ย้อนกลับเมื่อปี 2020 “ทาลลินน์” เมืองหลวงของประเทศ “เอสโตเนีย” ได้รับเลือกให้เป็น “ชุมชนอัจฉริยะแห่งปี” สปอตไลท์จากทั่วโลกจึงฉายแสงไปยังหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดของยุโรปแห่งนี้ และพบว่าแกนหลักที่เปลี่ยนประเทศที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบคอมมิวนิสต์ (เป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตในปี 1991) ให้เป็น “ประเทศพัฒนา” อย่างสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น คือการปฏิรูปสู่การเป็น “e-Government(รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่าง เช่น อินเทอร์เน็ต มาใช้เพื่อปรับปรุงกิจกรรมและกระบวนการของรัฐบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน ไปจนถึงการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารด้านงานบริการสาธารณะของภาครัฐ และพัฒนาในทุกภาคส่วนจนยกระดับสู่ “ประเทศที่มีสังคมดิจิทัลล้ำสมัยที่สุดในโลก”

Marketeer ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานด้านดิจิทัล ร่วมกับ “ธนาคารกรุงไทย”e-Estonia Briefing Center เมืองทาลลินน์ สาธารณรัฐเอสโตเนีย จึงขออนุญาตสรุปภาพรวมที่น่าสนใจมาให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับชมพร้อมกัน

1. E-Governance ไม่ใช่แค่นโยบายหาเสียง

Mart Laar

ปฏิเสธไม่ได้การชนะการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ของ “Mart Laar” คนรุ่นใหม่วัย 32 ปี ที่มาพร้อมทีมงานคณะรัฐมนตรีหัวก้าวหน้าที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ (เฉลี่ยเพียง 35 ปี) คือ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของดินแดนแห่งนี้

โดยเข้ามาวางแนวทางปฏิรูประบบประเทศอย่างรวดเร็ว เน้นการวางรากฐานให้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนส่วนงานต่าง ๆ ของประเทศ จนทุกวันนี้เอสโตเนียเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้าน e-Governance และ Digitalize อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่เอสโตเนียปฏิรูปรัฐบาลเป็น Digital Government คือ แก้ปัญหาคอร์รัปชัน และ ลดต้นทุนการให้บริการภาครัฐ เนื่องจากหลังแยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียต เอสโตเนียประสบปัญหาคอร์รัปชันและขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก และด้วยขนาดประเทศที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากนัก ทำให้มีต้นทุนในบริการของภาครัฐสูง และไม่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่มีประชากรจำนวนมากได้

หนึ่งในจุดที่น่าสนใจ คือ ในยุค ’90 เอสโตเนียมีผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีสถาบันวิจัยด้าน Cybernetics ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้รวมตัวกันหารือร่วมกับรัฐบาล แล้วเห็นตรงกันว่า Digitalization” หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารและกระบวนการทำงานของประเทศ จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ทำให้เอสโตเนียประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลคือ “ทุกพรรคการเมือง เห็นไปในทางเดียวกันว่า ประเทศจะต้องพัฒนาด้านดิจิทัลต่อเนื่อง” ดังนั้น ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล จะร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปในแนวทางเดียวกันทั้งหมดแบบไม่แตกแถว

และรัฐบาลยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อยกระดับให้เกิด Digitalization อย่างสมบูรณ์แบบยิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมถึงปรับกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อภาคเอกชนที่เข้าร่วมอีกด้วย ยังรวมไปถึง “ภาคธนาคาร” ที่ปรับสู่การให้บริการบนดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยสมบูรณ์เพื่อให้เข้าถึงคนได้มากขึ้นด้วยต้นทุนการให้บริการที่ถูกกว่าการเปิดสาขา นอกจากนี้  ธนาคารยังสนับสนุนการพัฒนา Computer Literacy” ของคนในประเทศ เพื่อรองรับการใช้บริการแบบดิจิทัล

