ปัจจุบันธุรกิจ SMEs ไทยสามารถสร้าง GDP ได้มากถึงร้อยละ 42.4 เรียกได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ และในอนาคตจากการคาดการณ์ของไมโครซอฟท์และบริษัทวิจัย IDC คาดว่า โดยภาพรวมภายในปี 2564 การปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Transformation) จะสามารถขับเคลื่อน GDP ไทยให้เติบโตได้ด้วยอัตราเฉลี่ยสูงถึง 3.7% ต่อปี

นั่นหมายความว่า ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในยุคดิจิทัล ขนาดและอายุขององค์กรไม่ได้บ่งชี้ถึงศักยภาพและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน หากแต่เป็นการปรับตัว มองหาโอกาส และรู้จักนำเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้อย่างถูกวิธีต่างหากที่ช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ ได้เปรียบคู่แข่ง

คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันสูง ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าขนาดขององค์กรไม่ได้บ่งชี้ถึงความสามารถและความได้เปรียบทางธุรกิจ ที่จะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรแต่อย่างใด ดังนั้น ท่ามกลางตลาดที่กำลังเดินหน้าไปด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัล การจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมุ่งพัฒนาปัจจัยหลัก 5 ประการเพื่อเร่งพัฒนาองค์กร

  • ศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างว่องไว (agility)
  • ความน่าเชื่อถือ (trustworthiness)
  • ความสามารถในการขยายหรือหดตัวตามสภาวะทางธุรกิจ (scalability)
  • การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาด (responsiveness)
  • และความสามารถในการสร้างสรรค์ (inventiveness)”

เทคโนโลยีอาวุธที่ช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขัน

จากผลวิจัยของไมโครซอฟท์ระบุว่า ผู้ประกอบการไทยคาดหวังว่าเทคโนโลยีจะสามารถสร้างความแตกต่างได้มากที่สุดในด้านการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ๆ และการรักษาฐานลูกค้าเดิม ตามมาด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มอัตรากำไร และการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่เดิม และถึงแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะตระหนักถึงบทบาทและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ แต่กลับมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำ ขณะที่อีกกว่าร้อยละ 93 ยังคงมีสถานะเป็นผู้ตามอยู่

นั่นหมายความว่า การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับ SMEs ในยุคนี้ แต่ถึงกระนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องควบคู่ไปกับความรู้และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง และตัวเทคโนโลยีเองก็ต้องใช้งานง่ายและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้อย่างสูงสุด

คุณสมศักดิ์กล่าวเสริมว่า “การที่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะสามารถปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลให้สำเร็จได้นั้น จะต้องเริ่มจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง นับตั้งแต่เครื่องมือในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ช่องทางการติดต่อสื่อสารและประสานงานอย่างคล่องตัว และรากฐานของระบบที่ปลอดภัย”

Office 365 ตอบโจทย์ SMEs ทุกมิติ

ไมโครซอฟท์ผู้นำด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการต่างๆ ที่ช่วยการทำงานภายในองค์กรง่ายและสะดวก ได้พัฒนาบริการ Office 365 ที่สามารถตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อข้างต้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเครื่องมือและระบบในการทำงานแบบมืออาชีพที่ยกระดับการปฏิบัติงานของธุรกิจทุกขนาดให้มีมาตรฐานยอดเยี่ยมไม่แพ้องค์กรขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริการอีเมลสำหรับธุรกิจ พื้นที่จัดเก็บและแชร์เอกสารบนคลาวด์ผ่านบริการ OneDrive for Business แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์และทำงานเป็นทีมด้วย Skype for Business และ Microsoft Teams และอื่นๆ อีกมากมาย

หลายต่อหลายบริการจากไมโครซอฟท์ที่ช่วยยกระดับการทำงานขององค์กรต่างๆ บริษัท สำนักกฎหมายสากล ธีรคุปต์ จำกัด คือหนึ่งในตัวอย่างของธุรกิจกลุ่ม SMEs ที่นำ Office 365 มายกระดับการทำงานอย่างทั่วถึง ในฐานะสำนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่ทำงานด้วยความคล่องตัวสูง ด้วยทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการเงินที่มีความเชี่ยวชาญรอบด้าน ครอบคลุมงานในด้านตลาดทุน การควบรวมกิจการ ภาษี และอื่นๆ อีกมากมาย โดยนอกจากจะใช้บริการพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารและประสานงานแล้ว ผู้ใช้ยังคุ้นเคยกับเครื่องมือในการสร้าง แก้ไข และจัดการเอกสารต่างๆ อย่างรวดเร็วและแม่นยำอีกด้วย

ดร. อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ หุ้นส่วนอาวุโส สำนักกฎหมายสากลธีรคุปต์ เผยว่า “ความท้าทายหลักๆ ในการทำงานของสำนักกฎหมาย คือการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ควบคู่ไปกับความถูกต้องแม่นยำตามตัวบทกฎหมาย ขณะที่เนื้องานในแต่ละกรณีก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เราต้องอาศัยความสามารถของทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่อาจออกทำงานภาคสนามได้แบบตัวคนเดียว หรือทำงานประสานไปกับทีม ดังนั้น โจทย์ข้อสำคัญของเราจึงอยู่ที่การทำงานให้คุ้มค่ากับเวลามากที่สุด คล่องตัวที่สุด สำหรับทั้งลูกค้าและทีมงานของเราเอง ขณะที่การเก็บรักษาข้อมูลของเราและของลูกค้าให้ปลอดภัยก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่ง Office 365 สามารถตอบโจทย์ทั้งหมดนี้ได้อย่างครบถ้วน ด้วยมาตรฐานระดับโลกด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์ไปจนถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน”

“นอกเหนือจากเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปอย่าง Word, Excel หรือ PowerPoint แล้ว เรายังนำแอปพลิเคชั่นอย่าง Visio มาใช้ทำแผนภาพในรูปแบบเฉพาะทาง เช่น ในกรณีของการปรับโครงสร้างองค์กรหลังควบรวมกิจการ เป็นต้น ส่วนในด้านของการติดต่อสื่อสารและประสานงานภายในบริษัท เรากำลังพิจารณาที่จะนำ Teams ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับการทำงานเป็นทีมที่มีคุณสมบัติรอบด้านเข้ามาใช้งาน เพื่อดึงศักยภาพของทุกคนในองค์กรออกมาอย่างเต็มที่”

 

เป็นอีกหนึ่ง Case Study ที่ตอกย้ำคำกล่าวในข้างต้น ในยุคดิจิทัลการแข่งขันของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร แต่ใครที่พาธุรกิจปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Transformationได้ก่อน ใครที่เลือกติดอาวุธที่มีศักยภาพในการแข่งขันได้ก่อน ก็สามารถพาองค์กรเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้

 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ตอนนี้ไมโครซอฟท์มีข้อเสนอพิเศษกับบริการ Office 365 Business Essentials ระบบพื้นฐานการทำงานที่ครบถ้วน ทั้ง อีเมล คลาวด์แชร์ไฟล์ และการประชุมทางไกล และแอปพลิเคชัน Office สำหรับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ในราคาเริ่มต้นที่ลด 50% เหลือเพียง 82 บาท (2.50 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน ต่อผู้ใช้งานเท่านั้น

หรือ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Office 365 สำหรับภาคธุรกิจได้ที่ https://aka.ms/ContactMicrosoftTH

 

 

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online