หลายคนคงใฝ่ฝันถึงชีวิตหลังเกษียณที่สุขสบาย หลังจากทำงานหนักมาครึ่งค่อนชีวิต แต่น้อยคนนักที่จะมีชีวิตหลังเกษียณได้อย่างที่หวังไว้ เพราะคนส่วนใหญ่ ขาดการวางแผนการเกษียณอายุที่ดี ตั้งแต่แรก จากการสำรวจอายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยของ สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยนั้นมีอายุยืนขึ้น คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาน 12 ล้านคน หรือร้อยละ 16.5 ของประชากรทั้งหมด

ในทางตรงข้ามอัตราการเกิดกลับลดลงซึ่งทำให้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล หรือที่เรียกกันว่า “คนชรากำพร้า” ปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะคนชรากำพร้า คือ การขาดความมั่นคงของรายได้ และ การขาดความใส่ใจในการออมเงินไว้สำหรับใช้หลังเกษียณ

ในเมื่ออนาคต คุณจะมีอายุมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะอยู่คนเดียวหรือไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน สิ่งที่ต้องตระหนักและวางแผนเตรียมการตั้งแต่ตอนนี้คือ การออมเงินเพื่อวัยเกษียณ และสิ่งตามมาคือปัญหาที่ว่า “ควรมีเงินออมเพื่อการเกษียณอย่างน้อยเท่าไหร่” ถึงจะพอใช้ไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต วันนี้เราถึงมี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการเตรียมตัวเพื่อชีวิตหลังเกษียณอายุอย่างมั่นคงมาฝาก

3 ขั้นตอนในการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ

1.คำนวณเงินออมตอนเกษียณ

คุณควรจะมีเท่าไหร่ ณ วันที่ต้องเกษียณ คำนวณง่ายๆ โดยเริ่มจากการประมาณค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ ซึ่งจะคิดเป็น 70% ของค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น

ตั้งเป้าไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี = อายุ 80 ปี มีค่าใช้จ่ายปัจจุบันอยู่ที่ 25,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะเท่ากับ 17,500 บาทต่อเดือน (70% x 25,000) หรือ 210,000 บาทต่อปี จากนั้นก็คูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ หรือ 210,000 x 20 ปี ออกมาเป็น 4,200,000 บาท

2.คำนวณเงินออมเฉลี่ยต่อเดือน เพื่อให้มีพอใช้ยามเกษียณ

เมื่อได้คำนวณเงินที่จะใช้จ่ายยามเกษียณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จำเป็นต้องมาดูว่าคุณจะต้องเก็บเงินต่อเดือนเท่าไหร่ ซึ่งมีวิธีง่ายๆ เพียงแค่เอาเงินเกษียณที่คำนวณได้จากข้อที่ 1 มาตั้ง แล้วหารด้วยจำนวนเดือนตั้งแต่วันนี้จนถึงเมื่อถึงเวลาที่เกษียณ ยกตัวอย่างเช่น

เงินเกษียณที่ต้องการ = 4,200,000 บาท สมมติว่าคุณอายุ 25 ปี หรือมีเวลาอีก 420 เดือน (35 ปี) ก่อนเกษียณ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องเก็บเงินต่อเดือนประมาณ (4,200,000/420) = 10,000 บาท

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่าเงินออมที่จำเป็นต้องออมต่อเดือนนั้น เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงทีเดียว นั่นเพราะวิธีดังกล่าวเป็นการเก็บเงินเพียงอย่างเดียว แต่หากคุณนำเงินที่เก็บแต่ละเดือนไปฝากธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ยทบต้นไปเรื่อยๆ สะสมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการฝากเงิน ถ้าต้องการให้เงินงอกเงยมากกว่านั้นก็ต้องพิจารณานำเงินไปลงทุนด้วย เพราะจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน

3.เริ่มต้นลงทุนเพื่อชีวิตหลังเกษียณที่สุขสบาย

การเริ่มต้นการลงทุนในกองทุน RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพราะกองทุน RMF มีหลากหลายนโยบายและหลายระดับความเสี่ยงให้เลือกลงทุนจึงควรพิจารณาลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายและความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเอง ประกอบกับการพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังในอดีตว่า กองทุนมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอมากน้อยเพียงใด และให้ความสำคัญกับการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย อาทิ ตราสารทุน ตราสารหนี้ พันธบัตร เป็นต้น และการกระจายการลงทุนไปในแต่ละภูมิภาค หรือแต่ละประเทศด้วย เพื่อลดความผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่อาจขึ้นลงต่างกันด้วย เพราะไม่มีสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ

การกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศผ่านกองทุน RMF ที่มีผลการดำเนินงานดีอย่างสม่ำเสมอเป็นการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ตัวอย่างกองทุน RMF ที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ(KFHCARERMF)

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อกองทุน JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ขนาดใหญ่ทั่วโลกที่มีศักยภาพในการเติบโตมีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการที่หลายๆประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และวิวัฒนาการทางการแพทย์กำลังมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนให้กองทุนมีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการดีในระยะยาว

กองทุนเปิดกรุงศรียุโรปอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFEURORMF)

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อกองทุน Allianz Europe Equity Growth Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศยุโรปที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และมีความโดดเด่นด้านอัตราการจ่ายปันผลที่สูง อีกทั้ง ได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบาย QE โดยธนาคารกลางยุโรปพร้อมจะดำเนินนโยบาย QE ต่อไปอย่างน้อยจนถึงเดือนกันยายนปี 2559 และอาจพิจารณาขยายขนาดและระยะเวลาออกไปหากเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFJAPANRMF)

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อกองทุน Eastspring Investments – Japan Dynamic Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของ NAV เน้นลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่า ทำให้ยอดส่งออกและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และความสามารถในการทำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นสามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าตลาดอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2013” (ข้อมูล Bloomberg, Eastspring Investments ณ 9 ต.ค. 2015)

การลงทุนในกองทุนรวม RMF นั้นจึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ท่านบรรลุเป้าหมายเกษียณในระยะเวลาที่เร็วขึ้นจากการออมเพียงอย่างเดียว

ผลการดำเนินงานในนอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลที่สำคัญของกองทุน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงานของกองทุน และคู่มือภาษีให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน KFJAPANRMF ระดับความเสี่ยง 5: เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

กองทุน KFHCARERMF กองทุน KFEURORMF ระดับความเสี่ยง 6: ความเสี่ยงสูง

กองทุน KFJAPANRMF กองทุน KFHCARERMF กองทุน KFEURORMF มีการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก กองทุนจึงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและ/หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน

กองทุน KFJAPANRMF กองทุน KFHCARERMF กองทุน KFEURORMF จะไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงิน จึงอาจมีความเสี่ยงสูงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

สอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี โทร.02-657-5757 หรือติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา
http://www.krungsriasset.com/th/LTF_RMF_Pro_2015_th.html

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online