ในปัจจุบัน 99% ของบริการในเอสโตเนียกลายเป็น e-Service ที่สามารถทำผ่านออนไลน์ได้ทั้งหมด ยกเว้นการหย่า ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมาย แต่คาดว่าจะสมบูรณ์ 100% ในปี 2024  อย่างไรก็ดี ทุกบริการที่เป็น e-Service หากประชาชนไม่สะดวกในการใช้บริการ สามารถใช้รูปแบบเดิมได้ ซึ่งก็สะดวกรวดเร็วอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ e-Service หมดแล้ว

2. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล
โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

ปัจจุบันเอสโตเนียมี State Portal Website (eesti.ee) เป็น One-stop Shop สำหรับบริการภาครัฐและเป็นแหล่งรวมข้อมูลสำหรับบุคคลและธุรกิจ ที่ออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย ทุกเพศวัย

นอกจากการดูข้อมูลและใช้บริการ e-Service ต่าง ๆ ของภาครัฐแล้ว ยังมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นและสร้างความโปร่งใส เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน คือ Data Tracker” ที่ให้เจ้าของข้อมูลสามารถดูได้ว่า “ข้อมูลของเราถูกหน่วยงานใดเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคล” หากมีสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที

โดยรากฐาน e-Service ของเอสโตเนีย มีอยู่ด้วยกัน 3 เสาหลัก ได้แก่

1. Confidentiality ปลอดภัยและเป็นความลับ

Confidentiality” คือ การที่คนสามารถยืนยันตัวตนผ่าน e-Identification ได้อย่างปลอดภัย และมั่นใจได้ว่า ข้อมูลต่าง ๆ จะเป็นความลับ

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการยืนยันตัวตน 3 อย่าง คือ 1. บัตรประชาชนแบบสมาร์ท จะมีชิปฝังอยู่ในบัตร (มี Card Reader เพื่อเสียบเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) 2. Mobile ID เป็นซิมการ์ดที่ใช้ยืนยันตัวตน  และ 3. Smart ID แอปพลิเคชันที่ใช้ยืนยันตัวตน

โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องใช้ร่วมกับ PIN 1 : สำหรับยืนยันตัวตน เช่น การล็อกอินเข้าระบบต่าง ๆ และ PIN 2 : ใช้ในการลงนาม Digital Signature ซึ่งเทียบเท่ากับการลงนามบนกระดาษ มีผลผูกพันทางกฎหมาย

ปัจจัยที่ทำให้ e-Identity ในเอสโตเนียประสบความสำเร็จ คือ รัฐบาลบังคับให้ทุกคนมี Digital Identity” โดยให้มาพร้อมกับบัตรประชาชน นอกจากนี้ รัฐยังเปิดให้ภาคเอกชนต่าง ๆ นำ e-Identity ไปใช้ในการยืนยันตัวตน ทำให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ธนาคาร” ที่นำไปใช้ยืนยันตัวตนลูกค้า เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งทำให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้

2. Availability ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ตลอดเวลา

คือ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยสิ่งที่สนับสนุนสิ่งนี้คือ X-Road” ที่พัฒนาโดยบริษัท Cybernetica เป็น Secure Data Exchange Infrastructure ที่ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างปลอดภัย ด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่ง

โครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลของเอสโตเนียเป็นแบบ Decentralized” คือ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของตนเอง และเมื่อหน่วยงานอื่นต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าวก็สามารถดึงข้อมูลดังกล่าวไปใช้ได้ ทำให้ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลเดียวกันซ้ำในสองที่ (Once-only Principle) มั่นใจได้ว่า ข้อมูลถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่อยู่จะถูกจัดเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลของทะเบียนราษฎร์เพียงที่เดียว หากหน่วยงานอื่นต้องการทราบว่า บุคคลนี้อาศัยอยู่ในเมืองทาลลินน์หรือไม่ สามารถดึงข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์โดย e-Service ของหน่วยงานอื่นได้ แต่จะได้รับคำตอบเพียงเท่าที่จำเป็นต่อการตอบคำถามเท่านั้น (Need-to-know Basis) ซึ่งหากมีการย้ายบ้านก็แจ้งย้ายบ้านกับทะเบียนราษฎร์เพียงครั้งเดียว ไม่ต้องไปแจ้งหน่วยงานอื่น ๆ โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่าน X-road

