Disruption คำสั้นๆ ที่ทำแวดวงธุรกิจสั่นสะเทือน กรณีศีกษา อาร์เอส (RS) จากค่ายเพลง สู่ Multi Platform Commerce
อาร์เอส จากอดีตที่เป็นค่ายเพลงใหญ่อันดับต้นของไทย ในมือแม่ทัพอย่าง “เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์” คู่แข่งสำคัญของแกรมมี่
ชั่วโมงนี้ขุมทรัพย์หลักไม่ใช่ “เพลง” อีกต่อไป แต่แทนที่ด้วยธุรกิจใหม่ “สุขภาพความงามและพาณิชย์” (Multi-platform Commerce หรือ MPC) ที่ทำมาแล้วกว่า 4 ปี
Disruption ?
การกระโดดเข้ามาสู่ธุรกิจสุขภาพและความงามที่หลายคนมองว่าเป็นตลาด red ocean เพราะมีผู้เล่นจำนวนมากนี้ เฮียฮ้อเคยเล่าให้ Marketeer ฟังว่า
“Health & Beauty ภายใต้บริษัทไลฟ์สตาร์เป็นเพียงสินค้าหมวดหนึ่งในธุรกิจ MPC เพราะเรารู้ว่าตลาดนี้มีเป็นแสนล้านบาท และโตขึ้นทุกปีๆ
โดยมองว่าไม่จำเป็นต้องเป็นที่ 1 เพียงแค่ขอ 1-2% ของยอดขายก็พอใจแล้ว และไม่ได้สนใจคู่แข่ง แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าเราสามารถจับปลาในมหาสมุทรนี้ได้หรือเปล่า”
อ่าน “เฮียฮ้อ” คนพลิกเกม เรื่องที่อาร์เอสน่าจะ “ดราม่า” แต่กลับ “แฮปปี้”
ตอนนี้ธุรกิจ MPC กลายมาเป็นรายได้หลักให้กับอาร์เอส และหลังจากที่เมื่อ พ.ย. ปีที่ผ่านได้รีแบรนด์ครั้งใหญ่เปลี่ยน “Shop1781” เป็น “RS Mall” เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มทุกรูป
ภาพชัดเจนขึ้นกว่าเดิมคือ อาร์เอสทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจเพลงมาสู่ธุรกิจคอมเมิร์ซ กลายเป็นพ่อค้าขายของแบบเต็มตัว
วันนี้ในงาน RS Entertainmerce Decoded-ถอดรหัส RS Entertainmerce Model ‘เฮียฮ้อ’ เล่าว่า ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาอาร์เอสมีการปรับโครงสร้าง ทิศทาง และเอาเทคโนโลยีใหม่เข้าเติมเต็มให้กับธุรกิจ
ปี 2020 จะเป็นปีที่สำคัญที่สุดในรอบ 37 ปีของอาร์เอสที่จะสร้าง New S-Cruve
ที่ผ่านมาสิ่งที่เห็นชัดเจนคือ ‘ช่องว่าง’ ที่หมายถึงโอกาสทางธุรกิจยังมีอยู่มาก และเรายังใช้ความแข็งแกร่งของแบรนด์อาร์เอสไม่เต็มที่
ปี 2020 นี้เราจึงใช้ 4 ยุทธศาสตร์หลักในการสร้างรายได้ของทั้งเครืออยู่ที่ 5,250 ล้านบาท
1. Entertainmerce กลยุทธ์สำคัญที่ต่อยอดจาก Biz Model ด้วยการเชื่อมโยง ผสานจุดแข็งของอาร์เอสผ่านทุกช่องทางที่อาร์เอสมี
2. Data-Driven Company ที่ใช้ดาต้าเข้าถึง และรู้จักผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อนำมาสร้างสินค้าตัวใหม่ เพราะดาต้าคือขุมทรัพย์สำคัญกับการทำธุรกิจในอนาคต
3. Strategic Parnership ที่ยุคนี้โตคนเดียวไม่พอ การจับมือร่วมกันจึงเป็นแต้มต่อทางธุรกิจ
4. M&A หรือการควบรวมและซื้อกิจการ จะเป็นการสร้าง Ecosystem ให้กับอาร์เอส ส่งผลให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
ในเป้ารายได้ 5,250 ล้านบาท มาจากส่วนไหนบ้าง?
1. ธุรกิจคอมเมิร์ซ 3,200 ล้านบาท | 60%
2. ธุรกิจมีเดีย 2,050 ล้านบาท | 40%
– ทีวีดิจิทัล( CH8) 1,250 ล้านบาท | 25%
– วิทยุ (COOL) 300 ล้านบาท | 5%
– เพลงและอื่นๆ 500 ล้านบาท | 10%
อ่าน แกรมมี่ & อาร์เอส ปรับตัวอย่างไรในวันที่ธุรกิจเพลงกำลังถูกทำลายล้าง
ธุรกิจคอมเมิร์ซของอาร์เอสในชื่อ “RS Mall” ที่เฮียฮ้อหมายมั่นปั้นมือให้เป็นดาวเด่นของเครือจะแข็งแกร่งและมีแต้มต่อจากคู่แข่งอย่างไรนั้น
Marketeer มองว่า
1. อย่างที่เฮียบอกไปข้างต้นว่าเรายังใช้ความแข็งแกร่งแบรนด์อาร์เอสได้ไม่เต็มที่ มาคราวนี้ RS Mall จะใช้บิสสิเนสโมเดล “Entertainmerce” รุกตลาดผ่านทุกช่องทางที่มีและให้บันเทิงมากขึ้น
แล้วอาร์เอสมีช่องทางไหนที่จะสื่อสารบ้าง
– TV Audiences จากช่องของตัวเองคือช่อง 8 บวกกับช่องที่มาเป็นพันธมิตรทั้งไทยรัฐทีวี อัมรินทร์ทีวี เวิร์คพอยท์ทีวี ที่มีผู้ชมช่วงคอมเมิร์ซ 2.6 ล้านคน/วัน
– Listeners จากช่องวิทยุของตัวเองอย่าง COOL fahrenheit
– Digital Consumers ช่องทางโซเชียลมีเดียของทั้งเครืออาร์เอส
Youtube 57 ล้านคน
Instagram 12 ล้านคน
Facebook 38 ล้านคน
– On Ground Audiences จากอีเวนต์์และคอนเสิร์ตต่างๆ
2. การรีแบรนด์จาก Shop1781 มาเป็น RS Mall ทำให้ภาพของแบรนด์ชัดเจน และยังเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น
3. แม้จะโฟกัสธุรกิจคอมเมิร์ซขายของเป็นหลัก แต่เฮียฮ้อก็ไม่ได้ทิ้งฝั่งมีเดีย โดยยังโฟกัสที่เรตติ้ง เพราะถ้าเรตติ้งดีก็เท่ากับว่ามีผู้คนเห็นสินค้าของอาร์เอสเยอะ
โดยช่อง 8 มีโพสิชันชัดเจน จึงมีการปรับปรุง Content เหล่านี้อย่างจริงจังเพื่อเพิ่มเรตติ้งในช่องตัวเองทั้งคอนเทนต์ดั้งเดิม และคอนเทนต์แบบ tie-in
ส่วนการขายสินค้าก็จะมีทั้งการไลฟ์สด การสาธิตการใช้จริง รวมถึงการนำผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานจริงมาบอกเล่าต่อ
4. การที่มีดาต้ามากมายในมือนั้นทำให้อาร์เอสเข้าถึงผู้โภคได้ตรงจุด รวมทั้งสามารถเจาะอินไซต์ส่งสินค้าใหม่ออกมาถูกใจผู้โภคมากขึ้น
– ปีนี้จึงตั้งเป้าส่งสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด 30SKU/เดือน ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 200 SKU
– ออกสินค้าตาม Seasonal- Festive products เพราะจากดาต้ายอดขายสินค้าในช่วงเทศกาล/อีเวนต์มีเพิ่มถึง 250%
– ไม่ใช่แค่ขายของ แต่จะเห็นสินค้าในกลุ่มท่องเที่ยวและบริการเพิ่มมาด้วย
– ออกสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟที่มีเฉพาะ RS Mall เท่านั้น
5. แรงหนุนจากการ Synergy และการเป็น Parnerships จับมือกับทั้งอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรมที่อาร์เอสกำลังทำอยู่นั้นทำให้ธุรกิจโตได้เร็วกว่า
ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ Strategy ของอาร์เอสที่จะพาธุรกิจทั้งเครือไปถึงเป้าหมายรายได้ 10,000 ล้านบาท ในปี 2565
ส่วนจะทำได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างมาก
ตอนนี้อาร์เอส เตรียมรุกธุรกิจขาย ‘ยาสีฟันพรีเมียม’ ที่เห็นช่องว่างในตลาด และสามารถโตได้ ซึ่งข้อมูลจากยูโรมอนิเตอร์พบว่า ตลาดยาสีฟันในไทยโตเฉลี่ย 30% มีมูลค่าตลาดถึง 12,000 ล้านบาท
อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้
Website : Marketeeronline.co /
ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