ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่า สิ้นปี 2017 สถาบันการเงินมียอดสินเชื่อครัวเรือนไทย 12.1 ล้านล้านบาท
สิ้นปี 2018 ยอดสินเชื่อครัวเเรือนขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 12.8 ล้านล้านบาท
ภายในเวลา 1 ปี ครัวเรือนไทยมีหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
และที่น่าสนใจคือ ข้อมูลตรงนี้เป็นเพียงหนี้ในระบบที่เป็นสถาบันการเงินธนาคาร-โรงรับจำนำ-สหกรณ์ออมทรัพย์-และอื่นๆ
แล้วถ้าหากรวมหนี้นอกระบบนั้นมีการประเมินว่าหนี้ครัวเรือนเมืองไทยรวมกันน่าจะมากกว่า 13 ล้านล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจต่อมา แล้วถ้าใน 1 ปี 1 ครอบครัวไทยมีค่าเฉลี่ยหนี้เพิ่มขึ้นเท่าไร?
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,203 ครอบครัวระบุว่า
ปี 2017 ค่าเฉลี่ย 1 ครัวเรือนมีหนี้สิน 2.99 แสนบาท (รวมหนี้นอกระบบ)
ปี 2018 ค่าเฉลี่ย 1 ครัวเรือนมีหนี้สิน 3.16 แสนบาท (รวมหนี้นอกระบบ)
ภายใน 1 ปี 1 ค่าเฉลี่ยครอบครัวไทยมีหนี้เพิ่มขึ้น 17,000 บาท
จะเห็นว่าไม่ว่าจะผลสำรวจรวมไปถึงตัวเลขสินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ไปในทิศทางเดียวกันคือ
ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว?
ในมุมมองของธนาคารการที่ครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ในมุมธุรกิจย่อมดีเพราะนั่นหมายถึงรายได้ที่จะเพิ่มมากขึ้น
ส่วนมุมที่เลวร้ายคือ หากลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ที่ค้างไว้ตามกำหนดปัญหาก็จะตามมาทันที
เมื่อเรื่องเป็นอย่างนี้ คำถามก็คือแล้วครัวเรือนไทยมีพลังในการผ่อนชำระหนี้ที่ตัวเองก่อได้มากน้อยแค่ไหน?
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุถึงอัตรา NPL ในกลุ่มสินเชื่ออุปโภคบริโภคไว้อย่างน่าสนใจไม่น้อย
สิ้นปี 2018 อัตราหนี้เสีย NPL มีมูลค่ารวม 1.2 แสนล้านบาท
สิ้นปี 2017 อัตราหนี้เสีย NPL มีมูลค่ารวม 1.1 แสนล้านบาท
นั่นหมายความว่าครัวเรือนไทยมีศักยภาพในการผ่อนชำระหนี้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มมีกฎเกณฑ์ในการขอสินเชื่อเข้มข้นกว่าเดิม
สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีการกำหนดการวางดาวน์ (LTV) เพื่อลดการซื้อบ้านและคอนโดเพื่อเก็งกำไร โดยเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย. 62
เตรียมออกมาตรการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ และกำหนดมาตรฐานของสัดส่วนวงเงินดาวน์
มากไปกว่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยังกำลังระดมไอเดียในการออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิตให้เข้มขึ้นกว่าเดิม
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่าสถาบันการเงินกำลัง “กังวลใจ” กับสถานการณ์หนี้สินที่เกิดขึ้นของครัวเรือนไทย
แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น…ก็ยังมีคนที่ “กังวลใจ” มากกว่าสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ
คงเดากันไม่ยากว่าคนที่เรากำลังพูดถึงเป็นใคร
คนคนนั้นก็คือ “มนุษย์หนี้” ที่เวลานี้มีอยู่ถึง 19.3 ล้านคนทั่วประเทศ
…………………………………………………………………………………….
ก่อนจบบทความ “แอดมิน” ขอหยิบข้อมูลที่น่าสนใจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ทำการสำรวจ 51,200 ครอบครัวทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1 ครอบครัวใน 1 เดือน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไร?
.
แล้วค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เกิดจากอะไร?
.
เพราะที่ผ่านมามีการตั้งข้อสังเกตว่าคนไทยใช้จ่ายในสินค้าสิ้นเปลือง เลยทำให้ไม่มีพลังการเงินในการผ่อนชำระหนี้
.
และทำให้อัตรามนุษย์หนี้เพิ่มขึ้นทุกเวลา
.
ข้อมูลตรงนี้น่าจะสะท้อนความจริงและสะท้อนข้อสันนิษฐานข้างต้นว่า “ถูกหรือผิด”
————————————————————————-
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย-ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด
–
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline



