ผู้บริโภค 2023 Consumers Untold ทำความรู้จักผ่านชีวิต การเงิน และมีเดีย

2023 ปีแห่งการกลับมาเริ่มต้นใหม่ จากการหยุดชะงักไปชั่วคราวจากโควิด-19

การกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในงาน GroupM Focal 2023 ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด และแพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการแผนกพัฒนา และการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ร่วมเปิดเผยพฤติกรรมผู้บริโภคในปีนี้ใน Session Consumers Untold ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การใช้เงิน และการบริโภคมีเดีย

ในปีนี้ผู้บริโภคมองว่าเป็นปีที่ดีขึ้นจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เริ่มกลับมาจากการเปิดประเทศ เปิดโลกที่ดึงให้นักท่องเที่ยวกลับมาสร้างเงินสะพัดในประเทศ

ประกอบกับปีนี้ผู้บริโภคเริ่มมีความหวังจากการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ ที่อาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น จากวิธีการใหม่ ๆ ที่เข้ามาพัฒนาประเทศ

ส่วนโควิด-19 พวกเขามองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว และล้าหลัง จากความชินชากับความกลัว

และมองว่าสถานการณ์ PM2.5 เป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรงกว่า ที่ทำให้สูญเสียสุขภาพและรายได้ จากฝุ่นที่ปกคลุมจนนักท่องเที่ยวอาจลังเลที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มต้นใหม่จากการเห็นอนาคตที่ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าในปีนี้ผู้บริโภคกลับมาให้ความสำคัญกับงานหลัก หรือการหางานใหม่ ๆ ที่เป็นงานหลักมากขึ้น และหารายได้เสริมเมื่อมีโอกาส จากปีที่ผ่านมาที่เน้นไปยังอาชีพเสริมต่าง ๆ เช่น ไรเดอร์ฟู้ดเดลิเวอรี่

และเกิดการนำเงินออกมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดจากความรู้สึกเก็บกดมานาน และมองว่าไม่จำเป็นต้องเก็บเงินจากความไม่แน่นอนของอนาคตอีกต่อไป

ทำให้เราได้เห็นผู้บริโภคออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ซื้อสินค้าที่อยากได้ และออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ท่องเที่ยว และอัปเดตชีวิตดี ๆ ในโลกโซเชียลอยู่เสมอ จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคอื่น ๆ เริ่มมองว่าต้องพาตัวเองออกไปใช้ชีวิตดี ๆ จนเริ่มเก็บเงินเพื่อการท่องเที่ยวอีกครั้ง

เพราะในวันนี้คนไทยชอบการใช้เงินอยู่

การใช้เงินของคนไทย ถ้ามองไปที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พวกเขายังคงใช้อยู่ เพราะมองว่าเป็นเหมือนการได้ของฟรีมาใช้ แม้ร้านค้าที่รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะมีน้อยลง และต้องเดินทางไปร้านไกลขึ้น จากที่ร้านค้ามองว่าการรับชำระด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำให้ร้านต้องเสียภาษีมากขึ้นและทยอยออกโครงการไป

แต่พฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานจากใช้บัตรของตัวเอง เป็นรวมกลุ่มเพื่อใช้บัตรร่วมกันเพื่อซื้อสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น และหมุนเวียนใช้บัตรร่วมกันทุกเดือน เพื่อให้ได้สินค้าเดียวกันทุกบ้าน 

รวมถึงการจ่ายเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกเดือนกับร้านที่รับบัตร แต่ยังไม่ซื้อสินค้ากลับไปเพื่อสะสมเม็ดเงินให้มีจำนวนมากพอที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาที่สูงขึ้นกว่าวงเงินบัตรที่ได้รับแต่ละเดือน เป็นต้น

เมื่อมองไปที่การซื้อหวย ในปีนี้พฤติกรรมการซื้อหวยของคนไทยได้เปลี่ยนไปจากปีที่ผ่านมา จากการมองว่าซื้อหวยคือการสร้างความหวัง เป็นการซื้อเพื่อความสนุก และไม่จำเป็นต้องซื้อถ้าต้องการนำเงินไปใช้อย่างอื่น

สำหรับการช้อปปิ้งในปีนี้ผู้บริโภคออกมาใช้จ่ายในห้างมากขึ้น เพราะมองว่าการเดินห้างเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เพื่อน และเพื่อผ่อนคลาย

แต่พฤติกรรมการเดินซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างเปลี่ยนไป จากเดิมที่ซื้อของสดเพื่อทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เป็นการซื้ออาหารถุงเพราะมองว่าไม่ต้องซื้อจำนวนมาก ๆ และประหยัดกว่า

ส่วนการช้อปปิ้งออนไลน์ ผู้บริโภค 2023 มีการช้อปน้อยลง และช้อปตามโปรโมชันที่ถูกใจจริงๆ และไม่ซื้อสินค้าเหมาผ่านช่องทางออนไลน์ และไปเลือกซื้อตามห้างสรรสินค้าแทน เพราะสามารถดูวันหมดอายุได้

การออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นของผู้บริโภคยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคใช้งานบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ลดลง เพราะมองว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ค่าอาหารและบริการค่าส่งที่แพง และสั่งซื้อเพราะต้องการความสะดวกเท่านั้น

