ปีนี้เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเช่นเดียวกันว่าดีแทคกลับมาคึกคักนับตั้งแต่ต้นปีที่จากการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ด้านเน็ตเวิร์ค อั้ม พัชราภา และนาย ณภัทร พรีเซ็นเตอร์ของแพ็กเกจ Go No Limit และซิม “Go เพลิน แพ็กเกจที่เปิดตัวพร้อมการ Re-Branding ดีแทคสู่คำว่า Make it Easy ซึ่งเป็นแพ็กเกจรูปแบบใหม่ของดีแทค เหมาจ่ายรายเดือนไม่จำกัดการใช้งานใม่มีลดสปีดอินเทอร์เน็ต และเป็นมิติใหม่ในการทำตลาดของดีแทคที่ดีแทคออกมาให้บริการเป็นรายแรกเพื่อพลักดันให้เกิดการใช้งานดาต้า เสริมภาพลักษณ์ใหม่ของโครงข่ายที่สามารถใช้งานได้ลื่นไหล และความคุ้มค่าของการบริการ ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความ active มากขึ้น เพื่อจุดมุ่งหมายหลักคือ แบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทยภายในปี 2563
ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ให้คำตอบกับ Marketeer ถึงทิศทางของดีแทค สู่แบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ที่คงความ Excellence ให้กับแบรนด์ได้อย่างน่าสนใจ
ลาร์ส ได้เล่าย้อนกลับไปเมื่อปีที่ผ่านมาว่า อุตสาหกรรมโอเปอเรเตอร์มือถือของไทยยังคงเติบโตจากบริการอินเทอร์เน็ต ที่มาพร้อมกับการแข่งขันอย่างรุนแรงในการให้ส่วนลดค่าเครื่องเพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้บริการ พร้อมรักษาฐานลูกค้าเดิม โดยการสร้างรายได้จากการเติบโตของบริการดาต้ายังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายของอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตเติบโตในอัตราที่สูงกว่าการเติบโตของรายได้จากบริการดาต้า
“ในปีที่ผ่านมาดีแทคได้สร้างความแข็งแกร่งบริการด้านเน็ตเวิร์คด้วยเงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2559 เพิ่มจำนวนสถานีฐาน 4G ขึ้นเป็นกว่า 21,800 สถานี จากเดิมอยู่ที่กว่า 6,300 สถานีในปี2558 และความหนาแน่นของสัญญาณทั่วประเทศของเครือข่าย รวมถึงในตึกเป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในตึกสูงและในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ลูกค้าดีแทคจะรู้สึกได้ถึงการใช้งานที่มีประสบการณ์ที่ดีขึ้นลื่นขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายหลักคือต้องการเป็นผู้นำการให้บริการ 4G เสริมสร้างภาพลักษณ์ของโครงข่าย”
ลาร์สมั่นใจว่าคลื่นความถี่ปริมาณ 50MHz ที่ดีแทคมีอยู่ในปัจจุบันมีความเพียงพอในการให้บริการ สามารถให้บริการ 4G ได้ทุกอำเภอในประเทศไทย และในพื้นที่ซึ่งมีผู้ใช้งานหนาแน่น ดีแทคได้จัดสรรคลื่นความถี่ 1800MHz จำนวน 20 MHz มาให้บริการ 4G ซึ่งเรียกว่า “Super 4G” เพื่อเสริมประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า พร้อมกิจกรรมต่างๆ เสริมสร้างภาพลักษณ์ของโครงข่าย และความคุ้มค่าของบริการรวมทั้งความเป็นแบรนด์ดิจิทัลของบริษัท เช่น การใช้แบรนด์ “ดีแทคเติมเงิน” ใหม่ เป็นต้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นแบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทยภายในปี 2563 บริษัทจึงได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ ให้กับลูกค้าในระหว่างปีที่ผ่านมา เช่น บริการ “dtac MUSIC INFINITE” และเทคโนโลยี “Voice-over-WiFi” เป็นต้น
ผู้บริโภคไทยสู่ Digitalization
Digital Transformation และ Digital disruption ได้มีผลกระทบผู้บริโภคมาก ในมุมมองของดีแทคจะต้องช่วยลดปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ ของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าใช้ชีวิตดิจิทัลได้ง่ายขึ้น และสนุกขึ้น
