ตลาดสมาร์ทโฟนไทย Q1/23 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา 25.7% มียอดการขายที่ 3,452,300 เครื่อง
และเป็นการหดตัวต่ำกว่าตลาดโลกที่หดตัวลง 14.6% ด้วยยอดขาย 268,600,000 เครื่อง ข้อมูลอ้างอิงจาก IDC
แม้ตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะหดตัวลงแต่ 4 ใน 5 แบรนด์หลักมีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น จากการช่วงชิงตลาด Samsung และแบรนด์รองอื่น ๆ
ในไตรมาส 1/23
Samsung มีส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือเพียง 23.8% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มีส่วนแบ่งตลาด 27.5%
ส่วน Oppo มีส่วนแบ่งตลาด 22.3% เพิ่มขึ้นจาก 18.3%
Apple ส่วนแบ่งตลาด 19.4% จาก 10.7%
Xiaomi ส่วนแบ่งตลาด 12.7% จาก 9.3%
Realme ส่วนแบ่งตลาด 7.7% จาก 6.5%
การเติบโตอย่างเห็นได้ชัดของ Apple มาจากในไตรมาส 4/22 Apple ในประเทศไทยประสบกับสภาวะขาดแคลนสินค้าหลังจากวางขาย iPhone 14 ในไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2022
ทำให้ iPhone 14 มียอดจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้นใน Q1/23 หลังจากที่สินค้าเริ่มเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
ประกอบกับในวันที่ 14 มีนาคม 2023 Apple เปิด iPhone 14 สีเหลืองเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการดึงดูดยอดขายอีกด้วย
ส่วน Samsung แม้ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดจะลดลง แต่ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในไตรมาสนี้ จากการเปิดตัว Samsung Galaxy S23 Series กล้องที่มีพลังซูมสูงในตลาดไทย
อย่างไรก็ดี แม้ยอดขายสมาร์ทโฟนในไทยจะหดตัวลง แต่เมื่อมองไปที่ราคาขายเฉลี่ยต่อเครื่อง ใน Q1/23 กลับมีราคาเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าเดิม 26% ด้วยราคาเฉลี่ยต่อเครื่อง 13,600 บาท
ราคาเฉลี่ยที่สูงขึ้นนี้มาจากคนไทยซื้อสมาร์ทโฟนในราคาที่สูงขึ้น
ข้อมูลจาก IDC พบว่าตลาดสมาร์ทโฟนระดับล่างที่มีราคาต่ำกว่า 7,000 บาท หรือ 200 USD มีสัดส่วนที่ลดลงจาก 59% ใน Q1/65 เหลือเพียง 51% ใน Q1/23
และสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมที่มีราคาต่ำกว่า 28,000 บาท หรือ 800 USD มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 19% จาก Q1/22 มีสัดส่วน 11% เท่านั้น
การเติบโตของสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สมาร์ทโฟนรองรับเครือข่าย 5G ยังมีสัดส่วนยอดขายที่เพิ่มขึ้นจาก 33% ใน Q1/22 เป็น 45% ใน Q1/23
แต่การเติบโตของสมาร์ทโฟน 5G ในประเทศไทยไม่ใช่เติบโตมาจากกลุ่มพรีเมียมเท่านั้น
เพราะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนยังนำเทคโนโลยี 5G ใส่ในสมาร์ทโฟนที่ถูกลงเพื่อเป็นอีกหนึ่งจุดขายดึงดูดลูกค้าด้วยเช่นกัน
–
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