สำนักงานสถิติแห่งชาติประมวลผลการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2564 จากครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 46,840 ครัวเรือน จำแนกตามลักษณะสมาชิกที่อยู่ร่วมกันเพื่อสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจครัวเรือนไทยในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ฐานะทางการเงินในระดับครัวเรือนมีหนี้สูงขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 ที่ระบาดยืดเยื้อ
ในส่วนของรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน ในหนึ่งครัวเรือนนั้นโดยเฉลี่ยมีรายจ่ายเกินครึ่งของรายได้ของตน รายจ่ายคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 78% ของรายได้ ครัวเรือนที่มีเด็กจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้และรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งครัวเรือนวัยแรงงานและเด็กนั้นมีสัดส่วนรายจ่ายมากสุดในทุกกลุ่ม คิดเป็น 80.9% ของรายได้
ขณะที่หนี้สินรวมต่อครัวเรือน โดยเฉลี่ยทุกกลุ่มครัวเรือนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยที่ส่วนใหญ่นั้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเกินครึ่ง จะเห็นว่าครัวเรือนที่มีเด็กเป็นกลุ่มที่มีอัตราหนี้สินเพิ่มขึ้นสูงกว่าทุกกลุ่ม ในขณะที่ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังมีหนี้สินน้อยสุด แต่ก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงอยู่ที่ 18.7%
โดยที่โครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยประมาณ 34.5% ของหนี้ครัวเรือนรวม
รองลงมาคือเงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ 18.1% และเงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ประมาณ 12.4%
กลุ่มครัวเรือน | รายได้และรายจ่ายของครัวเรือน | หนี้สินรวมต่อครัวเรือน | ||
ครัวเรือนวัยแรงงานและเด็ก |
รายได้ | รายจ่าย | หนี้สินเฉลี่ย/ครัวเรือน (หน่วย: แสนบาท) |
สัดส่วน |
29,508 | 23,873 | 4.2 (+16.2%) | 69.2% | |
ครัวเรือนวัยแรงงาน เด็ก และผู้สูงอายุ | 30,612 | 24,229 | 4.0 (18.8%) | 67.5% |
ครัวเรือนวัยแรงงานและผู้สูงอายุ | 29,565 | 21,724 | 4.0 (+2.5%) | 52.2% |
ครัวเรือนผู้สูงอายุ | 15,722 | 12,013 | 3.2 (18.7%) | 23.0% |
ครัวเรือนวัยแรงงาน | 25,648 | 20,358 | 4.1 (8.1%) | 52.3% |
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ
หมายเหตุ: ครัวเรือนในกลุ่ม 2 (ครัวเรือนวัยแรงงาน เด็ก และผู้สูงอายุ) จำนวน 14.29% เป็นครัวเรือนที่มีเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุโดยไม่มีวัยแรงงาน
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



