Grab ยืนหนึ่งด้าน Food Delivery เพราะแข็งแกร่งเชิงกลยุทธ์ในทุกมิติ

แม้ภาพรวมของตลาด  Food Delivery ในปีนี้มีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ด้วยมูลค่าตลาด 80,000 ล้านบาท (อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย) รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นปัจจัยบวก ทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นไปอย่างเข้มข้น พร้อมทั้งมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาชิงส่วนแบ่งอย่างต่อเนื่อง

แม้จะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นแต่ถึงอย่างไร Grab (แกร็บ) ยังคงสามารถครองแชมป์อันดับ 1 แพลตฟอร์มผู้ให้บริการ Food Delivery ได้อีกครั้ง โดยล่าสุดกับการคว้ารางวัล Marketeer No.1 Brand Thailand แบรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทยประจำปี 2021-2022

จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-พันธมิตรทางธุรกิจ และธุรกิจแกร็บมาร์ท แกร็บ ประเทศไทย กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้Grabกลายเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคได้สูงสุดต่อเนื่องมานานหลายปี ยังคงเป็น 4 แกนหลักอย่าง

  • Wide Selection การมีร้านอาหารและเมนูที่หลากหลายบนแพลตฟอร์ม โดยในแต่ละปี Grabมีร้านอาหารใหม่ ๆ เข้ามาร่วมในแพลตฟอร์มจำนวนมาก มีตั้งแต่ร้านเล็ก สตรีทฟู้ดไปจนถึงร้านมิชลินชื่อดัง หรือการจัดหมวดหมู่ร้านอาหาร เช่น #GrabThumpsUp, ร้านเล็กลด 50%, ร้านเล็กเรตติ้งปัง หรือรวมร้านคนละครึ่ง หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเทรนด์
  • Best Deal ที่มีทั้ง “แคมเปญ” และ “ดีล” ที่น่าสนใจตอลดทั้งปี ซึ่งGrabถือเป็นเบอร์ 1 ด้านการจัดแคมเปญที่มีไอเดียลูกเล่นใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้สนุกและตื่นเต้นอย่างต่อเนื่อง
  • Reliability ความเชื่อมั่นในบริการ ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้ว่าสั่งGrabแล้วได้เสมอ เนื่องจากมีจำนวนคนขับมากที่สุด
  • Service คุณภาพของสินค้าและบริการที่Grabพัฒนาสิ่งที่มีให้ดีกว่าเดิมไปพร้อม ๆ กับคิดค้นบริการใหม่ ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภค เช่น การ สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าหลังใช้บริการ การพัฒนาบริการ GrabPay Wallet อย่างต่อเนื่อง การเปิดตัว “แกร็บเพ็ท” (GrabPet) บริการเดินทางสำหรับคนที่มีสัตว์เลี้ยง

จุดแข็งทั้งหมดที่ผ่านมาอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการแข่งขันในอนาคต ดังนั้น Grab ต้อง Keep Going สิ่งที่ทำในทุก ๆ มิติเพื่อรักษาแชมป์

“กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของGrabยังคงยึด 4 แกนหลักในข้างต้น แต่โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้กลยุทธ์ดังกล่าวแข็งแกร่งขึ้นหรือตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นกว่าเดิม”

นั่นทำให้Grabอัปเกรด 4 แนวทางการดำเนินธุรกิจข้างต้นภายใต้หลัก Customer Centric ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

ด้านการให้บริการ Grabนำกลยุทธ์ Subscription อย่างแพ็กเกจ “GrabUnlimited” มาใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ใช้Grabเป็นประจำ โดย GrabUnlimited เป็นการให้บริการในรูปแบบแพ็กเกจสมาชิกรายเดือนที่มาพร้อมกับส่วนลดสุดคุ้มที่หลากหลายให้เลือกใช้ตามไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของผู้บริโภค ท้ังบริการสั่งอาหารผ่านแกร็บฟู้ด บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านแกร็บมาร์ท บริการส่งพัสดุผ่าน แกร็บเอ็กซ์เพรส รวมถึงบริการการเดินทาง รวมถึงส่วนลดพิเศษประจำเดือน

