Café Amazon กับแคมเปญโฆษณาที่กล้าเปิด ‘ความจริง’ ของเส้นทาง BCG Economy
ในแง่การดำเนินธุรกิจ “Café Amazon” คือแบรนด์ร้านกาแฟที่ประสบความสำเร็จอย่างมากท่ามกลางสมรภูมิตลาดอันร้อนแรง แต่ในอีกมิติ คือการเป็นแบรนด์ที่มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอด
โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นการขับเคลื่อนแบรนด์ที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ BCG Economy ตั้งแต่การบริหารจัดการอุปกรณ์ของใช้ (Supplies Used) ภายในร้านCafé Amazonที่มุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณการใช้พลาสติก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด การปรับปรุงกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น การให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกกาแฟคุณภาพโดยไม่ใช้สารเคมี การใช้แก้ว Bio Cup ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หลอดและแก้วสำหรับเครื่องดื่มเย็นที่ทำจากพลาสติก PLA ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยการฝังกลบ ตลอดจนการใช้ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยลดปริมาณขยะได้ถึงประมาณ 1,831 ตัน/ปี
ล่าสุดCafé Amazonนำสิ่งที่ “ลงมือทำ” ในข้างต้นมาขมวดเรื่องราวนำเสนอผ่านแคมเปญหนังโฆษณา “คาเฟ่อเมซอน กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก” ในรูปแบบ Storytelling และภาพโฆษณา (Key Visual) ได้อย่างน่าสนใจ
จากสองความเชื่อ อย่าง ความเชื่อในคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองของทุกคน ที่ทำให้Café Amazon ให้ความสำคัญกับคุณค่าของผู้คนผ่านการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพ การให้ความรู้เพื่อเพิ่มคุณค่ากับผู้คน รวมทั้งเพิ่มมูลค่าผลผลิต
และความเชื่อที่ว่า กาแฟที่ดีที่สุด คือ “กาแฟที่แฟร์กับโลกและผู้คน”
Café Amazonนำสองความเชื่อดังกล่าวมาร้อยเรียงบอกเล่าเรื่องราว การร่วมกันสร้างโอกาสให้กับผู้คนและโลกใบนี้ผ่าน “ความจริง” ที่แบรนด์ทำจริง ซึ่งถูกถ่ายทอดมาเป็นงานโฆษณาในแคมเปญ “กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก” และนี่คือจุดยืนที่สะท้อนตัวตนของCafé Amazon
ที่บอกว่าแคมเปญหนังโฆษณาตัวนี้น่าสนใจ นั่นเพราะCafé Amazonสามารถจะนำเรื่องจริงจากการลงมือทำมาเล่าผ่านหนังโฆษณาได้อย่างน่าสนใจ
เรื่องราวของครอบครัวที่ลูกถูกพรากพ่อด้วยความจำเป็นที่ต้องจากบ้านไปหาเงินเลี้ยงครอบครัว พ่อที่ถูกพรากความมั่นใจในการเลี้ยงดูครอบครัวเพราะงานไม่เป็นดังที่หวัง ทำให้พวกเขารู้สึกว่า “โลกนี้ไม่เคยแฟร์กับเขา” กระทั่งผู้เป็นพ่อกลับมาเจอเพื่อนเก่าที่สอนให้เขารู้จัก “กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก”
ตัวหนังทั้ง 3 เวอร์ชัน สะท้อนให้เห็นการขับเคลื่อนธุรกิจของCafé Amazonที่แฟร์กับทุกคนทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำ อย่างเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและครอบครัว กลางน้ำ อย่างบาริสต้าผู้พิการทางการได้ยิน ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำงานสร้างคุณค่าอย่างเท่าเทียม ปลายน้ำ อย่างผู้บริโภคที่ได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการรักษ์โลก รวมถึงแฟร์กับ “ธรรมชาติ” ที่โอบล้อมทุกคนในโลกใบนี้
ขณะที่การนำเสนอภาพโฆษณา (Key Visual) ก็น่าประทับใจและสร้างความประหลาดใจไม่น้อยเช่นกัน เพราะ Café Amazon กล้าที่จะถ่ายทอดความจริงแบบ Realistic อย่างการกล้านำแก้วที่ย่อยสลายจนเห็นไส้เดือนมาเป็นภาพโฆษณาเพื่อยืนยันความจริงที่แบรนด์ทำจริง ทำให้คนดูรู้สึกถึงความจริงใจที่ไม่ห่วงภาพลักษณ์ความสวยงาม การที่แบรนด์มองว่า ความจริงของแก้วที่ย่อยสลายอาจไม่ใช่แก้วที่สวยงาม แต่มันคือความสวยงามที่มีต่อโลก และคือความแฟร์ที่สุดกับโลกใบนี้
หรือการออกแบบภาพที่บ่งบอกถึงการนำขวดพลาสติกมาผ่านกระบวนการ Upcycling เป็นเส้นใยที่ถูกถักทอเป็นเสื้อบาริสต้าของCafé Amazonก็ทำให้คนดูรู้สึกถึงใจความสำคัญที่สะท้อนเรื่องราวของแบรนด์ผ่านภาพได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าภาพโฆษณาที่ดึงดูดใจ ก็คือ การที่แบรนด์กำลังบอกสถิติแก่ผู้คนผ่านภาพ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเสื้อบาริสต้าของCafé Amazonทุกตัวที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน จริง ๆ แล้วทำมาจากขวดน้ำพลาสติกและแก้วพลาสติกใช้แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดที่จะแฟร์กับโลกนี้จริง ๆ
ยังไม่นับภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์ที่สร้างจากแรงบันดาลใจของเกษตรกรบ้านปางขอน จ.เชียงราย ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความ “แฟร์” และยังสะท้อนประเด็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวได้อย่างลึกซึ้ง กินใจ
ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าแคมเปญ “กาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก” สะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด Circular Economy ของCafé Amazon Beyond ไปอีกขั้นแล้วจริง ๆ
–
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