อยู่คู่เกมเมอร์ไทยมานานกว่า 14 ปีกับ Ragnarok จนล่าสุด เอเชียซอท์ฟ ผู้ถือลิขสิทธิ์ Ragnarok Online ได้ประกาศปิดตัวเกมนี้ลงในวันนี้ 30 มิถุนายน 2559 และอะไรคือ 13 เรื่องเด่นก่อนที่ RagnarokOnline ฉบับเอเชียซอร์ท จะปิดตัวลง

  1. Ragnarok หรือ RO เป็นเกม MMORPG ในรูปแบบเกม Online ระบบเล่นได้พร้อมๆ กันหลายคนเกมแรกๆ ในประเทศไทย โดยเอเชียซอฟ์ท เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเปิดให้บริการเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2545
  2. ตอนเปิดตัวเกม Ragnarok ในประเทศไทย คนไทยยังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน dial-up ด้วยความเร็วสูงสุด 56k
  3. Ragnarok เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกิด Internet Café ในรูปแบบ Internet Game Café เกิดขึ้นอย่างเฟื่องฟู เพราะในยุคนั้นอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตามบ้านต่ำมาก
  4. เอเชียซอท์ฟตัดสินใจยุติเกม Ragnarok หลังหมดสัญญา จากในปีที่ผ่านมา เกม Ragnarok สร้างรายได้ให้กับเอเชียซอฟท์เพียง 5% เท่านั้น
  5. อิเลคทรอนิกส์ เอ็กซ์ตรีม ค่ายเกมน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยปลายปี 2557 เป็นผู้รับช่วงเกม Ragnarok ต่อหลังเอเชียซอท์ฟ ยุติการให้บริการโดยตั้งเซิร์ฟเวอร์เกมใหม่ โดยทาง อิเลคทรอนิกส์ เอ็กซ์ตรีม จัดงานแถลงเปิดตัว 9 เมษายน 2559
  6. เกม Ragnarok เคยทำสถิติ ผู้เล่น 1 ล้านคนต่อวันจนมีปัญหาเรื่อง เกม Lag จากการที่ผู้เล่นเข้าไปเล่นพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก
  7. Ragnarok เคยเป็นเกมที่ถูกจัดแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย หาผู้ชนะชิงแชมป์โลก และมีผู้ชาวไทยได้รับรางวัลในการแข่งขันชนะเลิศชิงแชมป์โลกถึง 5 ครั้งและอื่นๆ อีกมากมาย
  8. ไอเท็ม “เทพ” และเงิน ในเกม Ragnarok เคยถูกซื้อขายจริงในตลาดมืดให้กับผู้เล่นที่ต้องการเป็นเทพทางลัด
  9. โมเดลรายได้ในเกม Ragnarok เคยใช้วิธีการเก็บเงินรายเดือน และเปลี่ยนเป็นขายไอเท่มเนื่องจากคนไทยนิยมเล่นฟรี และจ่ายเงินซื้อไอเท่มมากกว่าเสียค่าบริการเป็นรายเดือน
  10. เกม Ragnarok ขึ้นชื่อว่าเป็นเกมที่มีเซิร์ฟเวอร์เถื่อนจำนวนมากเพื่อเอาใจผู้เล่นที่นิยมเล่นฟรี
  11. Ragnarok เคยมีหนังสือรีวิวเกม ชื่อ RO News จากค่าย CompGamer
  12. Poring เป็นมอนส์เตอร์ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของเกมและเคยเป็นสินค้าพรีเมี่ยมที่ทางเอเซียซอท์ฟทำออกจำหน่าย
  13. เกมRagnarokเป็นเกมจากค่ายกราวิตี้ คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลีใต้ ให้บริการครั้งแรกเมื่อ 31 สิงหาคม 2544โดยตัวละครและเนื้อหาในเกมส่วนใหญ่มาจากการ์ตูนเรื่องRagnarok แต่งโดย Lee Myung-Jin

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online