ทั้งนี้ X-road ไม่ได้จำกัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้น หน่วยงานเอกชนก็จัดเก็บข้อมูลและส่งข้อมูลผ่าน X-road ได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือสถาบันการศึกษา และอื่น ๆ

3. Integrity ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล

รัฐบาลเอสโตเนียร่วมกับบริษัท Guardtime พัฒนา KSI Blockchain” มาใช้ในการรักษาความปลอดภัยของ Sensitive Data เพื่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลได้

การพัฒนา KSI Blockchain มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่เอสโตเนียโดน Cyber Attack ในระดับประเทศ จึงต้องหาวิธีรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมี Data Embassy” คือ การ Back Up ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลสูญหาย หรือเกิด Cyber Attack อีก

ในการเยือน e-Estonia ครั้งนี้ ได้มีการ On-Ground Demo “การใช้บัตรประชาชนแทน Loyalty Card” เพียงมีบัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถใช้สะสมแต้มหรือรับส่วนลดสำหรับสมาชิกได้ทุกที่ ทำให้ชีวิตสะดวกขึ้น ไม่ต้องพกบัตร Loyalty Card ของห้างร้านต่าง ๆ หลายใบอีกต่อไป  และ “การเลือกตั้งออนไลน์” (i-Voting) โดยประชาชนสามารถ Log-in เข้าระบบด้วยบัตรประชาชน หรือ Mobile ID หรือ Smart ID อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับการใช้ PIN 1 ที่ใช้ในการยืนยันตัวตน จากนั้นระบบจะแสดงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สามารถเลือกได้ เมื่อเลือกแล้วจะต้องยืนยันด้วย PIN 2 ซึ่งใช้ในการลงนาม Digital Signature

3. เอสโตเนียเป็นแหล่งรวม Start-up ของโลก
พร้อมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ

ปัจจุบันเอสโตเนียถือเป็นแหล่งรวม Start-up ของโลกแห่งหนึ่ง และเป็นประเทศที่มีอัตรา Start-up per Capita” สูงที่สุดในโลก รวมถึงมี Unicorn per Capita” สูงที่สุดในยุโรป (อันดับ 2 ของโลก)

ยิ่งไปกว่านั้น ชุมชน Start-up ยังสนับสนุนและแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เนื่องจากแต่ละรายไม่แข่งขันกันแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศ เพราะต่างมีตลาดของตนเองในต่างประเทศทั้งสิ้น

ปัจจัยสำคัญคือการที่รัฐบาลทำให้เอสโตเนียมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ มีดัชนีวัดระดับความยากง่ายของการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ในระดับสูง คือ ความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจหรือการดำเนินธุรกิจในประเทศอย่างมาก ซึ่งสามารถตั้งบริษัทได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังมี “โครงการ e-Residency” คือ การที่คนต่างชาติสามารถมาสมัครเป็นพลเมืองของเอสโตเนีย และตั้งบริษัทสัญชาติเอสโตเนียโดยบริหารจัดการบริษัทได้แบบออนไลน์ 100% ลดความยุ่งยากในการติดต่อกับรัฐบาล ทำให้เข้าถึง European Single Market โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่

จากโครงการ e-Residency เอสโตเนียได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษี ชดเชยภาษีที่เก็บได้น้อยลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ รวมถึงเกิดการสร้างงานทางอ้อมภายในประเทศ และมีการใช้จ่ายหรือใช้บริการบริษัทอื่น ๆ รวมไปถึงยังมีนโยบายจัดเก็บภาษีที่ดึงดูด โดยยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรที่นำกลับมาลงทุนต่อ

ทั้งนี้ ในการไปเยือนเอสโตเนียครั้งนี้ ได้มีตัวแทนจาก Cybernetica” (ผู้พัฒนา X-Road และเทคโนโลยียืนยันตัวตนออนไลน์ Splitkey) และ Guardtime” (ผู้พัฒนา KSI Blockchain) ซึ่งเป็น 2 บริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา e-Estonia ให้กับรัฐบาล และยังมี Commercial Product ที่ทำให้กับรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ และหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ มากมาย มาร่วมให้ข้อมูลและอธิบายถึงโปรดักส์ให้ฟังเพิ่มเติมด้วย

