายออนไลน์เหล่านี้ไว้ และลองใช้งานช่องทางที่คิดว่าเหมาะกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย

ที่สำคัญคือรู้จักใช้ความได้เปรียบของธุรกิจขนาดเล็กที่ใกล้ชิดกับลูกค้าแบบ Human to Human สร้างสรรค์ความสัมพันธ์และบริการที่ดีให้กับลูกค้า

เพื่อทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดี ติดต่อลูกค้าให้สม่ำเสมอใช้เฟซบุ๊ก อีเมล โทรศัพท์ เพื่อสอบถามลูกค้าว่า สินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร ได้รับสินค้าแล้วใช่หรือไม่ มีปัญหาด้านการใช้บริการหรือเปล่า เป็นต้น เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีกับลูกค้าได้ทุกคน

ความยืดหยุ่นของ Workforce

พนักงานหรือเจ้าของต้องสามารถปรับตัวในการเพิ่มสกิลการทำธุรกิจ เช่น พนักงานขายของในร้านสะดวกซื้อวันนี้ไม่ใช่แค่ยืนคิดเงินหน้าเคาน์เตอร์ แต่พวกเขาสามารถจัดของ ให้คำปรึกษา หรืออาจเป็นคนออกไป delivery ได้ด้วย

หรือจะเห็นเจ้าของเองก็มีสกิลในการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ เช่น ขายผ่านการไลฟ์ ทำการตลาด เพราะเนื่องจากผู้ซื้อเปลี่ยนช่องทางในการเข้ามาหาเรา เจ้าของกิจการเองก็ต้องเปลี่ยนช่องทางในการเข้าหาลูกค้าเช่นกัน เป็นเรื่องสำคัญที่ในวันนี้ SME ไม่มีไม่ได้ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจในการเข้าถึงลูกค้า ถ้าทำไม่เป็นก็ยากที่ธุรกิจจะรอด

ไม่สร้าง Business โมเดลใหม่ ๆ ก็ไม่รอด

แม้มาตรการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ผ่อนคลาย แต่ผู้บริโภคบางส่วนยังต้องใช้เวลากว่าที่จะมีความกล้ากลับไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือกล้ากลับไปรับประทานอาหารที่ร้าน สถานการณ์ในช่วงชีวิตวิถีใหม่ SME จะต้องปรับตัวเองอย่างมาก เพราะร้านจะยังมี Capacity เท่าเดิม และจะหารายได้ด้วย Business Model เดิมได้น้อยลง

ดังนั้นจึงต้องมองหา Revenue Model และ Business Model ใหม่ ๆ ต้องกลับมาคิดว่าลูกค้าอยากได้อะไร และจะตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างไรได้บ้าง โดยดูว่าอะไรคือสิ่งที่คนจะสนใจมากที่สุดหลังจากที่โควิด-19 จบไป

เทรนด์เทคโนโลยีที่ธุรกิจ SME ต้องเรียนรู้

ไม่ว่าจะเป็น เทรนด์ของการเปลี่ยนผ่านสังคม Demographic shift ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคน Gen Z workforce จะเปลี่ยน ผู้สูงวัยจะเป็นผู้บริโภค คนทำงานธุรกิจจะเป็นคนยุคใหม่ที่เอาเทคโนโลยีมาใช้ คนกลุ่มนี้ทำงานคาดหวัง flexibility ชอบทำงานแบบ Work life integration, collaboration ทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา

ผลจากการสำรวจผู้บริหารระดับ CFO ทั่วโลก ราว 70% เห็นว่าบริษัทตัวเองมีบางตำแหน่งที่ WFH ได้ตลอดไป และมี 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เห็นว่าบริษัทตัวเองมีพนักงานถึง 20% ที่ WFH ได้ตลอดไป

ทำให้ธุรกิจ SME จึงต้องลงทุนปรับตัวมาใช้ Digital solution ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้พนักงานทำงานได้จากทุกที่ Work From Anywhere โดยประสบการณ์ที่ดีในการทำงานแบบนี้จะเป็นตัวผลักดันให้พนักงานส่งมอบประสบการณ์ Digital ที่ดีให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบริการ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในการให้บริการ หรือการทำงานหลังบ้านให้ราบรื่นร่วมกับทีม

