ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของกลุ่มประเทศ 58 ประเทศที่ร่ำรวยและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 2.6% และในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2022 ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 7.1%

ในขณะที่หนี้รวมในประเทศเหล่านี้รวมกันทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 300 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 345% ของ GDP ของทุกประเทศรวมกัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากตัวเลข 255 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 320% ของ GDP ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

ยิ่งประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งเพิ่มความอ่อนไหวของเศรษฐกิจต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

The Economist ได้ประมาณค่าดอกเบี้ยสำหรับภาคครัวเรือน บริษัท และรัฐบาลใน 58 ประเทศทั้งร่ำรวยและเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่เมื่อรวมกันแล้วขนาดเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนมากกว่า 90% ของ GDP โลก

โดยในปี 2021 มูลค่าดอกเบี้ยของประเทศเหล่านี้อยู่ที่ 10.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 12% ของ GDP รวมกัน และในปี 2022 มียอดหนี้สูงถึง 13 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 14.5% ของ GDP

และถ้าหากอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ  ระดับอัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้นไปแตะที่ระดับ 17% ของ GDP ภายในปี 2027 นี่เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นอย่างไรหากตลาดหุ้นประเมินสถานการณ์ความเข้มงวดทางการเงินต่ำเกินไป ซึ่งถ้าธนาคารกลางมีมาตรการในการดูแลเงินเฟ้อที่เข้มงวดมากขึ้นก็อาจจะทำให้ยอดหนี้เพิ่มสูงขึ้นอีกกว่า 20% ของ GDP

แต่ระดับหนี้สินโดยเฉลี่ยขนาดนี้สามารถเผยให้เห็นความแตกต่างอย่างมากระหว่างอุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลของประเทศกานาจะต้องเผชิญกับอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ที่มากกว่า 6 เท่า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ 75% ซึ่งเกือบจะหมายถึงรายจ่ายของภาครัฐที่หนักอึ้งเอามาก ๆ

อัตราเงินเฟ้ออาจแบ่งเบาภาระเล็กน้อย โดยผลักดันรายได้จากภาษีเล็กน้อย รายได้ครัวเรือน และผลกำไรของบริษัท อีกทั้งหนี้ทั่วโลกในฐานะส่วนหนึ่งของ GDP ก็ได้ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 355% ของ GDP ในปี 2021 แต่จนถึงตอนนี้เรื่องของเงินเฟ้อได้บรรเทาเบาบางลงได้มากกว่าการชดเชยด้วยการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น ในอเมริกา อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งวัดจากอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ชนิดป้องกันเงินเฟ้อของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อายุ 5 ปีที่อยู่ที่ 1.5% เทียบกับค่าเฉลี่ย 0.35% ในปี 2019

การวัดว่าภาคครัวเรือน บริษัท และรัฐบาลในกลุ่มตัวอย่างประเทศทั้ง 58 ประเทศ ประเทศใดที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะอาศัยตัวแปร 2 ตัว ได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt-to-Income) และการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงภาคครัวเรือนของประเทศที่ร่ำรวย อย่างเช่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน ดูอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั้ง 3 ประเทศมีระดับหนี้สินเกือบ 2 เท่าของรายได้ และจะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่สิ้นปี 2019

แม้ว่าประเทศที่มีเวลาเตรียมตัวสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อย อาจจะต้องเผชิญกับความยากลำบากมากกว่าประเทศอื่นที่เป็นหนี้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การจำนองในเนเธอร์แลนด์มักมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวกว่าประเทศอื่น ๆ หมายความว่าครัวเรือนของประเทศนั้นได้รับการปกป้องจากผลกระทบของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่านั่นเอง

ในทางตรงกันข้าม ในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนมีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ระยะสั้นหรือกู้ยืมในเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น อย่างในสวีเดน การจดจำนองที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวมีสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ซึ่งหมายความว่าเราอาจเห็นปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนเร็วกว่าที่คิด

รัฐบาลในประเทศที่ร่ำรวยส่วนใหญ่มีมาตรการในการจัดการกับมาตรการการเงินแบบตึงตัวที่ดีกว่าประเทศที่ยากจน ในอิตาลีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศยูโรโซนก็ยังคงมีความเสี่ยงถ้าหากว่าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น (รัฐบาลเสี่ยงที่จะต้องใช้หนี้เป็นจำนวนมากขึ้น) เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB มีแผนที่จะใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อีกทั้ง ECB เองก็ได้หยุดการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และจะเริ่มลดขนาดงบดุลในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้

ลำดับต่อไปนี้เป็นลำดับรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาถ้าหากว่ามีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นแบบเต็มตัว

 

ประเทศที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยสูงที่มาจากหนี้ภาคครัวเรือน (จาก 40 ประเทศ)

 

  • เดนมาร์ก
  • นิวซีแลนด์
  • เนเธอร์แลนด์
  • สวีเดน
  • สหราชอาณาจักร
  • แคนาดา
  • สหรัฐอเมริกา
  • จีน

 

ประเทศที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยสูงที่มาจากหนี้ที่รัฐบาลก่อ (จาก 54 ประเทศ)

 

  • กานา
  • อียิปต์
  • บราซิล
  • อิตาลี
  • อาร์เจนตินา
  • สหราชอาณาจักร
  • สหรัฐฯ
  • จีน

 

ประเทศที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยที่สูงที่มาจากหนี้ของบริษัทเอกชน (จาก 39 ประเทศ)

 

  • ลักเซมเบิร์ก
  • ฝรั่งเศส
  • ฮังการี
  • บราซิล
  • อิตาลี
  • สหรัฐอเมริกา
  • จีน
  • อินเดีย

 

อ้างอิง

 

https://www.economist.com/finance-and-economics/2023/02/19/the-worlds-13trn-interest-bill



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน