Toshiba ยังคงเจอวิกฤต เล็งขายธุรกิจแอร์ให้ Carrier (วิเคราะห์)

เทคแบรนด์เก่าแก่สัญชาติญี่ปุ่นยังคงต้องฝ่าวิกฤตขาลง และหลังจากนี้คงไม่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต

Toshibaเผยว่าจะขายส่วนธุรกิจเครื่องปรับอากาศที่เหลือแทบทั้งหมดให้ Carrier ตามแผนปรับโครงสร้าง และเสริมสภาพคล่องด้วยการทิ้งธุรกิจที่ไม่อยู่ในแผนการในอนาคตออกไป

Toshibaที่ก่อตั้งเมื่อปี 1939 ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของแวดวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีญี่ปุ่น เพราะเป็นแบรนด์แรกที่ผลิตคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กออกสู่ตลาด

รุกธุรกิจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และย้อนไปเมื่อยุค 80-90 ช่วงที่ดังมากในตลาดเอเชีย ชาวไทยยังคงจดจำโฆษณาภายใต้สโลแกนToshiba นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิตได้เป็นอย่างดี  

ทานากะ อิซาชิเกะ

แต่บริษัทที่ก่อตั้งโดย ทานากะ อิซาชิเกะ เจ้าของฉายา Edison แห่งญี่ปุ่นก็เกิดช็อต โดยเหตุสึนามิในญี่ปุ่นกระทบต่อความเชื่อมั่นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ต้องขายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Westinghouse ที่ซื้อมาก่อนหน้านั้นและกำลังมีอนาคตทิ้งไป

ส่วนธุรกิจโน๊ตบุ๊กที่เคยขึ้นไปติด Top 3 ก็เจอกับภาวะ Disruption จาก Tablet และ Smartphone ขณะที่โทรทัศน์ที่เคยภาคภูมิใจก็ถูกแบรนด์เกาหลีใต้กับจีนทีแรงกว่า แซงไป

ความตกต่ำดังกล่าวทำให้ส่วนธุรกิจโน๊ตบุ๊กกับโทรทัศน์ของToshibaประสบชะตากรรมเดียวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซ้ำร้ายต้องเจอวิกฤตศรัทธาต่อเนื่องจากเหตุอื้อฉาวในการตกแต่งบัญชี ยังขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้อำนาจจัดการกับกลุ่มนักลงทุนสายกิจกรรม (Activist Investor) ที่เห็นไม่ตรงกันอีก

ทั้งหมดนำมาสู่แผนกู้วิกฤต ด้วยการแตกบริษัทออกเป็น 3 บริษัท และขายส่วนธุรกิจที่บริหารต่อไม่ไหวออกไป พร้อมนำเงินมาเพิ่มสภาพคล่อง โดยToshibaเผยว่า จะขายหุ้น 55% ที่ถือครองอยู่ใน Carrier Global บริษัทร่วมทุนที่ตั้งร่วมกับ Carrier ให้ Carrier ไป เบื้องต้นคาดว่าจะทำเงินได้ 870 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28,700 ล้านบาท)

ข้อตกลงนี้จะทำให้ฝ่าย Toshiba เหลือสัดส่วนหุ้นใน Carrier Global เพียง 5% จนเหมือนถอนตัวจากธุรกิจเครื่องปรับอากาศแล้วแบบกลาย ๆ นอกจากนี้ ยังมีแผนขายส่วนธุรกิจลิฟต์ และหลอดไฟส่องสว่าง รวมถึงชิปออกไปอีกด้วย

ส่วนจากนี้ยังต้องติดตามว่าToshibaจะพ้นวิกฤตไปได้อย่างไร ปรับโครงสร้างแล้วToshibaจะเหลือธุรกิจในเครืออีกกี่มากน้อย และจะจัดการความขัดแย้งกับกลุ่ม Activist Investor ได้หรือไม่/reuters, cna

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online