4. แนวทางพัฒนาของเอสโตเนียในอนาคต

แม้จะยกระดับประเทศและพัฒนาไปไกลเกินนานาประเทศมากมาย แต่เอสโตเนียได้มีแนวทางพัฒนาด้านต่าง ๆ ในอนาคตอีกมากมาย อาทิ

  • รัฐบาลต้องการเป็น Proactive Government ที่จะนำบริการหรือสิทธิที่ประชาชนแต่ละคนพึงได้รับ ไปยื่นให้กับประชาชนโดยไม่ต้องร้องขอ เนื่องจากประชาชนบางคนไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการใดบ้าง เช่น เมื่อคลอดบุตรโรงพยาบาลจะแจ้งเกิดให้ พ่อแม่ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรจะได้รับข้อความให้เลือกบัญชีที่จะรับเงินทันที โดยไม่ต้องไปแจ้งกับหน่วยงานที่ให้สวัสดิการเองว่าตนเองมีลูกแล้ว เป็นต้น
  • นำ “AI Chatbot” มาช่วยในการโต้ตอบกับประชาชน โดยให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการภาครัฐ พร้อม พัฒนา Speech Recognition” เพื่อให้สามารถพูดคุยได้โดยใช้เสียง เอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถพิมพ์โต้ตอบ ให้สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างเท่าเทียม
  • ให้ประชาชนสามารถใช้งานระบบต่าง ๆ ในต่างประเทศได้ (Cross-border Digitalization) ซึ่งในปัจจุบันใช้ได้แล้ว เช่น e-Prescription สามารถให้แพทย์ที่ไปหาประจำออกใบสั่งยาให้ และแสดงบัตรประชาชนซื้อยาในฟินแลนด์ได้ เป็นต้น
  • สร้าง Personalized Medicine คือ การนำข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลทางพันธุกรรมมาประมวลผล เพื่อให้คำแนะนำกับประชาชนในการป้องกันโรค ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการรักษาโรค
  • มุ่งสู่ Green ICT ด้วยการหาแนวทางและกำหนดยุทธศาสตร์ในการลด Carbon Footprint ที่เกิดจากการจัดเก็บข้อมูลและดำเนินการด้านดิจิทัล

ในกิจกรรม On-Ground Demo ได้มีการโชว์เทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างCLEVON 1 : รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ” ซึ่งอยู่ในขั้นทดลอง โดยบริษัท CLEVON ร่วมมือกับบริษัทขนส่งพัสดุ DHL และ DPD พัฒนา Last Mile Delivery หรือการส่งพัสดุให้ถึงมือผู้รับปลายทางด้วยรถ CLEVON 1 เพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนคนขับ และปัญหาค่าแรงคนขับแพง

โดย “CLEVON 1 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา ช่วยลด Carbon Emission และประหยัดพลังงานไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 50 กม./ชั่วโมง รองรับทั้งการชาร์จด้วยปลั๊กและชาร์จแบบ Wireless (ใช้เวลาเพียง 45 นาที ในการชาร์จจาก 20% ถึง 80%) และการชาร์จหนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ประมาณ 80 กิโลเมตร หรือ 5 ชั่วโมง) แม้รถดังกล่าวจะไม่มีคนขับ แต่จะมี TeleOperator คอยควบคุมรถจากทางไกลผ่านเครือข่าย 4G กรณีที่รถประสบเหตุผิดปกติ และเมื่อกลับสู่สถานการณ์ปกติแล้วจึงจะใช้ระบบ Auto ต่อไป