“สิ่งที่ทำให้ดีแทคแตกต่างจากคู่แข่งเสมอมา ก็คือเราคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลักในการพัฒนาเครือข่าย สินค้าและการบริการ ดีแทคเป็นรายเดียวที่ให้บริการ 4G ด้วยคลื่น 1800MHz ที่มีคลื่นกว้างที่สุดเพียงคลื่นเดียวถึง 20MHz ทำให้ลูกค้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างลื่นไหล ต่อเนื่อง ไม่สะดุด สำหรับลูกค้าที่เดินทางต่างประเทศ ดีแทค มีบริการ WiFi Calling เปลี่ยนสัญญาณ WiFi ทั่วโลกให้เป็นสัญญาณดีแทค ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ได้รับประสบการณ์โทรกลับบ้านได้ชัดใสและคิดค่าบริการเหมือนโทรอยู่เมืองไทย ลูกค้าที่ชอบฟังเพลงก็สามารถสตรีมมิ่งเพลงฟังได้ฟรีโดยไม่คิดค่าบริการ เป็นต้น”
ลาร์สได้อธิบายประสบการณ์ ของผู้บริโภคในโลกของอินเทอร์เน็ตออนโมบายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้บริโภคมีประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตในความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้น และมี Pain Point กับการใช้งานมาก ซึ่งสิ่งที่จะตอบโจทย์ประสบการณ์ด้านได้คือเน็ตเวิร์ค และเทคโนโลยีที่ใช้กับเน็ตเวิร์ค จากอดีตที่บนโลก 2G ให้บริการ Voice เพียงอย่างเดียว และก้าวสู่ 3G ที่ให้บริการVoice และอินเทอร์เน็ตพร้อมผู้ใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น และไม่นานมานี้เข้าสู่ยุค 4G และการบริการ VOLTE ที่รองรับการใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่ดีแทคไม่ได้มองแค่นั้น แต่มองไปถึง 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอนาคตที่ดีแทคจะดึงศักยภาพของเทคโนโลยีนี้มาให้บริการรองรับการใช้งานของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคลื่นความถี่เป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งความชัดเจนของการนำคลื่นความถี่ออกมาใช้มีความสำคัญมาก
แต่การให้บริการลูกค้าไม่ใช้เพียงแค่เน็ตเวิร์ค ลาร์สยังรวมถึงการให้บริการในองศาต่างๆ กับผู้บริโภคสอดรับ Thailand 4.0
“อยากมีสินค้าและบริการที่ให้คนไทยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงและสบายใจไร้กังวล รวมถึงแนวความคิด Connect Unconnected มีคนไทยอีกมากมายถึง 20 ล้านคนหรือ 30% ของคนไทยที่ยังไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง และดีแทคมีโครงการต่างๆ ที่ช่วยให้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ที่ให้ความรู้ในด้านต่างๆ นอกจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่นโครงการ Farmer Info ที่ทำมา 2-3ปี หรือแม้แต่มี SME มากถึง 20,000 องค์กร ที่ยังไม่มีสินค้าหรือบริการอยู่บนโลกออนไลน์ ดีแทค
อยากเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือให้พวกเขามีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ รวมถึงโครงการ dtac Accelerate ที่ดีแทคทำมาต่อเนื่อง 5 ปี โดยดีแทคที่มีบทบาทในการร่วมลงทุนตั้งแต่ออฟฟิศสเปช และองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ให้กับ Start up ซึ่งเป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าดีแทคไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ขายซิมและ Connectivity เท่านั้น”
แบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทย ภายในปี 2563
ด้วยเป้าหมายที่จะเป็นแบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทยภายในปี 2563 ปีนี้จึงถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของดีแทค ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ดิจิทัล และนำเสนอบริการดิจิทัลมากขึ้นรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อโครงข่าย โดยในปี 2560 นี้ดีแทคเตรียมเงินลงทุน 17,000-20,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มความต่อเนื่องของโครงข่ายทั้ง 4G และ 3G และเสริมประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้า