และควรเพิ่มความใส่ใจในการเก็บข้อมูลในการทำธุรกิจมากขึ้น (Big Data) โดยการเลือกโซลูชั่นที่สามารถเอื้อให้ธุรกิจมีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลการทำงานและลูกค้าได้ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจหรือการลงทุนต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่า

แล้วแบบนี้ dtac business
มีส่วนขับเคลื่อน SME ให้เติบโตอย่างไร

ศิริพงศ์ย้ำว่าจุดมุ่งหมาย dtac business คือเป็น Value business partner กับ SME ไทย เป็นเหมือนคู่คิดธุรกิจที่จะช่วยให้ SME ก้าวข้ามผ่านความท้าทายไปได้พร้อมกัน

รวมถึงการบริการที่ตอบโจทย์ที่เรามีจุดมุ่งหมายในการเป็น One-Stop-Shop” แพ็กเกจของ dtac business จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีช่วย SME บริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพพร้อมก้าวเข้ามาเป็น Digital First Business ให้ได้

ตัวอย่างเช่น การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันภายในองค์กร และติดต่อสื่อสารลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ เช่น WorryFree Plus Pro ที่มีมาพร้อม Voice และ Data รวมถึง Google Workspace เครื่องมือการทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์ที่ง่ายที่สุดสำหรับ SME พร้อมยกระดับ SME ให้ดู Professional ด้วยการมอบฟรี อีเมลโดเมนธุรกิจ

dtac OneCall: บริการ Call Center ที่ยกเอาระบบโทรศัพท์สำนักงานมาอยู่บนมือถือ ไม่ว่าพนักงานอยู่ที่ไหนก็รับสายลูกค้าได้ง่าย ๆ ช่วยกันจัดการสายได้ และถูกกว่าการติดตั้งตู้สาขาหรือ PBX ถ้ามีหลายสาขาก็ช่วยให้จัดการการติดต่อได้ง่ายขึ้น ลูกค้าไม่ต้องรอนาน ตอบโจทย์ SME

Workforce Management เพื่อบริหารพนักงานในช่วง Work from Home อย่างเช่น Teamwork หรือเครื่องมือในการช่วยจัดการงานขาย เพิ่มประสิทธิภาพการติดตามสถานะและสถานที่การทำงาน เช่น BAMS

บริการออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจทำธุรกรรมมือถือได้สะดวกมากขึ้นตลอด 24 ชม E-Care Service ฟังก์ชันการทำธุรกรรมจากมือถือทางออนไลน์ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่ลูกค้า dtac business สามารถจัดการแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือเองได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านออนไลน์ได้ง่ายๆ

เพียงสมัครและล็อกอินก็สามารถดูข้อมูลการใช้งาน ชำระค่าบริการ หรือ ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจได้ด้วยตัวเอง เช็กยอดการใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ธุรกิจสามารถรู้ได้ว่าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเป็นเท่าไร จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ง่ายขึ้น

ทั้งหมดนี้คือวิธีคิด วิธีเอาตัวรอดของ SME ในยุคโควิด รวมถึงความท้าทายที่ต้องเจอหลังจากนี้ ในฝั่งผู้ให้บริการอย่าง dtac business เองมองว่าโอกาสของ SME ไทยยังเปิดกว้าง

ดังนั้นหน้าที่สำคัญในการเป็น Value business partner คือช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจ SME ให้แข็งแกร่งด้วยดิจิทัลโซลูชันระบบการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ เตรียมพร้อมรับมือกับทุกมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา …

ยังมีโซลูชันสำหรับคนทำธุรกิจอีกมากมายจาก dtac business
“สัญญาว่าจะไม่หยุดเคียงข้างทุกธุรกิจ”

ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาบริการที่เหมาะกับธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่
https://www.dtac.co.th/business/

หรือ โทร. 088 188 1678 เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online