ส่วนการใช้งานในการส่งพัสดุของ DHL ผู้รับพัสดุจะได้รับ SMS จาก DHL แจ้ง PIN Code สำหรับรับพัสดุ โดยรถคันที่นำมา Demo ให้ชมนั้นมีการแบ่งช่องเก็บของ 6 ช่อง สามารถส่งของถึงมือผู้รับได้ 6 คนต่อการเดินรถหนึ่งรอบ โดยจำนวนช่องใส่ของสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะการใช้งานของรถ เมื่อของมาถึงผู้รับแต่ละคนจะนำ PIN ที่ได้รับทาง SMS ไปใส่ เพื่อเปิดช่องเก็บของของพัสดุตนเองเพียงช่องเดียว (ไม่สามารถไปยุ่งกับพัสดุของคนอื่นที่จัดส่งในรอบเดียวกัน)

“CLEVON 1 ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการส่งของได้เท่านั้น แต่ยังนำไปปรับใช้ใน Use Case อื่น ๆ เช่น รถ Food Truck ที่วิ่งรอบเมืองได้อัตโนมัติ หรือติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็วเพื่อส่งไปจับความเร็วในที่ต่าง ๆ เป็นต้น (คาดว่า ราคาขายจะอยู่ที่ประมาณคันละ 50,000 ยูโร ซึ่งใกล้เคียงกับรถทั่วไป)

เปิดประสบการณ์ “Krungthai Travel Card”
บัตรเดียวคุ้มค่า สะดวก ปลอดภัย จ่ายง่ายไม่มีค่าธรรมเนียม

ในโอกาสนี้ “ธนาคารกรุงไทย” ได้พา Marketeer ไปร่วมเปิดประสบการณ์ความสะดวกในการใช้จ่ายต่างแดนผ่านบัตร “Krungthai Travel Card” ใน 3 ประเทศแถบทะเลบอลติก ได้แก่ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย

​โดยบัตร Krungthai Travel Card ถูกพัฒนาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีการใช้จ่ายในต่างประเทศโดยเฉพาะ ลูกค้าสามารถแลกเงินสกุลต่างประเทศเก็บไว้ในบัตรในอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี  เมื่อนำบัตรไปใช้งานที่ต่างประเทศ จะหักเงินตรงตามสกุลเงินที่แลกไว้ ทำให้ไม่เกิดส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน และไม่มีค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งแตกต่างจากการใช้จ่ายด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต หรือมีความเสี่ยงจากการพกเงินสดเป็นจำนวนมากในการเดินทางไปต่างประเทศ

จุดเด่นของบัตรคือ สามารถแลกเงินสกุลต่างประเทศด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีได้ถึง 20 สกุลเงิน และสามารถแลกเงินโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการแลกเงินและไม่เสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% (กรณีใช้จ่ายตรงกับสกุลเงินที่แลกไว้) รวมทั้งขายคืน ตรวจสอบยอด เปิด และปิดการใช้งานบัตรชั่วคราวได้ด้วยตัวเอง ตลอดเวลา ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ในส่วนของการใช้งานนั้น  “Krungthai Travel Card” เป็นลักษณะของบัตรเดบิต เพียงแค่แตะบัตรก็สามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายดาย โดยไม่มีชาร์จค่าธรรมเนียมใด ๆ ซึ่งจากประสบการณ์การใช้งานตรงถือว่าตอบโจทย์การจับจ่ายต่างแดนมาก ๆ เนื่องจากทั้งสามประเทศเข้าสู่ Cashless Society  เกือบเต็มรูปแบบ ร้านรวงต่าง ๆ ทั้งห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟ ผับ บาร์ มาร์ตในปั๊มน้ำมัน หรือแม้แต่ห้องน้ำสาธารณะก็ล้วนแต่รองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังมีบริการ “บัตรเสริม  Krungthai Travel Card” ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้เงินในบัตรร่วมกับบัตรหลัก โดยผู้ถือบัตรหลัก สามารถแลกเงินและจัดการวงเงินในบัตรเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า อาทิ ครอบครัวส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นต้น รวมถึงสิทธิพิเศษอีกมากมาย (รายละเอียดเพิ่มเติม: https://bit.ly/4184jw3)

เรียกได้ว่า Krungthai Travel Card คือ “ที่สุดสำหรับนักเดินทาง” บัตรเดียวคุ้มค่า ตอบโจทย์ทุกการใช้จ่ายต่างแดนอย่างแท้จริง



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน