ทีเอ็มบีควบรวมธนชาต ใครได้ ใครเสีย ? วิเคราะห์กลยุทธ์ในการสร้างแต้มต่อเพื่อมุ่งสู่การเป็นแบงก์อันดับ 1 ในใจลูกค้า

เมื่อแบงก์สีฟ้าอย่าง “ทีเอ็มบี” และแบงก์สีส้มธนชาตผนึกกันอย่างสมบูรณ์ และวางทิศทางธุรกิจร่วมกันรับปี 2020 ก่อนจะควบรวมอย่างสมบูรณ์ในปี 2021

แม้ในทางนิตินัย ทั้ง 2 แบงก์ยังไม่ได้ผสมกันเป็นสีเดียวกัน แต่ในทางพฤตินัยแล้วผู้บริหารบอกว่าเราเป็นทีมเดียวกัน

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี เปิดเผยว่า วิธีคิดขององค์กรในปี 2020 คือ ONE DREAM, ONE TEAM, ONE GOAL เพื่อลูกค้าของทั้งสองธนาคาร และเป้าหมายการรวมกิจการในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่ผลลัพธ์ต้องเท่ากับสาม

ถามว่ารวมกันแล้วอยากเป็นเบอร์อะไร เราอยากเป็นเบอร์ 1 แต่ไม่ใช่เชิง Growth หรือ Asset Size แต่จะเป็นเบอร์ 1 ในใจลูกค้าปิติกล่าว

นิยามใหม่ของทหารไทย” x “ธนชาตจะเป็นธนาคารที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้คน เป็นผู้นำวงการธนาคารที่ใส่ใจลูกค้า กล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาโซลูชันทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ทีเอ็มบีควบรวมธนชาต จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการภายในเดือนกรกฎาคม 2021

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ในปี 2020 บริษัทจะเริ่มทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้และเป็นที่รู้จัก ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์จะเปิดให้บริการ Co-Location/Co-Brand Branch ซึ่งเป็นสาขาร่วมระหว่างสองธนาคาร วางแผนเปิดเกือบ 90 สาขาภายในปีนี้ (จากเดิมสาขาของ TMB 400 สาขา และธนชาติ 500 สาขา)

เดือนมีนาคม บริษัทจะพัฒนาบริการ ATM/ADM จำนวนกว่า 4,700 เครื่อง โดยลูกค้าทีเอ็มบี ทัช สามารถทำรายการกดเงินไม่ใช้บัตรจากเครื่องของธนชาตได้ และบิลสินเชื่อบ้านรถยนต์ และบัตรเครดิตของธนชาต ทั้งหมดสามารถชำระได้ที่เครื่องของทีเอ็มบี

แต่กลยุทธ์สำคัญยังหนีไม่พ้นเรื่องข้อมูล (Data-Driven Strategy) เพราะอาศัยความได้เปรียบจากฐานลูกค้าของธนาคารทั้งสองเจ้า

ลูกค้าธุรกิจ

ในประเทศไทยมีธุรกิจขนาดเล็กหรือ SME จำนวนกว่า 3 ล้านบริษัท และมีการจ้างงานถึง 85% ดังนั้น TMB จะเข้าไปช่วยธุรกิจขนาดเล็กโดยปล่อยสินเชื่ออย่างยั่งยืน ยึดตามแนวคิดถูกประเภท ถูกเวลา ไม่เกินตัวและตรงความต้องการจริง

เสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าธุรกิจ กล่าวว่า ธนาคารจะนำเสนอธุรกรรมการเงินที่เชื่อมกับ Ecosystem ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กทั้งด้านข้อมูลและเทคโนโลยี

ลูกค้ารายย่อย

จากปัญหาเรื่องหนี้สินของคนไทยเฉลี่ย 552,449 บาทต่อคน และ 80% ของรายได้คือรายจ่ายในแต่ละวัน รวมไปถึงการมีหนี้สะสมหลังเกษียณ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ได้วางแผนหลังเกษียณ

โดย TMB แบ่งลูกค้าออกเป็น 2 เซกเมนต์ คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่มลูกค้ารายได้สูง ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้มีอินไซต์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

ด้วยความที่ TMB และธนชาตมี ‘data’ ของลูกค้า จึงทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามความต้องการของลูกค้าได้ ตลอดจนเสริมเรื่องการออมและการลงทุนที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น กลุ่มรายได้ระดับกลางที่มีครอบครัว แต่มีความต้องการคืออยากให้ลูกเรียนสูง กรณีนี้ TMB จะใช้โซลูชั่นผ่านบัญชีเพื่อออมโนฟิกซ์ ดอกเบี้ย 1.6% เพื่อให้มีเงินสำรองจ่ายรองรับค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงอยู่ตลอดเวลา

ช่องทางการขาย

อนุวัตร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย มองว่า การรวมทั้งสองธนาคารเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านราย โดยกลยุทธ์สำคัญคือการสร้าง Seamless Experience ซึ่งจะทำให้ธุรกรรมของธนาคารเชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ

ปัจจุบันมีช่องทางขาย 5 ประเภท ได้แก่ ฝ่ายการตลาดหรือผู้เชี่ยวชาญประมาณเกือบ 1 หมื่นราย มีตู้ ATM/ADM กว่า 4,700 แห่ง จำนวนสาขาเกือบ 900 สาขา ฐานลูกค้าแอปพลิเคชัน 3-4 ล้านราย และเทเลเซลล์หลักร้อยคน

แนวทางหลังจากนี้จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่นที่ให้ความสำคัญกับชีวิตการเงินของลูกค้า รวมถึงอบรมพนักงานในฐานะด่านแรกที่ลูกค้าได้พบ

สินเชื่อรถยนต์

ป้อมเพชร รสานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสินเชื่อรถยนต์ กล่าวว่า บริษัทจะให้ความสำคัญกับเรื่องการให้กู้ยืมอย่างมีคุณภาพ (Healthy Borrowing) เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้

โดยผลิตภัณฑ์เงินกู้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือสินเชื่อเช่าซื้อรถเพื่อนำไปประกอบกิจการ อีกกลุ่มคือคู่ค้า เช่น Cross Area Booking ทำความเข้าใจการขายของคู่ค้าในช่องทางออนไลน์

MarketeerFYI_Logo-e1565343663966

รายชื่อทีมผู้บริหาร มีผลอย่างเป็นทางการในไตรมาส 2/63

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่

อนุวัตร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย

ป้อมเพชร รสานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสินเชื่อรถยนต์

มารี แรมลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมลูกค้ารายย่อย

เสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ

ฮัน คริเซล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความเสี่ยง

ประภาสิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน

มาร์คัส โดเลิงก้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยีและปฏิบัติการ

วิจิตรา ธรรมโพธิทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล

กาญจนา โรจวทัญญู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตลาด

ภิตติมาศ สงวนสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการตรวจสอบ

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง LINE Official


เพิ่มเพื่อน