ขณะเดียวกันGrabเองก็ได้ฐานลูกค้าประจำเพิ่มขึ้น รวมถึงได้ข้อมูลอินไซต์การใช้งานผลิตภัณฑ์ โปรโมชัน หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ทำให้Grabสามารถวัดผลจากการใช้งานจริงของลูกค้าและนำไปพัฒนาบริการได้อย่างตรงจุด

ความหลากหลายของตัวเลือกร้านอาหารหรือ Wide Selection เป็นสิ่งที่แกร็บให้ความสำคัญมาตลอด ทั้งผ่านการสร้าง Partnership เช่น การจับมือกับ Michelin ในการนำร้านดังที่ได้รับรางวัล Michelin Star หรือ อยู่ใน Michelin Guide มาไว้บนแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายพันธมิตรใหม่ ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าและตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การจับมือกับกลุ่ม Telco อย่าง AIS-DTAC, การจับมือกับกลุ่มธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินแบรนด์ต่าง ๆ, ตลอดจนการจับมือกับกลุ่มธุรกิจ Entertainment ในการสร้างแบรนด์และเจาะลูกค้าในแต่ละเซกเมนต์

“ถ้ามองย้อนกลับไป 2-3 ปีที่ผ่านมา Grabในวันนั้นต่างจากวันนี้มาก ๆ ทั้งในมุมของร้านค้าหรือฟีเจอร์การให้บริการ ปัจจุบันเรามีจำนวนร้านค้าอยู่บนแพลตฟอร์มหลายแสนร้าน ซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจำนวนและพื้นที่บริการที่ปัจจุบันครอบคลุมกว่า 68 หัวเมืองทั่วประเทศ มีตั้งแต่ร้าน Street Food ไปจนถึงร้านแบบ Fine Dining คือถ้านึกถึง Food ต้องนึกถึงGrab”

ด้าน Best Deal ที่Grabยืนหนึ่งในเรื่องนี้ก็ไม่เคยทำให้ผู้บริโภคผิดหวัง กับการมอบโปรโมชันและดีลใหม่อย่างที่กล่าวในข้างต้น แต่ที่พิเศษและมีชั้นเชิงที่น่าสนใจคือ ไอเดียแคมเปญการตลาด ที่ไม่ใช่แค่สนุกหรือแปลกใหม่ แต่ยัง Touch ใจผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ยกตัวอย่าง ล่าสุดกับ Music Marketing แคมเปญ “มหกินแกร็บทุกมื้อ เปิดแกร็บ กดแกร็บ!” ที่ได้ ‘เบลล่า-ราณี แคมเปน’ พรีเซนเตอร์ของแบรนด์มาถ่ายทอดบทเพลงที่ฟังแล้วติดหูกับท่อน “โหยหิว Grab Food หายหิว…Grab เช้าสายบ่ายเย็นดึก” พร้อมนำเสนอโปรโมชันส่วนลดต่าง ๆ

ที่น่าสนใจคือเนื้อเพลงที่สะท้อนให้เห็นว่า Grabพร้อมตอบโจทย์พฤติกรรมการกินของคนไทยที่ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารและของว่างถึง 7 ครั้งต่อวัน และGrabก็มีเมนูและร้านอาหารที่ตอบโจทย์มื้อเช้า-สาย-บ่าย-เย็น-ดึก ทุกช่วงเวลาของผู้บริโภค

สุดท้ายคือ ด้าน Reliability ที่สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ด้วยแต้มต่ออย่างการเป็น Super App ที่มีหลากหลายบริการให้เลือก รวมถึงจำนวนพาร์ตเนอร์คนขับ ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะในสถานการณ์ไหน สั่งGrabแล้วมีคนขับและได้รับอาหารแน่นอน

นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับการให้บริการอย่างรอบด้าน Grabจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนขับและทักษะของร้านค้าพาร์ตเนอร์ โดยจัดโครงการให้ความรู้ต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ‘แกร็บสัญจร’ รับฟังคนขับ-ร้านอาหาร ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือ การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Inclusion) ผ่านโครงการ GrabAcademy พัฒนาและส่งเสริมทักษะเชิงดิจิทัลแก่พาร์ตเนอร์คนขับและร้านอาหาร

“อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้ Grab เติบโตและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืนคือ การสร้างสมดุลในเชิงผลประโยชน์ให้เกิดกับทุกฝ่ายใน Ecosystem นั่นทำให้เห็นว่าทำไม Grab ถึงมีโครงการสนับสนุนพัฒนาทักษะต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง”

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online