“ดีแทคได้กำหนดยุทธศาสตร์ ที่จะมุ่งสู่การเป็นแบรนด์ผู้นำดิจิทัล (Digital Services provider) ในปี 2563 โดยการสร้างสรรค์บริการดิจิทัล ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัล เจนเนเรชั่น ได้รับประสบการณ์ในการใช้งานโมบายล์อินเทอร์เน็ต ที่ดีตอบสนองความต้องการ ในไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน”
ดีแทคได้กำหนด แนวทางในการดำเนินงาน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเป็นแบรนด์ผู้นำดิจิทัล 3 ด้านคือ
หนึ่ง-สร้างสรรค์สินค้าบริการดิจิทัล และการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่มากขึ้น
สอง-ปรับเปลี่ยนทัศนคติทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงาน ปลุกพลังของบุคลากรภายในองค์กร ส่งต่อไปยังลูกค้า ตลอดจนวงการโทรคมนาคม ด้วยแคมเปญ “พลิก” มุมมองชีวิตให้ “ง่าย” กว่าที่คิด ผ่านแนวคิด 4 สเต็ป ได้แก่
1. To be daring กล้าที่จะลอง พลิกความคิดเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า เสริมสร้าง ความกระตือรือร้นเพื่อค้นหาแนวทางการทำงานใหม่ๆ
2. To act fast ทำอย่างไว พลิกวิธีคิดให้เกิดเป็นการกระทำ สร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว
3. To think different พลิกความคิดด้วยแง่มุมที่แตกต่าง ค้นหาความต้องการของลูกค้า แสวงหาแนวทางแก้ปัญหาที่ง่ายและตอบโจทย์มากที่สุด
4. Passion to win ตั้งใจทุ่มเททำงานให้เกินเป้าหมาย มุ่งมั่น และไม่ยอมแพ้ เพื่อให้ได้ชัยชนะในการตอบสนองความต้องการที่มากกว่า และความคาดหวังของลูกค้า
และสาม-สร้างสรรค์และนำเสนอนวัตกรรม รวมถึงบริการด้านการสื่อสารที่ง่ายต่อการเข้าใจ และหมดกังวลระหว่างใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นโครงข่าย การสื่อสารที่เชื่อมต่อง่ายจากทุกที่ทั่วประเทศ แพ็กเกจที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานอย่างไร้กังวล digital services ที่สร้างสรรค์ สร้างความบันเทิง และเป็นประโยชน์กับชีวิตดิจิทัลของลูกค้า และการดูแลและให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าในทุก ๆ วัน โดยเชื่อมั่นว่า สินค้าและบริการจากดีแทค จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกไลฟ์สไตล์ และคลายความกังวลใจที่เคยมีมาได้อย่างแน่นอน พร้อมแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรโดยเฉพาะในรูปแบบดิจิทัลที่หลากหลาย สร้างเครือข่ายให้กับธุรกิจ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ การแชร์ข้อมูลระหว่างกัน การวางกลยุทธ์ทางการตลาดร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
ตลาดโทรคมมนาคมยังคงแข่งเดือด
ในปีนี้ตลาดโทรคมนาคมยังคงมีแนวโน้มแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าผู้ให้บริการจะใช้ข้อเสนอเกี่ยวกับเครื่องมือถือในการสร้างฐานลูกค้าและคาดว่าการให้ส่วนลดค่าเครื่องโทรศัพท์ในกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงินจะยังมีอยู่ในตลาดอีกระยะหนึ่งแต่ลดระดับความรุนแรงลง ในขณะที่บริการข้อมูลหรืออินเทอร์เน็ตยังคงเติบโตซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากข้อเสนอด้านเครื่องโทรศัพท์และการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นจากการบริโภคคอนเทนต์ประเภทสตรีมมิ่งที่กาลังเติบโตและประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดียิ่งขึ้นจากเทคโนโลยี 4G ทั้งนี้ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตคาดว่าจะทรงตัวภายหลังจากผู้ให้บริการได้นำเสนอแพ็คเกจค่าบริการ 4G ใหม่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาซึ่งให้ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อเดือนจำนวนมาก และดีแทคได้เตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านมุ่งสู่เป้าหมายแบรนด์ดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทยภายในปี 2563
เรื่อง ณัฐจิตต์ บูราณทวีคูณ
อ่านเพิ่ม Marketeer Magazine ฉบับ 205
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