สำหรับคนทำงานทุกคน มันจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่รู้สึกไม่ค่อยอยากเริ่มทำอะไร คือรู้นะว่าต้องทำงานนี้ แต่ขอไปทำอย่างอื่นก่อน

อาการแบบนี้เรียกว่า “ การผัดวันประกันพรุ่ง ” (Procastination)

การผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ได้เหมารวมถึง การเลื่อนงานออกไปทุกแบบ เช่น ถ้าตอนนี้คุณกำลังขับใช้สมาธิขับรถอยู่ แล้วมีคนโทรมา คุณจึงบอกว่าไม่ว่างเดี๋ยวโทรกลับ แบบนี้ไม่ถือเป็นการผัดวันประกันพรุ่ง

แต่ถ้ามีงานชิ้นหนึ่งที่เข้ามา และคุณต้องทำมัน ซึ่งคุณสามารถทำตอนนั้นได้ แต่คุณตัดสินใจไม่ทำ นั่นแหละคือ “การผัดวันประกันประกันพรุ่ง”

 

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนเรา ตัดสินใจทำตอนนี้ กับ ทำทีหลัง?

Laura Rabin จาก Brooklyn College ได้ทำงานวิจัยในปี 2011 ที่ชื่อว่า Journal of Clinical and Experimental Neuropsychology เพื่อศึกษาว่าทำไมคนเราถึงผัดวันประกันประกันพรุ่ง สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 212 คน

โดยสมมุติฐานของเธอ เชื่อว่า มีปัจจัย 9 ข้อ ที่ทำให้คนผัดวันประกันประกันพรุ่ง โดยเธอเชื่อว่า ข้อ 1-4 เป็นปัจจัยหลัก และข้อ 5-9 เป็นปัจจัยรอง แต่เมื่อผลวิจัยออกมาพบว่า การผัดวันประกันพรุ่งเกี่ยวข้องกับ 9 ปัจจัยนี้พอๆ กัน แสดงให้เห็นว่าที่ การผลัดวันประกันพรุ่งของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางคนอาจมี 1-2 ข้อ บางคนอาจมีได้ทั้ง 9 ข้อเลย

1.หุนหันพลันแล่น (impulsivity)
2.การสำรวจตนเอง (self-monitoring)
3.การวางแผน และการจัดระเบียบ(planning and organization)
4.การสลับการทำงานไปมา (activity shifting)
5.การริเริ่มทำงาน (task initiation)
6.การติดตามงาน (task monitoring)
7.การควบคุมอารมณ์ (emotional control)
8.สมาธิในการทำงาน (working memory)
9.ระเบียบวินัย (general orderliness)

 

ฝันมากไปก็ไม่ดี

Walt Disney กล่าวว่า “ถ้าคุณฝันได้ คุณก็ต้องทำมันได้” “If you can dream it, you can do it.” ซึ่งมีหลายทฤษฎียืนยันว่า ถ้าเราสามารถวาดฝันว่าความสำเร็จจะเป็นยังไง เราจะมีแรงกระตุ้นไปทำมัน เช่น คนทีสามารถลดน้ำหนักจากหน้ามือเป็นหลังมือ มักจะมีภาพในหัวว่าถ้าตัวเองผอมแล้วจะเป็นยังไง เป็นต้น

แต่ก็มีอีกหลายคนที่มองเห็นว่าตัวเองจะเป็นยังไง แต่สุดท้ายก็ยังเหมือนเดิม

Jeremy Dean ผู้เขียนหนังสือ Making Habits, Breaking Habits กล่าวว่า “ถ้าเราใช้ความฝันในทางที่ผิด มันก็จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฟัน หรือ Fantasy เพราะในความฝันนั้นไม่ได้มีอุปสรรค และความยากลำบากที่ต้องเจอระหว่างทางไปสู่ความสำเร็จนั้น พอเวลาต้องเจอกับอุปสรรคจริงๆ ก็จะทำให้หมดกำลังใจ”

 

กับดักงานยุ่ง

เชื่อว่าทุกออฟฟิศ จะมีคนที่ดูยุ่งตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่ว่าพวกเขาอยากอู้หรืออยากอะไร แต่เป็นเพราะนิสัยที่ ชอบผัดงานสำคัญๆ ไว้ทำทีหลัง และทำงานที่ไม่สำคัญก่อน เช่น จัดเอกสารบนโต๊ะ โทรไปคุยสารทุกข์สุขดิบกับลูกค้า เช็คอีเมล์ เป็นต้น

Michael Bungay Stanier โค้ชที่ปรึกษาด้าน Productivity กล่าวว่า “มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะขีดฆ่า 20 งาน ใน To Do Lists แต่มันสำคัญว่าคุณได้ทำงานที่สำคัญที่สุดแล้วรึเปล่า”

เคล็ดลับคือ ระบุงานที่สำคัญที่สุดมาสามงาน แล้วจัดการมันให้เสร็จตามเป้าหมาย ก่อนไปทำงานอื่น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม Elon Musk หรือ Jeff Bezos ที่มีโปรเจคล้นมือ แต่ก็ยังจัดการเวลาตัวเองได้ดี

 

ยังไม่สายที่จะเริ่ม

ยิ่งคุณผัดวัดประกันพรุ่งมานานเท่าไหร่ คุณจะยิ่งเริ่มกลับไปทำงานนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ เช่น คุณมีหน้าที่ติดต่อลูกค้า 1 ราย เพื่อคุยเรื่องความเป็นไปได้ของโปรเจคที่จะทำร่วมกัน แต่คุณก็เลื่อนมันออกไป หลังจากผ่านไป 1 อาทิตย์ คุณจะยิ่งไม่อยากทำงานนี้มากกว่าวันแรก และ พอถึงอาทิตย์ที่ 3 คุณจะมีความคิดที่ว่า ไม่ต้องคุยหรอกลูกค้าคนนี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้

ฉะนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ จงให้อภัยตัวเองซะ แล้วลงมือทำเดี๋ยวนั้นเลย

งานวิจัยของ Tim Pychyl เรื่อง “the connection between forgiveness and task initiation”  ชี้ว่า นักศึกษาที่เตรียมตัวไม่ดีในครั้งแรก หายอมรับ และให้อภัยตัวเองที่ทำไม่ดีในรอบแรก จะกลับมาทำได้ดีขึ้นในการสอบรอบต่อไป

 

สำหรับผู้เขียนเอง ก็เกิดอาการนี้หลายครั้ง เวลาที่ต้องเริ่มทำอะไรนอกเหนือจาก Routine เช่น เวลาเจอเรื่องน่าสนใจระหว่างทำงานหนึ่งอยู่ ก็เลยจดไว้ใส่กระดาษแล้วตั้งใจว่าเดี๋ยวจะหาข้อมูลเพิ่มแล้วค่อยทำ พอผ่านไป 1 อาทิตย์ก็ยังไม่ทำ 2 อาทิตย์ก็ยังไม่ทำ สุดท้ายเรื่องที่น่าสนใจในตอนแรก ก็รู้สึกว่าไม่น่าสนใจอีกแล้ว

 

ฉะนั้นสิ่งที่อยากฝากก็คือ ไม่มีใครเกิดมา Perfect หรอก แต่ถ้ารู้ว่าตัวเองทำผิดอะไร

ทางที่ดีที่สุด ก็คือแก้ไขความผิดนั้น แล้วอย่าทำมันอีก ก็แค่นั้นเอง

ที่มา : Entrepreneur

 



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online