การสั่งซื้อฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในยุคนี้ยังมีพฤติกรรมสั่งอาหารกับเพื่อนเพื่อหารค่าส่งอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ในวันนี้เครือข่ายมือถือได้ขยายสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกลถึงขอบชายแดนประเทศ มีคุณภาพและความแรงจากโอเปอเรเตอร์ทุกเครือข่าย ทำให้ผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงความรู้ต่าง ๆ ผ่านดิจิทัล และยังสามารถนำเทคโนโลยีเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตัวเองได้ เช่น การใช้เพื่อเป็นช่องทางนำเสนอสินค้าที่ตัวเองมีอยู่ถึงผู้บริโภคทั่วโลกผ่านโลกออนไลน์ และไม่จำเป็นต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยวิเคราะห์ในการปลูกข้าว เป็นต้น

แต่การเข้าถึงเทคโนโลยีเหมือนเหรียญสองด้าน เพราะที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคถูกมิจฉาชีพหลอกลวงได้เช่นกัน

เช่น การโดนแฮกเฟซบุ๊ก และการหลอกลวงอื่น ๆ จนผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจและระแวงในการเข้าถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ

สำหรับการเสพสื่อและคอนเทนต์ ในปีนี้ผู้บริโภคมีความกระตือรือร้นในการชมคอนเทนต์ จากความคิดว่าพวกเขาสามารถเลือกคอนเทนต์ตามความสนใจผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้

แต่ความสนใจของผู้บริโภคในวันนี้ จะสนใจคอนเทนต์ที่ดูง่าย ดูเร็ว หรือสามารถดูและหยุดได้เพื่อไปทำอย่างอื่น และกลับมาดูใหม่

ซึ่งการดูคอนเทนต์ของผู้บริโภคจะสามารถแยกย่อยตามรูปแบบของคอนเทนต์และแพลตฟอร์มยอดนิยมได้ดังนี้

 

Shot Form Content

-Facebook

-TikTok

 

Long Form Content

-YouTube

-Netflix

-TV

การที่คอนเทนต์ทีวียังเป็นแพลตฟอร์มคอนเทนต์ยอดนิยม ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงดูคอนเทนต์ทีวีอยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการรับชมผ่านช่องทางต่าง ๆ เท่านั้น

 

Music

-YouTube

-Spotify

 

News

-Facebook

-Twitter

-Youtube

-Google

-Websites

-TikTok

 

Still Content

-Facebook

-Websites

-IG

 

 

ถ้ามองไปที่แอปพลิเคชันต่างๆ ที่ผู้บริโภคนิยมใช้บริการ จากข้อมูล Consumers Untold ในปีนี้พบว่า

แอปพลิเคชันที่ใช้เสพข่าวสาร

-TikTok

-IG

-Twitter

-TV

-Facebook

 

Communication

-LINE

-Messenger

-IG

-Telegram

 

แอปพลิเคชันเพื่อความบันเทิง
-TikTok

-YouTube

-Netflix

-Pirate Apps

 

 

แอปพลิเคชันการเงิน

-Krungthai

-SCB

-KBank

-True Wallet

-MyMo

 

 

แอปสำหรับช้อปปิ้ง

-Shopee

-Lazada

-Facebook

-IG

-TikTok

 

แอปเดลิเวอรี

-Grab

-LINEMAN

-7 Eleven

 

 

แต่ความท้าทายของนักการตลาดคือในวันนี้การสื่อสารถึงผู้บริโภค​ผ่านคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่ในวันนี้ผู้บริโภคมองว่าคอนเทนต์โฆษณาเข้ามาฟีดพวกเขา เป็นโฆษณาที่หลุดความต้องการ จากการส่งโฆษณาซ้ำ ๆ การส่งมาเป็นรูทีนที่อาจจะเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับความสนใจในช่วงเวลานั้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภครู้สึกไม่มั่นใจว่าแบรนด์รู้จักผู้บริโภคจริงหรือไม่

และความไม่มั่นใจนี้ยังขยายความรู้สึกของผู้บริโภคไปถึงการมองดาราที่พูดแนะนำสินค้าตามสคริปต์ แต่ไม่เข้าใจผู้บริโภค และมองดาราเพียงแค่ดารา ไม่ใช่พรีเซนเตอร์แบรนด์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ก่อนจากกัน ณีวและแพนได้ฝากข้อคิดให้กับนักการตลาด 4 ข้อคือ

 

  1. Be Human 

แม้จะมีเครื่องมือการตลาดอย่างดาต้าและ AI ที่เข้ามาช่วยนำทางให้กับนักการตลาดให้เรียนรู้ รู้จักผู้บริโภคเพื่อสื่อสารถึงผู้บริโภคอย่างตรงจุด

แต่นักการตลาดไม่ควรยึดติดกับข้อมูลดาต้าเพียงอย่างเดียว ต้องมองผู้บริโภคเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และสื่อสารถึงพวกเขาในรูปแบบผู้บริโภคคือคนคนหนึ่ง

 

 

  1. Smart Strategy Wins 

การตลาดแบบเดิมใช้ไม่ได้ผลมากนักกับวิถีผู้บริโภคเปลี่ยนไปในวันนี้

ผู้บริโภคไม่ได้ถูกแบ่งตาม Demographic แต่แบ่งตามความสนใจของพวกเขา

 

  1. Media & Content Come Together 

การเลือกใช้สื่อต้องควบคู่ไปกับการเลือกใช้คอนเทนต์

 

  1. Branding is Key

การสร้าง Branding เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้แบรนด์เติบโตในระยะยาว เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ว่าแบรนด์ไม่ได้หายไปจากตลาด

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online